เป็นข้าราชการ เบิกค่ารักษาลูกได้ แล้วยังต้องทำประกันอยู่ไหม?
คำถามนี้ ผมว่า พี่ๆ ข้าราชการ หลายคน คงนั่งขมวดคิ้ว แล้วก็ยังลังเลใจว่า ฉันอุตส่าห์ บากบั่น อดทนตั้งนาน กว่าจะได้เป็นข้าราชการ สิทธิรักษาพยาบาล ก็มีให้เบิกนะเออ แล้วฉันยังต้องเสียเงินทำประกันอีกเหรอ ใจเย็นก่อน ท่านพี่ น้องชายจะเล่าให้ฟัง จากประสบการณ์ มีเรื่องที่เราต้องพิจารณาด้วย ดังนี้
เรื่องแรก สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ
เมืองไทยเราเป็นเมืองที่มีสวัสดิการดี๊ดีครับ นอกจากสิทธิข้าราชการแล้ว ก็ยังมี ประกันสังคม และ สิทธิหลักประกันสุขภาพ(ที่เราเรียกว่า สิทธิบัตรทอง) ดังนั้นทุกคน จะมีสิทธิกันถ้วนหน้า และสิทธิข้าราชการเหมือนจะค่อนข้างใช้เบิกได้มากที่สุด มียานอกบัญชีและการทำหัตถการ บางอย่างเท่านั้น ที่เบิกจ่ายไม่ได้ และนอกจากนี้ สิทธิยัง คุ้มครอง สายเลือดโดยตรงได้เกือบหมด นั่นคือ ถ้าคุณพี่เป็นข้าราชการ คุณพ่อ คุณแม่ คู่สมรส ต้องเน้นย้ำว่า !!! ต้องจดทะเบียนสมรสกันด้วยนะ แบบไข่มุก อยู่กินกันมานานแต่ไม่เคยจดทะเบียนเลย อย่างคุณแก้ว ก็หมดสิทธิค๊า ส่วนลูกๆ ก็ได้รับด้วยนะ แต่...ต้องไม่เกิน 3 คน ตามลำดับ และใช้ได้จนถึงบรรลุนิติภาวะ หรือเข้าใจง่ายๆคือแค่ถึงอายุ 20 ปีเท่านั้น แต่จะใช้ได้น้อยกว่านั้นอีก ถ้าลูกเราดันไปบรรลุนิติภาวะ ด้วยการสมรสเมื่ออายุ 17 ปี แต่ทีนี้ต้องเข้าใจอีกเรื่องคือ สิทธิข้าราชการ ใช้ได้แต่เฉพาะโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น จะมีข้อยกเว้นบ้างแค่ กรณีเจ็บป่วยเร่งด่วน ที่แพทย์ต้องลงความระดับความด่วนไว้ว่า ถ้าไม่รักษาทันทีจะเสียชีวิต หรือ ข้อยกเว้นบางอย่างที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้เท่านั้น เราจึงจะเบิกค่ารักษาจากสิทธินี้ได้
เรื่องที่สอง โรงพยาบาล
ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไปนะครับ
ด้านความพร้อม : มาตรฐาน บุคคลากรทางการแพทย์ หลายๆโรงพยาบาลรัฐอาจจะมีมากกว่า เพราะสถาบันผลิตหลักๆ ก็เป็นของรัฐทั้งนั้น แต่ก็มีเหมือนกัน ที่โรงพยาบาลเอกชนบางที่ ก็มีมาตรฐานที่สูงกว่า แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนเรื่องราคา แน่นอนว่า เอกชนค่าใช้จ่ายสูงกว่า ถ้าพี่ๆมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งก็น่าจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่พร้อมล่ะ เรามีทางเลือกไหนบ้าง
การให้บริการ : ด้วยสวัสดิการที่ดีมากของไทย ทำให้โรงพยาบาลของรัฐ เกิดสภาวะ ผู้ใช้บริการล้นโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ เกิดภาวะ งานล้นมือ แน่นอนว่า ส่งผลกับการให้บริการอย่างเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่าง บางคนไปตั้งแต่เช้ามืด เพื่อต่อคิวเข้ารับการตรวจ ในเวลาเที่ยง หรือแม้แต่บางช่วงเวลาฉุกเฉิน เราที่เกิดอุบัติเหตุ มีความฉุกเฉิน แต่ก็ยังไม่ได้รับการรักษา เพราะมีคนที่ฉุกเฉินกว่าจำนวนมาก มารอรักษาเหมือนกัน ก็ต้องเรียงคิวตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยปัญหานี้ ก็ไม่ใช่ปัญหาที่คนตัวเล็กๆอย่างพวกเราจะแก้ไขได้ครับ เพราเป็นปัญหาอย่างเชิงโครงสร้าง งบประมาณ และ ฯลฯ ถ้าพูดถึงคงจะไม่จบครับ เอาเป็นว่า พูดถึงให้พอเห็นภาพนะครับ แต่ตรงกันข้าม ในโรงพยาบาลเอกชน ด้วยเป็นเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจ ที่มีต้นทุนการบริหารที่พอเพียง และเน้นประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น ในการบริหาร มากกว่าภาครัฐ จึงทำให้ โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเน้นการบริการ และดูแลลูกค้า เป็นสำคัญ มีการบริการที่ดีมากกว่า ของภาครัฐ นอกจากนี้ การใช้กลยุทธ์ และ การแบ่งกลุ่มของลูกค้า ทำให้มีความหลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้ามากกว่า เช่น รพ.ที่เกี่ยวกับเด็ก ก็จะมีให้เลือกมากกว่าภาครัฐ
เรื่องที่สาม บทสรุป
จากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พี่ๆคงเห็นภาพแล้วนะครับ ว่าสถานการณ์อะไรที่พี่ๆต้องเจอบ้าง ผมจะขอแนะแนวทางนะครับ ถ้าพี่มีความโชคดีดังนี้
โชคดีขั้นที่ 1 บ้านพี่ มีคนคอยช่วยเหลือ ดูแล ช่วยหยิบจับสิ่งของให้ ผบ.ทบ(ผู้บัญชาการที่บ้าน ) หรือ ภรรยา พี่ๆได้ ไม่ว่าจะเป็น พี่ ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย หรือแม้แต่ตัวพี่เอง ผ่านขั้นแรกครับ (แต่ป้าข้างบ้านชวนแกไปไม่ได้นะครับ เดี๋ยวแกไม่ได้ทำงาน ส่องข้างบ้าน)
โชคดีขั้นที่ 2 แถวบ้านพี่ มีโรงพยาบาลของรัฐที่มาตรฐาน และไม่ไกลบ้าน ผู้ใช้บริการไม่แออัดมาก ผ่านขั้นที่ 2 ครับ
โชคดีขั้นที่ 3 ลูกของพี่ไม่ค่อยป่วย (แต่ก็ยากนะครับ ยุคนี้โรคใหม่ๆ อุบัติขึ้นตลอด) ผ่านขั้นสุดท้าย
ผมว่าถ้าพี่ โชคดี 3 ชั้น พี่ไม่ต้องทำประกันสุขภาพให้ลูกหรอกครับ เพราะสิทธิรักษาของข้าราชการก็คุ้มครองเพียงพอ และการไปรอรับบริการ หรือการดูแลตนเอง ช่วย ภรรยา มีคนช่วยอยู่แล้ว นั่นเพียงพอที่จะไม่ต้องเสียเงินส่วนนี้ในแต่ละปีไป เก็บไว้เป็นเงินออมหรือ ทำสิ่งอื่นไว้ดีกว่าครับ แต่ !!!! ถ้าพี่ไม่โชคดี 3 ชั้นล่ะครับ เหมือน บริบทของผมคือ ครอบครัวผม มีแค่ ผม ภรรยา และลูก คนอื่นๆที่จะมาช่วย เขาอยู่ต่างจังหวัดกันหมด และภาระงานของผม ที่ไม่สามารถอยู่ช่วยภรรยาได้ตลอด โรงพยาบาลของภาครัฐ ใน กทม.ก็ต้องยอมรับว่ามีน้อย แถมคิวโหดใช้ได้ และข้อสุดท้าย บอกเลย ผมเป็นคุณพ่อ ใจบางมาก แค่เห็นเวลาที่ลูกร้องไห้ เพราะปวดหัว ปวดท้อง ผมก็จะไม่ไหวแล้ว ถ้าเป็นผู้ใหญ่แบบเรา ผมว่า ผมทนได้นะครับ แต่ลูกยังเล็กมาก เขาเจ็บแค่ไหน เราก็ไม่รู้ แถมบางวัย พูดไม่ได้ ได้แต่ร้อง เรื่องนี้ทนไม่ได้จริงๆครับ ผมก็ต้องยอมอด ปิ้งย่าง อากะ ของผมจากเดือนละ 8 มื้อ เหลือ 2 มื้อ เพื่อความผาสุกของลูก(อันนี้ล้อเล่นนะครับ จะมีใครที่ไหน กินปิ้งย่างได้ทุกวันขนาดนั้น เนอะ )แต่พูดขนาดนี้ AKA ต้องเข้าแล้วล่ะ อิอิ
สุดท้ายถึงแม้ ผมมีสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการแล้ว ผมก็ยังทำประกันสุขภาพเด็กให้ลูกไว้ครับ ของผมเลือก อลิอันซ์ อยุธยา ครับ แล้วเพื่อนๆ เลือกที่ไหน บ้าง เพราะอะไร มาแชร์กันได้นะครับ