วิกฤตศรัทธาการเมืองไทย เพราะอะไรคนไทยเบื่อการเมือง
การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน แต่กลายเป็นว่าในปัจจุบันการเมืองเป็นความน่าเบื่อหน่ายสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เราไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง
ในทางที่ดีขึ้น แต่เหมือนถอยหลังลงคลองมากกว่า
เลือกใครเข้ามา สุดท้ายก็วนลูป เหมือนไม่ได้เลือก
“ประชาธิปไตย” อย่างไทย ๆ คือ ระบอบการปกครองที่พร้อมเปิดโอกาสให้สืบทอดอำนาจ ไม่มีเส้นสายก็ไม่สามารถทำงานการเมืองได้ ประกอบกับมีหลายครั้งที่สถานการณ์บ้านเมืองวนลูปเดิมอยู่บ่อย ๆ คือ รัฐประหาร แล้วค่อยจัดให้มีการเลือกตั้ง วนไปอยู่แบบนี้มาหลายปี
เหมือนละครน้ำเน่าที่สร้างแล้วสร้างอีก
ละครไทยน้ำเน่าว่าพล็อตซ้ำแล้ว ไม่พัฒนา เหมือนดูถูกคนดู แต่การเมืองไทยยิ่งกว่าดูถูกประชาชน ตัวละครเดิม ๆ เพียงมีการสลับสับเปลี่ยนบทบาทกันบางช่วงเท่านั้น จากเดิมนักการเมืองคนนี้ เคยอยู่พรรคนั้น แต่ครั้งนี้อาจเปลี่ยนมาอยู่พรรคตรงข้าม คนเดิมเพิ่มเติมคือสวมเสื้อใหม่ แต่การทำงานยังคงเดิม ๆ
มีแต่ความย้อนแย้ง
ช่วงการเลือกตั้ง นักการเมืองต่างรณรงค์กันหาเสียง นโยบายสวยหรู วาดฝัน แต่พอเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ว่ายุคไหน ก็ไม่เคยทำได้ 100% มีแต่ข้ออ้างว่ายังไม่พร้อม ขอศึกษาก่อน ดึงลากยาวไปจนหมดวาระ ก็ยังไม่สามารถทำได้ตามที่หาเสียงทั้งหมด
ทะเลาะกันในจอ ดีกันนอกจอ
“รัฐสภาไทย” ก็ไม่ต่างจากเวทีการแสดงขนาดใหญ่ ที่พร้อมให้นักแสดงบนเวทีแห่งนี้ ได้ห้ำหั่นหรือฟาดฟันกันอย่างดุเดือด จนบางครั้งประชาชนเชื่อว่า ส.ส. หรือ ส.ว. มีอุดมการณ์ที่แตกต่างกันจริงตอบโต้กันเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน แต่ต่อมาเมื่อจำเป็นต้องร่วมงานกัน
ก็ยอมจับมือกับคนที่เคยด่าทอกัน เพื่อผลประโยชน์ลงตัว
ยั่วยุสร้างความแตกแยกในสังคม
นโยบายที่ออกสื่อ ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน มักจะถูกฝ่ายตรงข้ามของอีกฝ่าย ออกมาโจมตีเสมอ หาแต่ข้อติซึ่งกันและกัน โดยอ้างว่าเป็นการทำให้ประชาชนเข้าใจข้อเท็จจริง แต่ความจริงแล้วมันคือการชี้นำสังคมให้เห็นด้วยกับพวกตัวเอง ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือเพื่อสนองเจตนารมณ์ของตัวเอง สุดท้ายบางครั้งก็นำไปสู่การปลุกกระแสมวลชนออกมาต่อต้าน
*** ทำใจ ทำ ทำใจ ...***
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ



