รู้ก่อนรวยก่อน!! กับแนวโน้มลักษณะนักท่องเที่ยว ครึ่งปีหลัง 2567
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ผลกระทบของค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงในการตัดสินใจของผู้บริโภค
เมื่อประเทศไทยก้าวเดินมาถึง เกือบสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2567 และเข้าสู่ช่วง Low Season ภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขต่างๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จะกล่าวถึงแนวโน้มลักษณะของนักท่องเที่ยว ครึ่งปีหลัง 2567 ที่เขียนไว้ในรายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปีที่ 5 ฉบับที่ 1/2567 มาให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ มาพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ต่อไป
พร้อมแล้ว ลุย!! กันได้เลยค่ะ
แนวโน้มลักษณะของนักท่องเที่ยว ครึ่งปีหลัง 2567
1.) นักท่องเที่ยวดิจิทัลผู้ชอบเชื่อมต่อทางสังคม (Digital travelers who are socially connected)
บทบาทโซเชียลมิเดีย มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางออก โดยอิทธิพลทางตรงของบทบาทโซเชียลมิเดียแก่นักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น
1.บทบาทนำทาง (Guide) โดย บทบาทนำทางของการใช้โซเชียลมีเดีย คือ
1.1 สามารถช่วยพวกเขาในการค้นหาเส้นทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้
1.2 สามารถช่วยพวกเขาในการค้นพบร้านอาหาร ร้านค้า และสถานที่สำคัญอื่นๆ ใกล้กับที่พักของพวกเขา
1.3 สามารถช่วยพวกเขาในการหลีกเสี่ยงสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งแออัดหรือมีปัญหาต่าง ๆ
2.บทบาทของผู้อนุมัติรับรองของโซเซียลมีเดีย (Approver Roles of Social Media) ในขณะที่ บทบาทของผู้อนุมัติรับรองของโซเชียลมีเดีย คือ นักท่องเที่ยวดิจิทัลผู้ชอบเชื่อมต่อทางสังคมจะขอรับฟัง “ความคิดเห็นในการตัดสินใจ”
ในส่วนของอิทธิพลทางอ้อมแก่นักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- ผู้สร้างความต้องการ (Need Generator)
- ผู้สนับสนุน (Supporter)
โดยสำหรับลักษณะของ "ผู้สร้างความต้องการ" โซเซียลมีเดียสามารถ
- สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทางผ่านการนำเสนอรูปภาพและวีดิโอที่สวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลก
- ช่วยนักท่องเที่ยวในการค้นพบสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ซึ่งพวกเขาอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน
- ช่วยนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย
ในขณะที่โซเชียลมีเดียสามารถเป็นลักษณะของ "ผู้สนับสนุน" กล่าวคือ โซเซียลมีเดียสามารถ
- ช่วยนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และกิจกรรมต่างๆ ได้โดยการนำเสนอรีวิวของกลุ่มนักท่องเที่ยวอื่นๆ
- ช่วยนักท่องเที่ยวในการเปรียบเทียบราคาและบริการของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวจากแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้
- ช่วยนักท่องเที่ยวในการอ่านและรับรู้คำแนะนำจากนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ หรือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
ข้อมูลที่แสดงบนสื่อโซเซียลมีเดีย มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจผู้ชม/ผู้ฟัง เป็นวงกว้าง ดังนั้น การรักษาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว (Tourism products) เป็นสิ่งสำคัญ
2.) นักท่องเที่ยวซึ่งเน้นถึงความยั่งยืน (Sustainability-conscious travelers)
นักท่องเที่ยวยุกต์ใหม่ คำนึงถึงความยั่งยืนจะมีความคิดที่เชื่อมโยงกัน 3 อย่าง คือ (1) ประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อชุมชนท้องถิ่น (2) การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ (3) การมีส่วนร่วมทางสังคม
โดยทัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norms) และการควบคุมพฤติกรรมที่รับรู้ (Perceived Behavioral Contral) ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Consumption: SRC) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าจากองค์กรที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
- ความตั้งใจที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
- ความตั้งใจที่จะพยายามหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้สินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.) นักท่องเที่ยวผู้แสวงหาประสบการณ์ที่ดื่มด่ำ (Immersive travelers)
นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่สนใจเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ต้องการแสวงหาโอกาสในการเชื่อมต่อกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ลองรับประทานอาหารต้นตำรับ เข้าร่วมกิจกรรมแบบลงมือปฏิบัติและมีปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญกับผู้ที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น
โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะเน้นถึงประสบการณ์ในการเข้าถึงสถานที่เฉพาะ จังหวัด หรือ ประเทศโดยการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีความหมายกับประวัติศาสตร์ คน วัฒนธรรม อาหาร และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ในเชิงกิจกรรมและเชิงความหมาย
4.) นักท่องเที่ยวผู้ชื่นชอบการผจญภัย (Adventure enthusiastic travelers)
กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ชื่นชอบการผจญภัย มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินป่า ขี่จักรยาน กีฬาทางน้ำ และการสำรวจจุดหมายปลายทางนอกเส้นทางท่องเที่ยวแบบเดิม การท่องเที่ยวผจญภัย และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศถือเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
5.) นักท่องเที่ยวผู้เน้นสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health and wellness travelers)
ความคาดหวังของนักท่องเที่ยว จะเกี่ยวข้องกับการผสมผสานการรักษาสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างครบถ้วน อาทิ การรักษาทางการแพทย์แบบดั้งเดิม การรักษาทางเลือก และสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งครอบคลุมคุณลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบหลายมิติ
6.) นักท่องเที่ยวที่ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ (Resilient travelers)
จากสถานการณ์ Covid-19 นักท่องเที่ยวมีการเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในแผนการเดินทาง รวมถึงมีความเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนกำหนดการและเปิดรับการเปลี่ยนแปลงในนาทีสุดท้ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือข้อจำกัดในการเดินทาง
7.) นักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennial travelers)
กลุ่มมิลเลนเนียล หรือเรียกว่า กลุ่ม Gen Y ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยมีพฤติกรรมการท่องเที่ยว ดังนี้
- การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) กลุ่มมิลเลนเนียล มีแนวโน้มที่จะวางแผนเส้นทางการเดินทางด้วยตนเองและเดินทางโดยอิสระมากกว่าที่จะอาศัยคำแนะนำจากตัวแทนท่องเที่ยวหรือเข้าร่วมทัวร์แพ็กเกจหรือการเดินทางแบบกลุ่ม
- การท่องเที่ยวนอกเส้นทาง (Off-the-beaten-track Tourism) กลุ่มมิลเลนเนียล จะหลีกเสี่ยงจุดหมายปลายทางที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวหนาแน่น แต่จะเน้นไปเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีคนน้อย เพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่แท้จริง
- การเลือกพักผ่อนแบบทางเลือก (Alternative Accommodation) หมายถึง รูปแบบที่พักประเภทใดก็ตามที่ไม่ใช่โรงแรมแบบดั้งเดิม อาทิ บ้านพักตากอากาศ โฮสเทล เกสต์เฮาส์ โฮมสเตย์ โดยจะเน้นที่พักที่มีพื้นที่และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สามารถข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นรวมถึงมีโอกาสเชื่อมต่อกับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ
- ดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Fully Digital Tourism) กลุ่มมิลเลนเนียล ออกแบบการเดินทางทั้งหมดผ่านระบบดิจิทัลและมือถือ ทำทุกขั้นตอนในการเดินทางบนสมาร์ตโฟนของตนเอง ตลอดจนหาแรงบันดาลใจจากการอ่านบล็อกการท่องเที่ยว โดยวางแผนการเดินทางตามเนื้อหาที่สร้างโดยผู้ใช้ รีวิวของลูกค้า และเว็บไซต์การท่องเที่ยวและจองเที่ยวบินและที่พักบนแอปพลิเคชันการจองและเอเจนซี่ท่องเที่ยวออนไลน์ รวมถึง การสำรวจเส้นทางการเดินทางในจุดหมายปลายทางด้วยความช่วยเหลือของสมาร์ตโฟนและแอปพลิเคชันการท่องเที่ยว สุดท้าย พวกเขาจะแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขาลงบนสื่อสังคมเพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจในการเดินทางในหมู่เพื่อนๆ
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ตามลิงค์ข้างล่างเลยนะคะ
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปีที่ 5 ฉบับที่ 1/2567