เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ "ชนช้าง" ในอดีตของพวกเราชาวไทย
การทำ "ยุทธหัตถี” หรือการชนช้าง เป็นประเพณีการทำสงครามของกษัตริย์ในอุษาคเนย์ โดยใช้ช้างศึกที่เรียกว่า “ช้างพลาย” ที่มีความดุร้ายและถูกกรอกเหล้าเพื่อเพิ่มความฮึกเหิม ช้างจะถูกแต่งอาวุธและป้องกันต่างๆ เช่น เกราะหรือผ้าสีแดงปิดตา เพื่อไม่ให้ตกใจและเสียสมาธิ บนหลังช้างจะมีผู้ขับขี่ 3 คน คือผู้ต่อสู้บนคอ, ผู้ส่งสัญญาณและอาวุธ, และควาญช้าง
ทั้งนี้การชนช้างถือเป็นการทำสงครามที่มีเกียรติยศ ผลแพ้ชนะขึ้นอยู่กับขนาดและความแข็งแกร่งของช้าง การทำสงครามด้วยวิธีนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากอินเดีย และได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยหลายครั้ง เช่นการชนช้างของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ได้รับชัยชนะ
และในปัจจุบัน ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน จ.ฉะเชิงเทรา เชื่อว่าช้างป่าที่อยู่ที่นี่สืบเชื้อสายมาจากช้างศึกโบราณ เพราะมีการบันทึกพบช้างที่มีลักษณะคล้ายช้างศึกในอดีต
ส่วนการทำยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ไทยนั้น มีปรากฏทั้งหมด 4 ครั้ง คือ
1. การชนช้างระหว่างพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนรามคำแหงชนะ
2. การชนช้างที่สะพานป่าถ่าน ระหว่างเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา เพื่อชิงราชสมบัติ ปรากฏว่าสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
3. ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระสุริโยทัยกับพระเจ้าแปร ในปี พ.ศ. 2091 ที่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระสุริโยทัยถูกพระเจ้าแปรฟันพระอังสาจนสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
4. ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชามังสามเกียด และยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระเอกาทศรถกับมางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร ในปี พ.ศ. 2135 ณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ชัยชนะ พระมหาอุปราชาถูกฟันพระอังสะขวาด้วยพระแสงของ้าว บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองจาปะโรถูกฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกคอขาดบนคอช้างนั่นเอง