ความงดงามของรอบชุดประจำชาติ MUT 2023 (Part 1)
Hello Universe
คำคุ้นหูที่หลาย ๆ คนคงได้ยินบนเวทีประกวด Miss Universe
และตอนนี้ Miss Universe Thailand 2024 ก็กำลังเปิดตัวสาวงามตัวแทนแต่ละจังหวัดให้ได้ยลโฉมกันแล้ว
ก่อนจะเข้าสู่การประกวดในปีนี้
เรามาย้อนดูความสวยงามของรอบชุดประจำชาติของผู้เข้าประกวดในปี 2023 เป็นการวอร์มสายตา เรียกน้ำย่อยกันดีกว่า
ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลยยยย
ชุดสง่างามสมศักดิ์ศรี
MUT01 ลิซ่า - ลัชชา เอลิซา แซงแกง จังหวัดพะเยา
แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากไข่มุก ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง และเป็นตัวแทนของความนุ่มนวล อ่อนหวาน และความสงบ มีความเชื่อกันว่าไข่มุกจะนำความรัก ความสุข และความสำเร็จมาสู่เจ้าของนั่นเอง
ชุดศิวาลัยในใจแม่
MUT02 ซาร่า – สุภัสสรา สุปัญญา จังหวัดอุดรธานี
แรงบันดาลใจ : จากชุดไทยพระราชนิยมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง นำมาประยุกต์เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดความเป็นไทยให้ทุกคนได้รู้จัก นี่คือชุดไทยของแม่
ชุดเซิ้งบั้งไฟถวยแถน แอนแอวขอฝน
MUT 03 ทีมิว – กรธนพรรณส์ แชมเบอร์ส จังหวัดยโสธร
แรงบันคาลใจ : บุญบั้งไฟโก้ยโสธร เป็นประเพณียิ่งใหญ่และเป็นอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของชาวยโสธรมาอย่างยาวนาน "การเซิ้งบั้งไฟ" เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์การบอกบุญ เพื่อเริ่มต้นการจุดบั้งไฟในพิธีขอฝน การออกแบบชุดไส่แรงบันคาลใจจากการแต่งกายชุดเซิ้งบั้งไฟที่สวยงามโคคเด่น นำมาต่อยอด สืบสาน ถ่ายทอคเรื่องราว ความเชื่อ และวิถีชีวิตเกษตรกรรมชาวอีสานที่ผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานพญาคันคากและพญาแถน ถ่ายทอดเป็นชุดประจำชาติมิสยูนิเวิร์สยโสธร เผยแพร่ให้ทั่วโลกให้เห็นถึงคุณค่าด้านภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมสืบสานมาอย่างยาวนาน
ชุดบุปผาราชินีศรีศิวาลัย
MUT04 วีนา – ปวีนา สิงห์ทักวาล จังหวัดภูเก็ต
แรงบันดาลใจ : มาจากดอกไม้ที่งดงามที่มีนามตามพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” ดอกไม้นามพระราชทาน และดอกไม้ทรงโปรดของสมเด็จพระพันปีหลวง หรือเรียกว่า “บุปผาราชินี” นำมาผสมผสานกับ ”ชุดไทยศิวาลัย” หนึ่งในชุดไทยพระราชนิยมที่พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่ม
ชุดจรัสแสงแห่งเมืองสยาม
MUT05 เอมลิน – เอมมาลิน พิชญอมร จังหวัดปทุมธานี
แรงบันดาลใจ : การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัฒนธรรมตะวันตกนั้นรุ่งเรือง ผสมผสานเครื่องแต่งกายชุดไทยศิวาลัย ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยใช้รูปแบบงานปักแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ไว้ด้วยกัน เพื่อบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองทางหัตถศิลป์ของชาวสยามที่มีมาแต่โบราณให้ชาวต่างชาติได้รู้จักและเป็นมรดกตกทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน
ชุดตะเลงพ่าย
MUT06 พิม – วนิดา สุวรรณาภา จังหวัดสุพรรณบุรี
