การบุกพม่าของราชวงศ์ชิงตอนที่2 (ตอนจบ)
การทัพพม่าราชวงศ์ชิง [การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง]
🔵ราชวงศ์โก้นบอง(พม่า)⚔️🔴ราชวงศ์ชิง(จีน)
#การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิงตอนที่2 (ตอนจบครับ)
🔹การบุกทั้ง 4 ครั้งของต้าชิง🔹
🔸หลังจากการบุกครั้งที่3ด้วยความพ่ายแพ้ของต้าชิง
ทำให้หมิงรุ่ยเลือกที่จะจบชีวิตตนอย่างมีเกียรติในแผ่นดินอังวะ เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทราบข่าว จึงทรงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งต่อความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ยยอดแม่ทัพแห่งราชวงศ์ชิง
🔸ครั้งนี้พระองค์ทรงเรียก
ฟู่เหิง
-องคมนตรีฟู่เหิงนักการทหารผู้ยิ่งใหญ่แห่งต้าชิง กลับมารับตำแหน่งผู้บัญชาการ
- เสนาบดีกลาโหมอากุ้ย แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน
-เอ้อหนิงข้าหลวงใหญ่แห่งยูนานและกุ้ยโจว
🔸ซึ่งล้วนแต่เจนจบในพิชัยสงครามให้มารวมตัวกันเพื่อหวังพิชิตพม่าเป็นครั้งที่ 4 โดยคุมกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงอย่างแปดกองธงมาเพื่อจะสยบพระเจ้ามังระให้ได้ (เป็นทหารแปดกองธงและมองโกล ประมาณสี่หมื่นนาย, ทัพฮั่นกองธงเขียว, ทัพไทใหญ่ และทัพเรือฮกเกี้ยน ประมาณสองหมื่นนาย)
🔸แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ต้าชิงต้องมาเจอกับยอดแม่ทัพของพระเจ้ามังระอย่าง
-อะแซหวุ่นกี้
-บะละมี่นดีน
-เนเมียวสีหตู
-เนเมียวสีหบดีที่กลับมาจากการศึกกับอยุธยา ซึ่งทั้งสี่คนนับเป็นหัวใจหลักที่จะสามารถต้านทานการบุกทั้งทางบกและทางทะเลของต้าชิงได้ (ทหารพระเจ้ามังระ ราวๆ สี่หมื่นนาย)
🔸โดยครั้งนี้พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพไปรบแถบชายแดน เพื่อไม่ให้กองทัพต้าชิงรวมตัวกันได้ในพื้นที่ภาคกลางเหมือนการบุกครั้งที่3 การบุกครั้งนี้แม้ฝ่ายจีนจะพยายามอย่างมากในการเข้ายึดเมืองก้องโตนอันเป็นจุดยุทธศาสตร์
🔸แต่ก็เป็นอีกครั้งที่บะละมี่นดีน สามารถต้านทานกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้
🔸ส่วนอีกด้านหนึ่งกองทัพจีนก็รุกคืบได้ช้า เนื่องจากไม่ชินกับสภาพภูมิประเทศเเละภูมิอากาศในพื้นที่ เเละด้วยความชำนาญพื้นที่เขตการรบของพม่า อะแซหวุ่นกี้ได้ส่งเนเมียวสีหตูคอยทำสงครามปั่นป่วนแนวหลังของต้าชิงเอาไว้ และด้วยความชำนาญการรบแบบจรยุทธของเนเมียวสีหตูนี้เองทำให้กองทัพต้าจีนที่บัญาด้วยฟู่เหิงประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะต้องคอยพะวงหลังตลอดการศึก
🔸สุดท้ายกองทัพพม่าสามารถล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้บางส่วน จนทำให้เกิดการเจ็บป่วย ขาดเสบียง เเต่ฟู่เหิงตัดสินใจจะทำสงครามตัดสินกับทางพม่า แต่อากุ้ยได้ห้ามเอาไว้ก่อน (📌ศึกครั้งนี้อากุ้ยนับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารตลอดการศึกครับ)
🔸ทางพม่าคืออะแซหวุ่นกี้เองก็มีกำลังไม่มากพอที่จะเอาชนะต้าชิงในตอนนี้ได้ จนจุดเปลี่ยนสำคัญได้มาถึงเมื่อกองทัพของเนเมียวสีหบดีเสร็จศึกกับอยุธยา(ถอนกำลังกลับมาบางส่วน) ทำให้อะแซหวุ่นกี้ที่ตอนนี้มีกำลังพลมากพอ สามารถเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากที่คอยตั้งรับอย่างเหนียวแน่น เป็นการรุกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยสั่งทหารเข้าโจมตีจุดสำคัญของต้าชิงพร้อมๆกัน
🔸จนทำให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ต้องถอยร่นมารวมตัวกัน จากนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงใช้วิธีโอบล้อมโจมตีกองทัพต้าชิงโดยค่อยๆบีบเข้ามาเรื่อยๆ การสู้รบครั้งนี้เป็นไปอย่างดุเดือด สุดท้ายกองทัพต้าชิงถูกกองทัพของพม่าล้อมเอาไว้ได้
🔸แต่อะแซหวุ่นกี้ก็เลือกจบสงครามครั้งนี้ลง ด้วยการบีบกองทัพต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมให้ตัดสินใจเจรจา เเละเกิดเป็นสนธิสัญญาก้องโตน เป็นการจบสงครามระหว่าง พระเจ้ามังระ กับ จักรพรรดิเฉียนหลง ลงในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1769 (บางข้อมูลว่า สาเหตุที่ยุติสงครามโดยไม่รู้ผลเเพ้ชนะเเบบเด็ดขาดเนื่องจากในอานคตถ้ากองทัพจีนยกมาเต็มรูปเเบบอาจจะต้านทานได้ยากกว่าครั้งนี้)
🔸ส่วนฟู่เหิงได้เสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับเมืองหลวง
.................................................................
