นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องเชียงดาว
นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องเชียงดาว
นิทานล้านนา เรื่อง เชียงดาว เป็นอีกนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของสถานที่ เขาเชียงดาว นิทานเรื่องนี้มีอยู่ว่า…
ในอดีตกาลมีนครแห่งหนึ่งนามว่า“นครพะเยา” กษัตริย์ผู้ครองนครมีราชธิดา 6 องค์ และมีโอรสเป็นองค์สุดท้ายนามว่า “เจ้าคำแดง” อายุ 16 ชันษา ราชธิดาทุกองค์สมรสหมดแล้วกับเจ้าเมืองต่างๆ สำหรับเจ้าคำแดงเป็นผู้กล้าหาญ เข้มแข็งในการสงครามยิ่งนัก ทรงโปรดการออกป่าล่าสัตว์อยู่เสมอๆนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องเชียงดาว
ครั้นหนึ่งมีกองทัพฮ่อยมาล้อมนครพะเยา พระราชาทรงเรียกเขยทั้ง 6 องค์มาถามว่า ‘’ศึกครั้งนี้ใครจะเป็นผู้อาสาออกไปปราบปราม‘’ เขยทั้ง 6 นิ่ง ไม่มีใครกล้าอาสา เพราะทราบว่าศัตรูมีกำลังมากมายและเข้มแข็งยิ่งนัก…ดังนั้น พระราชาจึงตรัสเรียกเจ้าคำแดงออกมา… เมื่อเจ้าคำแดงทราบเรื่องจึงรับอาสาออกปราบเอง พร้อมด้วยไพร่พลหนึ่งหมื่น
การรบครั้งข้าศึกได้แตกพ่ายไป เมื่อเจ้าคำแดงได้ชัยชนะก็ยกทัพกลับ ขณะเดินทางบังเอิญเจ้าคำแดงเห็นกวางทองรูปงามตัวหนึ่ง ก็อยากจะได้เพื่อนำไปถวายพระบิดา จึงสั่งให้พวกทหารเข้าล้อม เมื่อไพร่พลเข้าล้อมอย่างกระชั้นชิดเข้าไปมาก กวางก็ตกใจกระโจนหนีออกทางด้านเจ้าคำแดง ดังนั้นเจ้าคำแดงจึงควบม้าติดตามไปพร้อมด้วยไพร่พล การติดตามใช้เวลาหลายวัน จากนครพระเยาจนเข้าเขตเชียงใหม่ จนเข้าใกล้เขาลูกหนึ่งสูงมาก สูงเทียมดาว ไพร่พลเรียกเขาลูกนี้ว่า ‘’ สูงเพียงดาว ” ต่อมาชื่อนี้เพี้ยนไปเป็น ‘’ เชียงดาว ”
บริเวณเชิงเขาเป็นทุ่งกว้าง กวางทองวิ่งหายไปในป่าหญ้า ต้องใช้เวลาค้นหาเป็นเวลานานบริเวณทุ่งหญ้าตรงนี้ชาวบ้านเรียกว่า ‘’ ทุงผวน ” ( ทุ่งกวางหาย ) ‘’ ผวน ‘’ เป็นคำพื้นเมือง แปลว่า ” สับสน ” ต่อมาพวกทหารได้มองเห็นแต่ไกล คิดว่าเป็นเนื้อทราย แต่พิจารณาดูดี ๆ จึงรู้ว่าเป็นกวางทอง ตรงบริเวณนี้ชาวบ้านให้ชื่อว่า ‘’ บ้านแม่ทลาย ‘'( แม่ทราย ) เจ้าคำแดงคงติดตามไปไม่ลดละกวางเห็นจวนตัวจึงถอดคราบกวางทองออกไว้ เรือนร่างภายในกลายเป็นสตรีสาวสวยยิ่งนัก นามว่า ” อินทร์เหลา ” แล้วหนีต่อไป ทั้งหมดจึงรู้ว่ากวางทองเป็นคน หมู่บ้านที่กวางถอดคราบออกนี้เรียกว่า ‘’ บ้านสบคราบ ” ( สบ ปากทางแพร่ )
อินทร์เหลาหนีขึ้นไปตามลำธารเล็กๆ เนื่องด้วยมีเครื่องแต่งกายเพียงเล็กน้อย เจ้าคำแดงที่ติดตามมาอย่างใกล้ชิดเกรงว่านางจะอาย จึงยกมือโบกให้ทหารติดตามมาหมอบราบกับพื้น เพื่อมิให้นางเห็น ตรงนี้เรียกว่า ‘’ น้ำแม่แมบ ” (แมบ-หมอบ) ต่อมาเพี้ยนเป็นแม่น้ำแมะ นางหนีขึ้นไปถึงบนเนินเขาซึ่งเป็นทางแคบๆ ทหารตรูเข้าจะจับตัวนาง แต่เจ้าคำแดงยกมือห้ามไว้ พระองค์จะตามไปเอง พอดีนางอินทร์เหลาหนีเข้าป่าไปได้ หมู่บ้านตรงนี้เรียกว่า ‘’ แม่นะ ” และเพื่อไม่ให้นางหลบหนีไปได้ เจ้าคำแดงจึงสั่งให้ทหารล้อมไว้พร้อมกับขุดคูกั้นไว้ คูนี้ต่อมาเรียกว่า ”คือฮ่อ ” (คือ-คู)
นางอินทร์เหลาจวนตัว จึงพยายามปีนป่าขึ้นเขาได้ เจ้าคำแดงติดตามไปแต่ผู้เดียว และไปพบตัวนางบนเนินเขาเตี้ย ๆ นางจึงถามว่า ‘’มาจับฉันทำไมฉันมีความผิดอะไรหรือ‘’ เจ้าคำแดงตอบว่า ‘’ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรสของกษัตริย์พะเยา เห็นกวางทองก็อยากจะได้จึงติดตามมา แต่ปรากฏว่ากวางทองตัวนั้นความจริงเป็นนางผู้สวยงาม เกิดรู้สึกรักและอยากจะได้เป็นชายา ‘’ นางตอบว่า ‘’ หากพระองค์รักข้าพเจ้าจริง ควรจะต้องไปบอกมารดาเสียก่อน ขณะนี้อยู่ในถ้ำ ” เจ้าคำแดงเห็นตามคำกล่าว จึงลงมาจากม้าเดินตามนางเข้าไปในถ้ำเพื่อไปหามารดาของนาง ซึ่งมีชื่อว่า ‘’อินทร์ลงเหลา”
พวกเสนาที่ติดตามมาพบแต่ม้าที่ปล่อยไว้ แลเห็นรอยเท้าทั้งสองหายเข้าไปในถ้ำ พวกเขารออยู่เป็นเวลานานเจ้าคำแดงก็ไม่ออกมา เมื่อเข้าไปดูในถ้ำก็ไปไม่ถูกจึงต้องยกทัพกลับนครพะเยา…ชาวบ้านใกล้ๆ ทราบเรื่องต่างกล่าวว่า เจ้าคำแดงขณะนี้ได้เป็นอารักษ์คุ้มครองดูแลถ้ำขุนเขาลูกนี้ และเรียกเจ้าคำแดงว่า ‘’เจ้า
หลวงคำแดง” ทุกกวันนี้