ทำไมต้องโกหก
พฤติกรรมโกหกที่พบได้ทุกหนแห่ง ได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบครั้งแรก โดยเบลลา เดเปาโล นักจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตแซนตาบาร์บารา ย้อนหลังไป 20 กว่าปีก่อน เดเปาโลกับเพื่อนร่วมงานพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยพูดไม่จริงเฉลี่ยวันละหนึ่ง ถึงสองครั้ง การพูดไม่จริงเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง โดยมีเจตนาซ่อนความบกพร่องของตน หรือถนอมน้ำใจผู้อื่น บางครั้งก็เป็นข้อแก้ตัว บางครั้งก็ทำเพื่อสร้างภาพจอมปลอม
ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิตคนส่วนใหญ่ “โกหกจริงจัง” หนึ่งหรือหลายเรื่อง เช่น ปิดบังความไม่ซื่อสัตย์ของตนต่อคู่สมรส หรือส่งหลักฐานเท็จเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย
นักวิจัยสันนิษฐานว่าการโกหกเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไม่นานหลังภาษาถือกำเนิดขึ้น ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากบุคคลอื่นโดยไม่ต้องใช้กำลังขู่บังคับ น่าจะเอื้อประโยชน์ต่อการแย่งชิงทรัพยากรและคู่ครอง “การโกหกเป็นเรื่องง่ายมาก เมื่อเทียบกับวิธีการแสวงหาอำนาจอื่น ๆ”
ทิโมที อาร์. เลวีน (Timothy Levine) นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม ศึกษาเกี่ยวกับการโกหก ว่าการโกหกนั้นเป็นทักษะหนึ่งของมนุษย์ ที่เรียนรู้และฝึกฝนอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว เหตุผลที่เราโกหก ก็เพราะมันทำให้เราได้มาซึ่ง ‘บางอย่างที่การพูดความจริงให้ไม่ได้’
ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ เลวีน (Levine) ได้ทำการศึกษากับคนจำนวน 500 คน ที่มาจาก 5 ประเทศ เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการโกหก สิ่งที่พวกเขาโกหก และสิ่งที่พวกเขาถูกหลอก ผลของงานวิจัยพบว่า เหตุผลที่คนเราโกหกแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ ดังนี้
1) โกหกเพื่อส่งเสริมตัวเอง (คิดเป็นจำนวน 44%) เหตุผลที่โกหก คือ
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน
เพื่อประโยชน์ส่วนตัว อย่างการหาประโยชน์อื่น ๆ นอกจากเงิน
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี เป็นการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้ตนเอง
เพื่อสร้างความบันเทิง เป็นการทำให้คนหัวเราะ เพิ่มเติมความตลกให้บทสนทนา
2) โกหกเพื่อปกป้องตัวเอง (คิดเป็นจำนวน 36%) เหตุผลที่โกหก คือ
เพื่ออำพรางความผิดของตน เป็นการปกปิดความผิด หรือการกระทำที่มิชอบ อย่างเช่น แอบขโมยเงินแล้วปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็น
เพื่อลบหลบเลี่ยงบางอย่าง เป็นการหลบหนี หรือหลีกเลี่ยงคนอื่น อย่างเช่น การเลี่ยงออกไปพบคนที่ไม่อยากเจอด้วยการโกหกว่าไม่สบาย ทำให้ออกไปตามนัดไม่ได้แล้ว
3) โกหกเพื่อสร้างผลกระทบต่อผู้อื่น (คิดเป็นจำนวน 11%) เหตุผลที่โกหก คือ
เพื่อเจตนาดี เป็นการช่วยผู้อื่น ที่เรียกกันว่า ‘โกหกสีขาว’ (White Lies)
เพื่อรักษาน้ำใจ หรือเข้าสังคม เป็นการรักษามารยาท หรือบทบาททางสังคม อย่างเช่น บอกว่าขนมนี้รสชาติ ‘แปลกดีจังเลยค่ะ’ แทนที่จะบอกว่า ขนมนี้รสชาติแย่มาก
เพื่อเจตนาร้าย เป็นการมุ่งร้าย มุ่งทำร้ายผู้อื่น อย่างเช่น การใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นแบบเนียน ๆ
4) โกหกเหตุไม่ชัดเจน (คิดเป็นจำนวน 9%) เหตุผลที่โกหก คือ
เมื่อไม่ทราบแน่ชัด เป็นแรงจูงใจที่ไม่ชัดเจน แม้แต่กับตัวเอง บางครั้งก็โกหกออกไป ทั้งที่แม้แต่ตัวเองยังไม่รู้เลยว่าจะโกหกไปทำไม
เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นการไม่แยแส หรือการไม่ยอมรับความจริง
อ้างอิงจาก: ยุธิจิต ภัตตาจาร์จิ. (กรกฎาคม 2560).ไฉนต้องปด, NATIONAL GEOGRAPHIC, (192), 26-47
https://thematter.co/quick-bite/reasonsofliars/33099