พบหลักฐานยืนยัน “แก่นโลกชั้นใน” หมุนช้าลงจริง
นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน “แก่นโลกชั้นใน” หมุนช้าลงจริง
นี้เป็นข่าวที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่อง ณ ตอนนี้เลยทีเดียวการศึกษาใหม่แสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่า แก่นโลกชั้นในเริ่มลดความเร็วลงราวปี 2010 โดยเคลื่อนตัวช้ากว่าพื้นผิวโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบผลกระทบที่แท้จริง แต่เป็นไปได้ว่าอาจทำให้เวลาในแต่ละวันยาวนานขึ้น "ระดับเสี้ยววินาที"
นักธรณีวิทยาถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่า แกนชั้นในนั้นหมุนเร็วขึ้นหรือหมุนช้าลง พวกเขาไม่สามารถเจาะโลกเป็นรูลึกลงไปกว่า 4,800 กิโลเมตรเพื่อดูว่าแกนชั้นในเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์หัวใสทั้งหลายจึงศึกษามันจากทางอ้อมแทน นั่นคือ แผ่นดินไหว
ต่อมาการศึกษาใหม่ของ USC ให้หลักฐานที่ชัดเจนว่า แก่นโลกชั้นในเริ่มลดความเร็วลงราวปี 2010 โดยหมุนช้ากว่าพื้นผิวโลก ทีมวิจัยใช้เครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือน (Seismogram) บันทึกการเคลื่อนที่ของโลก โดยศึกษาคลื่นสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่ส่งไปถึงแก่นโลกชั้นใน และวิเคราะห์ความเร็วในการหมุน
ศาสตราจารย์จอห์น วิเดล กล่าวว่า “เมื่อผมเห็นผลการวัดคลื่นครั้งแรกที่บอกเป็นนัยถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ผมถึงกับนิ่งงัน แต่เมื่อเราพบข้อสังเกตอีกมากกว่า 20 ครั้งที่ส่งสัญญาณรูปแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ แกนในได้ชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ”
ผลการศึกษาพบว่า แก่นโลกชั้นในหมุนช้าลงเมื่อเทียบกับพื้นผิวดาวเคราะห์ เนื่องจากการเคลื่อนตัวช้าลงเล็กน้อยแทนที่จะเร็วกว่า เป็นครั้งแรกในรอบประมาณ 40 ปีเมื่อเทียบกับความเร็วในทศวรรษก่อน
ความแน่นอนของผลการศึกษานี้เกิดจากการี่ทีมวิจัยใช้คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวซ้ำ ๆ ในจุดเดิมเท่านั้น เพื่อสร้างกราฟคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Wave) ที่เหมือนกัน ความเร็วที่ช้าลงของแก่นโลกชั้นในนั้นเกิดจากการปั่นป่วนของแก่นโลกชั้นนอกที่เป็นเหล็กเหลว ซึ่งก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก เช่นเดียวกับแรงดึงดูดโน้มถ่วงจากบริเวณหนาแน่นของเนื้อโลกที่อยู่ด้านบน
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแก่นโลกชั้นในต่อพื้นผิวโลกั้นยังไม่ชัดเจน การช้าลงของแก่นโลกชั้นในอาจเปลี่ยนความยาวของวันในหลักเสี้ยววินาที “มันยากมากที่จะสังเกตได้ ราว ๆ 1 ในพันวินาทีเท่านั้น แทบจะกลืนหายไปกับเสียงของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศที่ปั่นป่วน”