แนวทางวิธีการจำแนกปลาหมอคางดำจากปลาหมอเทศและปลานิล
เนื่องจากว่าปลาทั้งสามชนิดนี้ เป็นปลาในสกุลเดียวกัน ดังนัั้น ในส่วนของรูปทรงนั้น อาจจะใกล้เคียงกัน แต่เราก็สามารถจำแนกได้จากสีสัน และรูปร่างของพวกมันซึ่งพอจะแยกได้ด้วยตาเปล่าอยู่จ้า
ปลาหมอคางดำ Sarotherodon melanotheron ใต้คางของปลาชนิดนี้นั้นมักมีแต้มดำ หางเว้าเล็กน้อย ไม่มีลายใดๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ปลาหมอคางดำ" นั่นเอง เป็นปลาหมอที่ปรับตัวเก่งที่สุด สามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด , น้ำกร่อย (ชอบที่สุด) และ น้ำทะเล และแพร่หลายได้ไวมากๆ จนเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ มีแต่ น้ำมันพืช และ เครื่องแกงเท่านั้น ที่อาจจะพอหยุดพวกมันได้แล้ว ณ จุดๆนี้....จะมาซ่ากับคนไทย นี่ถามตั๊กแตนปาทังก้า กับ หอยเชอร์รี่ แล้วหรือยังไอ้น้อง....ลุยยยยยย กันเลยพี่น้อง....เอาให้พวกมันร้อง กัน ณ บัดนี้....
ปลาหมอเทศ Oreochromis mossambicus แก้มในตัวผู้มักมีแต้มขาว หางมนมีขอบแดงเสมอ เรามักพบปลาหมอเทศ ในพื้นที่เป็นน้ำกร่อย หรือ ปากน้ำชายฝั่ง โดยอาศัยอยู่รวมกับปลากินพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่ มีลักษณะ และสีสันใกล้เคียงกับ ปลานิล มาก บางทีก็พบว่าอาศัยอยู่รวมกันจ้า ตัวนี้ แดดเดียว หมักน้ำปลาหน่อยๆ อร่อยอยู่จ้า
ปลานิล O. niloticus แก้มและตัวสีคล้ายๆกัน หางมน มีลายเส้นคล้ำขวางที่ลำตัวเสมอ เป็นจุดเด่นของปลาสายพันธุ์นี้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ของปลาชนิดนี้อย่างชัดเจนมากที่สุด และสามารถทำให้สีสันเป็นสีแดง หรือ ส้มอมชมพูได้ ซึ่งก็จะเรียกว่า ปลา "ทับทิม" อย่างไรก็ตาม ปลานิลในธรรมชาตินั้น สีสันก็จะเป็นโทนเขียว เหลือบฟ้า และ น้ำตาล เช่นเดียวกับญาติๆของมันนั่นเอง ส่วนตัวนี้ ความอร่อยไม่ต้องพูดกันให้มาก มีทำเป็นอาหารได้หลากหลายสุดๆ อร่อยทุกเมนู ทอดเฉยๆ จิ้มน้ำปลาพริกเหยาะน้ำมะนาวหน่อยๆ + ข้าวร้อนๆ ก็อร่อยจัดๆแล้วเด้อ เป็นอาหารโปรตีนราคาประหยัดของชาวไทยเรามานานเป็นสิบๆปีละเด้อ