แตงกวา ประโยชน์ สรรพคุณ ข้อควรระวัง
แตงกวา เป็นผักชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักและคุ้นหน้าคุ้นตากันดี มักนิยมนำไปเป็นเครื่องจิ้ม น้ำพริกต่างๆ เต้าเจี้ยวหลน ฯลฯ หรือเครื่องเคียงอาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง นอกจากเสริมรสชาติอาหารจานหลักแล้วยังช่วยแก้เลี่ยนได้ด้วย นอกจากนี้แตงกวายังมีประโยชน์อื่นๆ
รู้จักกับแตงกวา
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียจัดว่า เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับน้ำเต้า ฟักทอง แตงโม บวบ มะระ แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตรวดเร็ว มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก
ลำต้นมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบมีมุม 3-5 มุม มีขนหยาบ ปลายมีลักษณะแหลมยาว ดอกมีกลีบ 5 กลีบ สีเหลือง ส่วนผล มีลักษณะรูปทรงกระบอกยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดอยู่ตรงกลางสามารถนำมารับประทานได้ทั้งผล
คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา
แตงกวา 1 ผล มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 96.4% คาร์โบไฮเดรต 2.8% โปรตีน 0.4% ไขมัน 0.1% และแร่ธาตุต่างๆ เช่น
ธาตุเหล็ก
ฟอสฟอรัส
แคลเซียม
วิตามินซี
วิตามินบี
นอกจากนี้ผลของแตงกวายังมีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซักซินิก มาลิก ดีไฮโดรจีเนส (succinic malic dehydrogenase) แอสคอร์บิก แอซิด ออกซิเดส (Ascorbic acid oxidase) ในส่วนของเถาและเมล็ดจะมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง
ประโยชน์ของแตงกวา
ช่วยลดอุณหภูมิ หรือความร้อนภายในร่างกาย ในช่วงฤดูร้อนจึงเหมาะที่จะรับประทานแตงกวามาก
ช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ช่วยในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก
ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้ผิวสะอาดกระจ่างใสขึ้น และรูขุมขนกระชับขึ้น
ช่วยป้องกันสภาวะร่างกายขาดน้ำได้ เนื่องจากในแตงกวามีส่วนประกอบที่เป็นน้ำถึง 90กว่าเปอร์เซ็นต์
ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
มีสารแอนโทรแซนทินซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวด มีการทดลองพบว่า สารสกัดของแตงกวาสามารถบรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในระดับปานกลาง
ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกายและยังช่วยละลายก้อนแข็งที่อยู่ภายในไตได้ด้วย
ช่วยเสริมสร้างความจำ ส่งเสริมการทำงานของสมอง และยังช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าได้
มีการทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดแตงกวาสามารถช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเลือดได้
สรรพคุณทางยาของแตงกวา
ประทานควรล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้ง
ไม่ควรทานตอนไอ หากมีอาการไอ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแตงกวาเนื่องจากมีฤทธิ์เย็นจะยิ่งทำให้อาการไอแย่ลง
4. ช่วยลดอาการอักเสบ
แตงกวามีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการอักเสบได้ดี โดยให้นำแตงกวามาฝานเป็นแว่น จากนั้นนำแตงกวามาวางไว้บริเวณที่อักเสบ ทิ้งไว้สักพักจะช่วยลดอาการบวมจากการอักเสบได้ดี ด้วยฤทธิ์เย็นของแตงกวายังสามารถบรรเทาอาการปวดได้อีกด้วย
แตงกวา เป็นผักที่มีประโยชน์หลากหลาย ควรรับประทานเป็นอย่างมาก และสามารถรับประทานได้ทั้งแบบดิบ แบบสุก หรือแปรรูป อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานแตงกวาในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรบริโภคมากจนเกินไป เพราะทุกอย่างล้วนมีทั้งคุณและโทษผสมกันไป