แรงบันดาลใจ : การทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ จ.สุพรรณบุรี ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นละครหุ่นกระบอก โดย อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต เรื่องตะเลงพ่าย จึงได้นำความสวยงามของ เครื่องแต่งกายหุ่นกระบอกมาออกแบบ สื่อถึงความงามอ่อนช้อยแฝงด้วยการต่อสู้เสมือนว่า การมาประกวดในครั้งนี้ จะนำชัยชนะกลับไปยัง จังหวัดสุพรรณบุรี
ชุดวิจิตรศิลป์
MUT07 มีน่า - แอสมีน่า รังสิมา ซิมสัน จังหวัดจันทบุรี
แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง ชุดไทยศิวาลัย โดยการนำความเป็นไทย ยกลายดอกลำพูนมาปักเป็นลายหลักของชุด เสริมสร้างความสง่างามแบบไทยต่อสายตาประชาโลก
ชุด Royal Ruby of Siam
MUT08 รูบี้ – พลอยไพลิน ล้ายบ์ จังหวัดอุทัยธานี
แรงบันดาลใจ : ถ่ายทอดผลงานชุดไทยตามอย่างโบราณที่เน้นเครื่องแต่งกายและวิธีนุ่ง ห่ม แบบโบราณ ร้อยเรียงผ่านเรื่องราวของผ้าลายอย่าง เป็นชุดประจำของราชสำนักฝ่ายในที่ใช้ออกงานเต็มยศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยสีชุดเเละเครื่องประดับเน้นเป็นสีเเดงทับทิม สอดคล้องกับตัวผู้สวมใส่
ชุดศิวาลัยกินนรา
MUT09 ณิชา – ณิชา พูลโภคะ จังหวัดลำพูน
แรงบันดาลใจ : ได้แรงบันดาลใจจาก ชุดศิวาลัยหนึ่งในชุดไทยพระราชนิยม ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผสานความอ่อนช้อยของตัวละคร “กินรี” ในวรรณคดีไทยใช้ผ้าไหมยกดอกจังหวัดลำพูนในการตัดเย็บ และใช้เทคโนโลยี Laser cut ฉลุลายไทยล้านนาบนสไบและเครื่องประดับ
ชุดกุสุมา
MUT11 ข้าวฟ่าง – พิชญดา ขุนทอง จังหวัดระนอง
แรงบันดาลใจ : กุสุมา (ดอกไม้อันทรงเกียรติ) คือ concept หลักในการออกแบบชุดบาบ๋าย่าหยา ซึ่งเป็นชุดทางวัฒนธรรมลูกผสมของทางภาคใต้ ที่มีการปรับประยุกต์ในดีไซน์ แต่คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างครบเครื่อง แสดงถึงความเลอค่าของหญิงงาม ด้วยเครื่องประดับต่างๆตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า นำเสนอผ่าน ข้าวฟ่าง RanongOriginal ฝีมือออกแบบโดยนักเรียนและร่วมตัดเย็บโดยพี่ป้าน้าอาในจังหวัดระนองทั้งหมด
ชุดสยาม พัฒตราภรณ์
MUT12 ญาดา เถกิงเดช จังหวัดสิงห์บุรี
แรงบันดาลใจ : ชุดไทยพระราชนิยม สองแบบ ไทยดุสิตและไทยจักกรี โดยนำแบบตัวเสื้อของชุดไทยดุสิต และแบบการห่มสไบของชุดไทยจักกรี มาผสมผสนเป็นตัวเสื้อห่มสไบสองชาย เพิ่มความสง่างามแก่ผู้สวมใส่ ตัดเย็บจากผ้าไหมยกดอกลำพูน มาตรฐานตรานกยูกพระราชทาน ปักตกแต่งด้วยลูกปัดเม็ดทอง ลายเอกประจำยาม
ชุดโกไสยวัตถาภรณ์ บวรแจ้งอรุณ
MUT13 พราว – พิมพ์ลภัส ชื่อมณีสวรรค์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
แรงบันดาลใจ : ชุดไทยจักรีเป็นหนึ่งในชุดประจำชาติไทยที่ผู้คนทั่วโลกรู้จัก จึงได้หยิบยกสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของประเทศไทย นั่นก็คือวัดอรุณมาผสมผสานเข้ากับชุดไทยจักรีตัวชุดตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีขาว โดยลวดลายที่ปรากฏบนตัวชุดเป็นลวดลายตามเเบบแผนผังสถาปัตยกรรมของวัดซึ่งถอดลวดลายมาจากพระปรางค์วัดอรุณบรรจงร้อยเรียงปักประดับไปด้วยคริสตัล
ชุดThe Glory of Thai
MUT 14 มิน – วรวลัญช์ พุฒกลาง จังหวัดอุตรดิตถ์
แรงบันดาลใจ : “ชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉลองพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยการฉลองพระองค์ผ้าถุงห่มสไบ บวกกับแรงบันดาลใจจากดอกประดู่ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รังสรรค์เป็นชุดนี้ โดยได้นำเทคนิคและแมททีเรียลตกแต่งเป็นผ้าถุงทรงจีบหน้านาง และได้นำเทคนิคดอกไม้ไหวที่ทำมาจากวัสดุทองเหลือง ซึ่งมีความสวยงามและวิจิตรบรรจง อีกทั้งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีคุณูปการอย่างยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งชุดไทย สืบทอดมาจนปัจจุบัน”
ชุด REMIND THE QUEEN
MUT15 จ๋อมแจ๋ม – ญาศุมณ อรรคะเศรษฐัง จังหวัดนครพนม
แรงบันดาลใจ : ชุดได้แรงบันดาลใจจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เป็นที่ยอมรับว่าเป็น FASHION ICON ของวงการแฟชั่นทั้งในประเทศไทยและระดับโลกพระองค์ยังทรงเป็น SOFT POWER ของการหยิบเอาผ้าไหมไทย และผ้าท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และตัดเย็บให้เข้ากับแฟชั่นทุกชุดอย่างลงตัว ทีม MUT NAKHONPHANOM ขอน้อมรำลึกถึงพระจริยาวัตรอันงดงาม และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อวงการผ้าไทยอย่างหาที่สุดมิได้
ชุดทอแสงแยงเงา
MUT16 จอย – ศจี คันธยศ จังหวัดสงขลา
แรงบันดาลใจ : แสงและเงาที่ทอดผ่านการแสดงพื้นบ้าน หนังตะลุง บอกเล่าเรื่องราวผ่านเงาที่ตกกระทบ จากหนังที่ถูกฉลุหรือแยงในภาษาใต้ โดยชุดนี้ใช้วัสดุยีนส์เหลือใช้ในการผลิตทั้งหมด
ชุดกาญจนเบญพาด
MUT17 เคธี่ - แคทริน่า ลลิตา คอสทรูคอฟฟ์ จังหวัดกาญจนบุรี
แรงบันดาลใจ : การถักธงใยแมงมุม ของประเพณียกธงสงกรานต์บ้านเบญพาด อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำธงเพื่อไปถวายวัด นอกจากความสนุกสนานของประเพณียังแฝงคติและความเชื่อ ได้นำโครงสร้างของชุดไทยราชนิยมมาเป็นต้นแบบและใช้ธงใยแมงมุมกว่า 500 ชิ้น และตกแต่งด้วยSwarovski สร้างความระยิบระยับจนเกิดเป็น ผลงานชื่อ “กาญจนเบญพาด” (กาน -จะ นะ- เบญ -ยะ- พาด )
ชุดอรุณราชนารี สตรีศรีสยาม
MUT18 พิ้งกี้ – กรรณิการ์ เสงี่ยมงาม จังหวัดลพบุรี
แรงบันดาลใจ : แสงประกายยามรุ่งอรุณแห่งเมืองสยาม สาดส่องเจิดจรัสกระทบผืนน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งตระหง่านชวนให้หลงใหลผ่านกาลเวลามานับร้อยปี จึงได้หยิบยกเอาเเสงเช้าของอรุณรุ่ง พร้อมด้วยลวดลายอันวิจิตร มาทำเป็นชุดไทยศิวาลัย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยของสตรีศรีสยาม
ชุดราชินีแห่งน้ำฝน
MUT19 นาเดีย – เหมือนฝัน เสลาหอม จังหวัดชัยภูมิ
แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ดอกกระเจียว ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิ ดอกกระเจียวจะบานสะพรั่งสวยงามเพียงแค่ช่วงฤดูฝนของทุกปี เปรียบเสมือนความสวยงามที่ต้องตั้งตารอคอยเพื่อที่จะได้เห็น จึงถือได้ว่า ดอกกระเจียวเป็นราชินีแห่งน้ำฝนนั่นเอง
ชุด THE KIRANA
