ประตูเทียนอันเหมิน หน้าจัตุรัสเทียนอันเหมินใน อดีตจนถึงปัจจุบัน
จัตุรัสกลางเมืองในใจกลางกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งชื่อตามประตูเทียนอัน ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือซึ่งเป็นเขตพระราชวังต้องห้าม จัตุรัสแห่งนี้ประกอบด้วยอนุสาวรีย์วีรชน มหาศาลาประชาชน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน และอนุสรณ์สถานประธานเหมา มีขนาด 880 x 550 เมตร (440,000 ตารางเมตร) จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญทางวัฒนธรรมอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีน
จัตุรัสเทียนอันเหมินได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2194 และขยายให้ใหญ่ขึ้นเป็น 4 เท่าในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ในยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประตูเทียนอันเหมิน ปีค.ศ.1901
ในปี พ.ศ. 2497 ประตูจงหฺวาเหมินถูกรื้อออก ทำให้สามารถทำการขยายจัตุรัสได้ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2501 การขยายจัตุรัสครั้งใหญ่ของจัตุรัสเทียนอันเหมินได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาเพียง 11 เดือนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2502 สิ่งนี้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของเหมา เจ๋อตง ที่ต้องการที่จะสร้างจัตุรัสเทียนอันเหมินให้ใหญ่และงดงามที่สุดในโลก และตั้งใจจะจุประชากรได้มากกว่า 500,000 คน
ในกระบวนการดังกล่าว อาคารที่อยู่อาศัยที่อยู่รอบจัตุรัสจำนวนมากได้ถูกทำลาย ที่ด้านใต้ของจัตุรัสมีการก่อสร้างอนุสาวรีย์วีรชนมหาศาลาประชาชน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "สิบสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่" ที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2501–2502 เพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 10 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูกสร้างขึ้นทางด้านตะวันตกและตะวันออกของจัตุรัส
ประตูเทียนอันเหมิน ค.ศ.1910
ในช่วงทศวรรษแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน วันชาติแต่ละปี (วันที่ 1 ตุลาคม) จะมีการจัดการสวนสนามทางทหารขนาดใหญ่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยได้แบบอย่างมาจากการเฉลิมฉลองประจำปีของการปฏิวัติบอลเชวิคของสหภาพโซเวียต
หลังจากนโยบาย "ก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า" ไม่ประสบผลสำเร็จ พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงตัดสินใจลดค่าใช้จ่ายและจัดงานฉลองวันชาติประจำปีให้เล็กลง ยกเว้นงานเฉลิมฉลองขนาดใหญ่ที่จะมีการสวนสนามทางทหารทุก ๆ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ด้วยความโกลาหลของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเกือบจะทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกิดขึ้นในวันชาติปี พ.ศ. 2512 (การเฉลิมฉลองยังจัดขึ้นที่นั่นในปี พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2513)
ประตูเทียนอันเหมิน ราวปี ค.ศ.1935
10 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตัดสินใจที่จะไม่จัดงานเฉลิมฉลองวันชาติขนาดใหญ่อีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เติ้ง เสี่ยวผิงกำลังรวบรวมอำนาจ และจีนกำลังประสบกับปัญหาสงครามจีน-เวียดนามอยู่
ประตูเทียนอันเหมิน ค.ศ.1949
ในปี พ.ศ. 2527 เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น จีนจึงได้จัดการสวนสนามทางทหารเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 แต่ผลที่ตามมาจากการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ทำให้ไม่มีการสวนสนามทางทหารในปี พ.ศ. 2532 แต่ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 และ 2552 ตามลำดับ ในวันครบรอบปีที่ 50 และ 60 ของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประตูเทียนอันเหมิน ระหว่างปี ค.ศ.1950ถึง ค.ศ.1952
ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 มีการจัดการสวนสนามเพื่อฉลองครบรอบ 70 ปีของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มีการจัดการสวนสนามทางทหารครบรอบ 50 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนหน้านั้น กระเบื้องปูพื้นทั้งหมดในจัตุรัสถูกเปลี่ยนใหม่ และกระเบื้องปูพื้นเก่ากำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของนักสะสม และชิ้นหนึ่งขายในราคาหลายพันหยวน
ประตูเทียนอันเหมิน ปี ค.ศ.2020 จนถึงปัจจุบัน