ขุดค้นพบหมากฝรั่งยุคหินจากยางเปลือกไม้เบิร์ชที่มีสารพันธุกรรมของมนุษย์อยู่ จนวิเคราะห์รูปร่างเด็กเมื่อ 5,700 ปีก่อนได้
ค้นพบหมากฝรั่งยุคหินจากยางเปลือกไม้เบิร์ชที่มีสารพันธุกรรมของมนุษย์อยู่ จนวิเคราะห์รูปร่างเด็กเมื่อ 5,700 ปีก่อนได้
ข่าวนี้เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมากๆเลยนะครับและยังทำให้รู้ว่าคนในยุคดึกดำบรรพ์ก็นิยมเคี้ยวหมากฝรั่งกัน
อะไรก็แล้วแต่นะครับที่เคี้ยวแล้วเป็นยางๆเหนียวหนึบๆๆเคี้ยวมันเคี้ยวหนึบมันก็คือหมากฝรั่งนั่นเองแล้วมันก็สามารถที่จะสานต่อวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันได้แต่หมากฝรั่งโบราณชนิดนี้มันมีทีเด็ดกว่านั้นคือมีสารพันธุกรรมของมนุษย์ติดอยู่ จนสามารถเอามาวิเคราะห์รูปร่างตรงนี้แหละสำคัญที่สุด...เรามาเข้ารายละเอียดของบทความนี้เลยดีกว่า
นักวิจัยขุดพบหมากฝรั่งยุคหิน ที่มีสารพันธุกรรมของมนุษย์อยู่ จนวิเคราะห์รูปร่างเด็กเมื่อ 5,700 ปีก่อนได้
โดย ‘ลอร่า’ เด็กสาวดวงตาสีฟ้า ผิวคล้ำ ผมสีเข้ม ที่อาศัยอยู่ในเดนมาร์ก เมื่อ 5,700 ปีก่อน เธอเคี้ยวพืชชนิดนึง ซึ่งอาจจะเปรียบได้ว่าเป็นหมากฝรั่งยุคโบราณ แล้วเธอก็คายทิ้งไว้ จนทำให้เราสามารถสืบค้นพันธุกรรมของมนุษย์ได้สิ่งอื่น นอกเหนือจากกระดูกของมนุษย์เป็นครั้งแรก
ฮันแนส ชเรอเดอร์ (Hannes Schroeder) นักมานุษยวิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) เจอก้อนหมากฝรั่งโบราณขนาดยาว 2 ซม. ซึ่งทำจากต้นเบิร์ช พืชชนิดหนึ่งที่ถูกใช้เป็นกาวธรรมชาติในยุคหินเก่า ผลิตจากเปลือกของต้นไม้
ด้วยการให้ความร้อนจนกลายเป็นของเหลว และถูกค้นพบในระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดี บนเกาะ Lolland ประเทศเดนมาร์ก และนำบางส่วนของก้อนนี้ไปวิเคราะห์เพื่อค้นหาดีเอ็นเอ พบว่ามันมีดีเอ็นเอจำนวนมากอยู่ในก้อนหมากฝรั่งนี้ จนสามารถสร้างจีโนมมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบมาเป็น "ลอร่า"
👉ดูรูปร่างของลอร่ามนุษย์ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ จากรูปร่างเด็กเมื่อ 5,700 ปีก่อนได้
วิวัฒนาการสมัยใหม่นี้..ทำให้จินตนาการกลายเป็นความจริงได้นะครับแล้วมาฝรั่งเป็นก้อนดำๆนั้นไม่ใช่อื่นใดมันก็คือยางไม้ดูให้เป็นหมากฝรั่งนะครับไม่ใช่ดูให้มันเป็นก้อนขี้นะครับ