📌ใจความใน สนธิสัญญาก้องโตน
-ต้าชิงจะยอมส่งตัวผู้ร้าย กบฎ และผู้ลี้ภัยอื่น ๆ จากพม่า ที่หลบหนีเข้าไปในแผ่นดินจีน
-จีนจะเคารพอธิปไตยของพม่าในรัฐฉาน ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
-ปล่อยตัวเชลยในความควบคุมของสองฝ่าย
-จักรพรรดิจีน และพระเจ้าแผ่นดินพม่า จะรักษาความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน คงสถานะทางการทูตเอาไว้ และแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการแก่กัน
📌ความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายในการรบ4ครั้ง📌
🔸ฝ่ายจักรพรรดิเฉียนหลง พระองค์ต้องสูญเสียมหาบัณฑิตแห่งต้าชิงฟู่เหิง, แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน และเสนาบดีกลาโหมที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ชิงอย่างหมิงรุ่ยไปในศึกครั้งนี้ ที่สำคัญแม้พระองค์จะมีทหารกองธงเขียวอยู่นับล้านนาย แต่การต้องสูญเสียทหารแปดกองธงด้วยคือความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์
🔸ฝ่ายพระเจ้ามังระ พระองค์ต้องสูญเสียกำลังพลหลักไปเกือบสองหมื่นนายตลอดการศึกทั้งสี่ครั้ง แม้จะน้อยกว่าฝั่งต้าชิงมากแต่เมื่อเทียบอัตราส่วนของจำนวนประชากรแล้วก็นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์เช่นเดียวกัน
📌ต่างอ้างชัยชนะ📌
🔸ฝ่ายพระเจ้ามังระ อ้างชัยชนะเนื่องจากสามารถชนะสงครามได้ทุกครั้ง สามารถครอบครองอาณาเขตต่างๆได้ตามเดิม และปกป้องแผ่นดินเอาไว้ได้
🔸ฝ่ายจักรพรรดิเฉียนหลง อ้างชัยชนะเนื่องจากหลังจากนี้ 20 ปี พระเจ้าปดุงยอมส่งบรรณาการให้แก่ต้าชิง อันเป็นการแสดงถึงความนอบน้อมต่อจักรพรรดิเฉียนหลง
📌บทสรุปของสงคราม📌
🔸ฝ่ายราชวงศ์ชิง ในสงครามจีน-พม่านี้นับเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของราชวงศ์ชิง และถือเป็นรอยด่างเล็กๆของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของโลกจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ถึงแม้จะไม่สามารถสยบพม่าได้อย่างราบคาบ แต่นั้นก็ทำให้พม่าเห็นถึงศักยภาพในการระดมกองทัพขนาดใหญ่ ที่สามารถสั่นคลอนราชวงศ์โก้นบองได้ตลอดเวลา
🔸ฝ่ายราชวงศ์โก้นบอง เป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดและสูญเสียมากที่สุดในยุคของพระเจ้ามังระ แต่นั้นก็ทำให้ได้เห็นถึงความแข็งแกร่งของพระองค์ รวมถึงการใช้คนแบ่งงานให้แม่ทัพแต่ละนายได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ แม้จะสูญเสียทหารไปมากแต่ก็สามารถรักษาแผ่นดินเอาไว้ได้ ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่พระองค์ฝากไว้ให้ราชวงศ์โก้นบอง หลังจากสิ้นยุคพระองค์ไปแล้วขีดความสามารถทางการทหารของพม่าก็ไม่เคยกลับไปอยู่จุดสูงสุดได้อีกเลย
#jarnmooChannel
#ราชวงศ์ชิง
#ราชวงศ์โก้นบอง
#การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง