รู้จัก PRK คืออะไร ขั้นตอนและการดูแลหลังการผ่าตัด
PRK คือการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติแบบถาวรที่ได้รับความนิยม มีข้อแตกต่างกับ LASIK ก็คือ PRK ไม่ได้มีการแยกชั้นกระจกตา ใช้เพียงเลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา
ผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง อยากจะเลือกวิธีการรักษาที่สามารถแก้ปัญหาสายตานี้ได้อย่างถาวร ไม่ต้องพึ่งแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป PRK วิธีการรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย หากคุณมีตาแห้งหรือกระจกตาบาง และต้องการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติPRK อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ
การรักษา PRK ตามีมานานกว่า 30 ปี แน่นอนว่าต้องเป็นวิธีการที่จักษุแพทย์ให้การยอมรับ และมั่นใจได้ว่าทำ PRK มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและคลินิกจักษุหลายแห่งในประเทศไทยที่ให้บริการรักษาด้วยการทำ PRK
PRK (Photorefractive Keratectomy) คืออะไร
Photorefractive Keratectomy หรือชื่อย่อว่า PRK คือ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติประเภทหนึ่ง การผ่าตัดประเภทนี้ใช้เลเซอร์เพื่อรักษาปัญหาการมองเห็นที่เกิดจากข้อผิดพลาดในการหักเหของแสง โดย PRK จักษุแพทย์จะใช้เลเซอร์เพื่อเปลี่ยนรูปร่างของกระจกตา ซึ่งจะช่วยปรับปรุงวิธีที่รังสีของแสงโฟกัสไปที่จอประสาทตา (Retina) PRK ใช้รักษาปัญหาค่าสายตาที่ผิดปกติได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง
PRK มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
มาดูกันว่า PRK จะมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
ข้อดีของการทำ PRK
- ผลการรักษาที่ถาวร PRK เป็นการแก้ไขที่ถาวร โดยผลการรักษาจะคงอยู่ตลอดไป ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป
- เกิดผลข้างเคียงน้อย PRK ตา มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติอื่น ๆ
- ไม่มีรอยต่อจากการแยกชั้นกระจกตา เนื่องจากการทำ PRK ไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา ทำให้หลังผ่าตัดไม่ต้องเย็บแผล
- โอกาสเกิดภาวะตาแห้งน้อย ไม่มีการแยกชั้นกระจกตาออก ทำให้ผิวชั้นนอกของกระจกตาไม่ถูกรบกวน จึงสามารถช่วยปกป้องกระจกตาจากการระคายเคืองและแห้งได้
- หลังผ่าตัด สามารถกลับบ้านได้ทันที แต่ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำงานที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานานในช่วงแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ และPRK พักฟื้นตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์
ข้อจำกัดของการทำ PRK
- ระยะเวลาในการฟื้นตัวนานกว่าเลสิก ถ้าเทียบกันแล้ว LASIK กับ PRK ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด PRK จะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเลสิก
- PRK แผลมีขนาดใหญ่กว่าเลสิก เพราะเลสิกไม่มีการลอกผิวชั้นนอกของกระจกตาออก
การประเมินสภาพสายตาก่อนเข้ารับการรักษา PRK
การประเมินสภาพสายตาก่อนเข้ารับการรักษาผ่าตัดด้วยวิธี PRK สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการเพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
- วัดสายตา เป็นขั้นตอนเริ่มแรกที่ทางแพทย์จะเริ่มวัดสายตาของผู้ป่วย เช่น ค่าสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสามารถเข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธี PRK ได้หรือไม่
- วัดการมองเห็น ทางแพทย์จะวัดความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยที่ต้องการรักษาดวงตาด้วยวิธีเลสิก PRK มีความจำเป็นต้องแก้ไขสายตาตรงจุดไหนบ้าง และต้องแก้ไขอะไรบ้าง
- วัดความดันลูกตา ซึ่งเป็นขั้นตอนจำเป็นก่อนผ่าตัดรักษาดวงตาด้วยวิธี PRK ต้องตรวจวัดค่าความดันลูกตาก่อน เพื่อตรวจหาภาวะความดันลูกตาสูงที่อาจจะนำไปสู่โรคต้อหิน
- ตรวจค่าความโค้ง และความหนาของกระจกตา ทางแพทย์จะตรวจค่าความโค้ง และความหนาของกระจกตาของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาดูว่าระดับความโค้งของกระจกตา โดยค่าความโค้งของกระจกตาจะสัมพันธ์กับความสั้น ยาว หรือเอียงของสายตา และระยะห่างจากผิวด้านหน้าของกระจกตาถึงผิวด้านหลังของกระจกตา โดยความหนาของกระจกตามีความสำคัญต่อการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ PRK
- ตรวจค่าความคลาดเคลื่อนของการรวมแสงที่ดวงตา ทางแพทย์จะประเมินความผิดปกติของการรวมแสงของดวงตาหากแสงรวมตัวกันได้ดี จะทำให้มองเห็นได้ชัดเจน หากแสงรวมตัวกันไม่ดี จะทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน เพราะแพทย์จะพิจารณาดูผู้ป่วยมีภาวะสายตาผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่ก่อนรักษา prk เลสิค ด้วยเลเซอร์
นอกเหนือจากนี้ ตรวจร่างกาย และประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยเพิ่มเติม ขั้นตอนประเมินสภาพสายตาก่อนรักษาดวงตาด้วยวิธี PRK จะช่วยให้แพทย์วางแผนการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเสี่ยง ผลข้างเคียงของการผ่าตัด PRK ได้อย่างถูกต้อง
ขั้นตอนผ่าตัดการทำ PRK
วิธีรักษาด้วยตาให้กลับมาเป็นปกติ ด้วยวิธีรักษา PRK จะเป็นการผ่าตัดสายตาสั้น สายตายาว และสายเอียงของผู้ป่วย โดยขั้นตอนรายละเอียดผ่าตัด PRK มีดังนี้
- จัดเตรียมความพร้อมผู้ป่วย ก่อนผ่าตัด PRK ผู้ป่วยจะต้องหยุดใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ ยาหยอดตาที่มีสารกันบูด และยาปฏิชีวนะบางชนิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด และผู้ป่วยต้องงดใส่คอนแทคเลนส์ งดแต่งหน้า หากแต่งหน้ามา จำเป็นต้องล้างเครื่องสำอางออกให้หมดก่อนผ่าตัด
- ให้ยาชากับผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยจะได้รับยาชาเพื่อระงับอาการปวดระหว่างการผ่าตัด PRK
- เตรียมดวงตาผู้ป่วยก่อนผ่าตัด คือทำความสะอาดดวงตาของผู้ป่วย แพทย์จะทำความสะอาดดวงตาด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตา และใช้ยาหยอดตาขยายม่านตา เพื่อขยายม่านตาให้กว้างขึ้น เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นกระจกตาได้อย่างชัดเจน
- ลอกชั้นผิวกระจกตา แพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อลอกชั้นผิวกระจกตาออก โดยชั้นผิวกระจกตาที่ลอกออกนี้จะค่อยๆ งอกใหม่เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ หลังจากผ่าตัด PRK
- ปรับรูปร่างกระจกตาด้วยเลเซอร์ แพทย์จะใช้เลเซอร์ Excimer ปรับรูปร่างของกระจกตาให้เหมาะสมกับค่าสายตาของผู้ป่วยที่แพทย์ได้คำนวณเอาไว้
- ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษปิดแผล หลังจากผ่าตัดเสร็จทางแพทย์จะใช้คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษปิดแผลเพื่อปกป้องกระจกตา และช่วยให้กระจกตาหายเร็วขึ้น
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา หากมีความต้องการที่อยากรักษาดวงตาให้กลับมาเป็นปกติ แต่ยังมีข้อกังวลใจในการเลือกวิธีรักษา เลสิก กับ PRK ซึ่ง 2 วิธีที่มีความแตกต่างกันตรงที่วิธีผ่าตัด แต่ใช้เลเซอร์ปรับค่าสายตาเหมือนกัน รักษาดวงตาด้วยวิธี PRK จะเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติสายตาทุกประเภท
วิธีดูแลตนเองหลังจากผ่าตัดการทำ PRK
วิธีดูแลตนเองหลังจากผ่าตัดการทำ PRK เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน วิธีดูแลตนเองหลังผ่าตัด PRK มีดังนี้
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายได้พักผ่อนในแต่ละวันเพียงพอจะช่วยทำให้ฟื้นฟูหลังจากการผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรดื่มให้ครบวันละ 8 แก้วต่อวัน เพราะน้ำจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรก และสารพิษออกจากร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ และธัญพืช
- งดรับประทานอาหารของหมัก ของดอง ของทอด
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน เช่น ขับรถ อ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์ เล่นเกม เป็นต้น
นวัตกรรม PRK รักษาสายตาได้ทุกประเภท
ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ สายตาของเรานั้นเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งบุคคลที่มีปัญหาทางสายตาตั้งแต่กำเนิด และเกิดจากพฤติกรรมการใช้สายตา เช่น จ้องโทรศัพท์เป็นเวลานาน นั่งจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ละสายตา จึงทำให้ตาล้า ตาพร่ามัว จอประสาทตาเสื่อม จนทำให้เป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งการรักษาสายตาให้หายเป็นปกติคือการรักษาดวงตาด้วยวิธีรักษาแบบ PRK