โรคกลัว (Phobia)
โรคกลัว (Phobia) คืออะไร
โรคกลัว เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยจะไม่ค่อยมีเหตุผลแต่ก็ไม่สามารถควบคุมได้ หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้น ความกลัวเหล่านี้ล้วนเป็นความไม่น่ากลัวและคนทั่วไปไม่กลัวกัน ในกรณีรุนแรงไม่เพียงแค่จะมีอาการหวาดกลัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเอ่ยถึง หรือเห็นสิ่งที่มีความใกล้เคียงกันจะทำให้รู้สึกกลัวด้วย จนอาจจะมีอาการคล้ายโรคแพนิก ได้แก่ ใจสั่น ใจเต้นแรง หายใจเร็ว มือเท้าเย็น ท้องไส้ปั่นป่วน และเวียนหัวตาลาย
โรคกลัวเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างชัดเจน แต่พบว่าอาจเกิดจาก
- อาจเกิดจากปมในอดีตที่ฝังใจ หรือติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกที่อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ไม่ดีกับสิ่งนั้นมาก่อน
- พบเจอ ได้ยิน หรือเห็นเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจ อาจเคยถูกตำหนิบ่อย ๆ อาจเคยมีปัญหากับที่ทำงานอย่างรุนแรง เป็นต้น
- พันธุกรรม
- ความผิดปกติของสมอง ความไม่สมดุลกันของสารเคมีในสมอง
- ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ
อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดโรคจะขึ้นอยู่รายบุคคลที่แตกต่างกันไป
อาการของโรคกลัว
- ตื่นกลัว
- วิตกกังวลรุนแรง
- ควบคุมตัวเองไม่ได้
- หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
- ความดันเลือดสูง
- หายใจถี่ หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง
- เหงื่อออก
- พูดติดขัด
- ปากแห้ง
- คลื่นไส้
- มือ ปาก เท้า ตัวสั่น
- กล้ามเนื้อตึงชา รู้สึกชาวูบขึ้นมาทั้งตัว
- ปวดศีรษะ เวียนหัว
- อาจมีอาการวิงเวียน เป็นลมหมดสติ
โรคกลัวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- โรคกลัวเฉพาะอย่าง (specific phobia) เป็นโรคกลัวที่พบได้บ่อย เช่น กลัวงู แมลงสาบ ผีเสื้อ กลัวเลือด กลัวความสูง กลัวความมืด เป็นต้น
- โรคกลัวสถานการณ์ (agoraphobia) โรคกลัวประเภทนี้ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวเมื่อต้องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่ตนคิดว่าไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้ ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย และไม่สบายใจ จึงทำให้ผู้ป่วยพยายามเลี่ยง และปลีกตนเองออกมาจากกลุ่มคน
- โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม (social phobia) ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัว และมีอาการประหม่า เมื่อตัวเองกำลังตกเป็นเป้าสายตา หรือตกเป็นเป้าสนใจของผู้อื่น เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การพูดคุยกับคนแปลกหน้า เป็นต้น
โรคกลัวที่พบได้บ่อย
- กลัวที่แคบ (claustrophobia)
จะมีอาการอึดอัด ใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง เมื่อต้องอยู่ในที่แคบ ๆ ไม่ปลอดโปร่ง - กลัวเลือด (hemophobia)
ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงเมื่อเห็นเลือด จะมีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม - กลัวเครื่องบิน (aerophobia)
หวาดกลัวหรือกังวลว่าเครื่องบินจะตก พื้นฐานของคนที่กลัวเครื่องบินมาจากการกลัวความสูงหรือกลัวที่แคบมาก่อน - กลัวความสูง (acrophobia)
มีความรู้สึกกลัวใจสั่น มือขาสั่น ไม่กล้ามอง เมื่อต้องอยู่บนที่สูง ๆ บางคนอาจกลัวจนเกิดอาการช็อกได้ - กลัวเชื้อโรค (mysophobia)
มีความกลัวและกังวลเกี่ยวกับสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคต่าง ๆ กลัวที่จะสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ โรคนี้จะทำให้คนที่เป็นรักความสะอาดมาก ๆ ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา - กลัวเข็ม (needle phobia)
ความกลัวเมื่อเห็นเข็มส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเข็มฉีดยา ทำให้มีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
เมื่อเป็นโรคกลัวควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?
- เข้ารับการรักษา หรือกล้าเผชิญกับสิ่งที่กลัว
- ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความวิตกกังวล เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานอดิเรก
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และสร้างเสริมสุขภาพ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- มีปฏิสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในสังคม ไม่แยกตัวเองออกจากสังคม