ความเป็นมาของ น้ำแข็งก้อนแรก ในบ้านเรา
เชื่อว่าอะไรที่เป็นครั้งแรก คนเรามักจะตื่นเต้นเสมอ (รู้นะคิดอะไรอยู่) ผมหมายถึงบางอย่างที่พวกเราไม่รู้สึกตื่นเต้นกันแน่ๆ เพราะเกิดมาก็เจอมันเลย สิ่งที่พูดถึงนี้คือ น้ำแข็ง รู้หรือไม่ว่าน้ำแข็งก้อนแรกในประเทศไทยนั้น มีมาตั้งแต่เมื่อใด งั้นมาหาคำตอบกันครับ คนไทยรู้จักน้ำแข็งครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ไทยมีการทำการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น จึงทำให้เกิดการนำเข้าวัฒนธรรมต่างๆ ผ่านสินค้าที่บรรทุกข้ามน้ำข้ามทะเลมาทางเรือ
โดยน้ำแข็งคือหนึ่งในสิ่งที่เดินทางมาไกลถึงประเทศไทย โดยน้ำแข็งก้อนแรกเดินทางมาจากที่ไกลแสนไกลพร้อมกับเรือกลไฟที่มีชื่อว่า เจ้าพระยา ของพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) มันถูกถูกบรรจุมาในหีบไม้ฉำฉาที่กลบด้วยขี้เลื่อย (เพื่อรักษาอุณหภูมิ) ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางของเรือเจ้าพระยาจากสิงคโปร์มาประเทศไทยต้องใช้เวลากว่า 15 วันต่อ 1 เที่ยว! จึงทำให้น้ำแข็ง กลายเป็นของแปลกใหม่ และมีคนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ลิ้มลอง โดยในหนังสือ ฟื้นความหลัง เล่ม 1 ของ พระยาอนุมานราชธน (เสถียรโกเศศ) ได้เขียนถึงน้ำแข็งที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงนั้นว่า เมื่อมีน้ำแข็งใหม่ๆ คนส่วนมากยังไม่เคยเห็น และซ้ำจะไม่เชื่อว่าน้ำแข็งมีจริง จนถึงทางราชการเอาใส่ถาดตั้งไว้ให้ราษฎรดูที่พิพิธภัณฑสถาน
ซึ่งสมัยนั้นตั้งอยู่ที่ตึกศาลาสหทัย ราษฎรที่พากันไปดูบางคนคิดถึงคนอื่นที่บ้าน เป็นห่วงว่ายังไม่เคยเห็น ก็ขอก้อนน้ำแข็งซึ่งเขาต่อยไว้แล้วเป็นก้อนเล็กๆเอาไปฝากหรืออวดคนที่บ้าน รวมถึงยังมีบันทึกเกี่ยวกับมุมมองของคนไทยต่อน้ำแข็งเอาไว้ด้วยว่า ชาวบ้านชั้นผู้ใหญ่ห้ามเด็กไม่ให้กิน บอกว่าแสลง กินเข้าไปแล้วร้อน เห็นจะหมายถึงว่าร้อนใน หาว่ามันใส่ยาอะไรก็ไม่รู้ จึงทำให้น้ำแข็ง หลังจากนำเข้าน้ำแข็งผ่านเรือกลไฟมาเป็นเวลานาน ในที่สุดประเทศไทยก็สามารถผลิตน้ำแข็งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องนำเข้าจากที่ไหนในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีการตั้งโรงน้ำแข็งแห่งแรก ของประเทศไทยในชื่อ น้ำแข็งสยาม (บริเวณถนนเจริญกรุง) โดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) และทำให้ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโรงน้ำแข็งนายเลิศ ในเวลาต่อมานั่นเอง นับว่าน้ำแข็งก้อนแรกในประเทศไทยนั้นมีที่มาที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว ต้องรอตั้ง 15 วันกว่าจะได้กิน