MUT 20 แจ๊สซี่ - กิระนา จัสมิน ชูว์เทอร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แรงบันดาลใจ : The Kirana คือการออกแบบเครื่องแต่งกายที่ผสมผสานความร่วมสมัยและความวิจิตรงดงามของชุดไทยศิวาลัยได้อย่างลงตัว รายละเอียดการตกแต่งของชุดและโทนสียังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความเขียวขจี ความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่โอบล้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลิ่นอายของเครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์มาประกอบทำให้ ชุด the kirana สมบูรณ์แบบและสง่างามเป็นอย่างยิ่ง
ชุด Kram Silk Sivali
MUT21 โบอิ้ง – ธัญญ์นภัส มงคล จังหวัดสกลนคร
แรงบันดาลใจ : ไหมและฝ้ายย้อมครามธรรมชาติ คุณค่าหัตถศิลป์สกลนคร 6 เฉดสีนำเสนอเทคนิคผ่าน โครงชุดอันโดดเด่นแบบสมัยรัชกาลที่5 ออกแบบ รังสรรค์ โดยชาวสกลนครทั้งหมด
ชุดบ้านนา
MUT22 ช่า – นาตาช่า เนียลเซ่น จังหวัดนครนายก
แรงบันดาลใจ : บ้านนา ชื่อเดิมของจังหวัดนครนายก จึงได้นำวิถีชีวิตการทำไร่ทำนา มาเสนอถ่ายทอดผ่านทางชุดประจําชาติไทย เพื่อเป็นการยืนยันถึงเสน่ห์ของประเทศอู่ข้าวอู่น้ำที่อุมสมบูรณ์ ดังที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”
ชุดสีโหมณฑา
MUT23 สิริ – ชิณณัชฌาญ์ ประยูรศิริ จังหวัดขอนแก่น
แรงบันดาลใจ : ได้แรงบันดาลใจมาจาก ชุดนี่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมเรื่อง "สินไซ" ภาพจิตรกรรมบนผนังโบสถ์ “ฮูปแต้ม” จากวัดไชยศรี (วัด-ไช-สี) จังหวัดขอนแก่น นำเสนอชุดและเครื่องประดับ ผ่านตัวละครในวรรณกรรม โดยนำรูปแบบการแต่งกายของนางสุมณฑา(สุ-มน-ทา) มาผสมผสานกับลวดลายของตัวสีโห นำมาปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดรูปแบบใหม่ ดูโดดเด่นและสะดุดตามากยิ่งขึ้น
ชุดแม่หมอแห่งสด๊กก๊อกทรม
MUT24 แพม – สรัญพัชร์ เกษมณีพงศ์ จังหวัดสระแก้ว
แรงบันดาลใจ : การแต่งกายจะอยู่ในยุคสมัยทวารวดี สื่อถึงผู้นำที่เป็นแหล่งรวมจิตใจของชาวบ้าน ทีอยู่ภายใต้ความศรัทธาในทุกเรื่อง รักษาโรคภัยปัดเป่าความชัว่าร้าย รวมไปถึงเมตตามหานิยม สื่อสารผ่านรอยสักในตัวเครื่องประดับและชุด เป็นลายสักษณ์ที่เป็นคุณเมตตาและเป็นที่นิยมและรู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก
ชุดนครหัตถศิลป์
MUT25 น้ำอิง – สุทธิดา เอียดปู จังหวัดนครศรีธรรมราช
แรงบันดาลใจ : ย่านลิเภา หัตถศิลป์ชั้นสูงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่อดีตนำมานำเสนอถ่ายทอดผ่านชุดประจำชาติไทยผสมผสานเข้ากับชุดไทยดุสิตและแฟชั่นตามยุคสมัย เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับจังหวัดนครศรีธรรมราช ดังที่ว่า นครหัตถศิลป์
ชุดความสง่างามแห่งสตรีสยาม
MUT26 ต้นตาล – บุรินทร์ทิพย์ พุทธลา จังหวัดอุบลราชธานี
แรงบันดาลใจ : ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก สามกษัตริย์ ประกอบไปด้วย เงิน ทอง นาก ซึ่งเป็นของมงคลสามอย่างที่เป็นสิ่งที่สูงส่ง และมีค่ามาตั้งแต่โบราณ จึงเป็นการนำโลหะธาตุที่เป็นมงคลมารวมกัน กลายเป็นของมีอำนาจมาก จึงบัญญัติศัพท์ ขึ้นแทนธาตุทั้งสามว่า “สามกษัตริย์”
ผ่านไปแล้วกับ 25 สาวงาม 25 ชุดประจำชาติในการประกวด MUT 2023 รอบชุดประจำชาติ
ยังมีอีก 28 ชุดจาก 28 สาวงาม ไว้ติดตามความสวยงามกันใน Part 2 นะ
(เดี๋ยวกระทู้จะยาวเกินไปแล้วจะไม่น่าอ่าน)