LGBTQ+ กับวิถีทางเพศในประเทศไทย
ถ้าจะพูดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมบ้านเรามันมีความซับซ้อนของ LGBTQ+ ในประเทศไทยนั่นมีอยู่มากและขัดแย้งกัน โดยสังคมจะยอมรับพฤติกรรมรักเพศเดียวกันและข้ามเพศ มากกว่าหลายๆประเทศ แต่ความเป็นเป็นจริงแล้ว ยังมีความอคติต่อกลุ่ม LGBTQ+ ยังมีให้เห็นอยู่ อีกทั้งยังมีการเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้แฝงอยู่ในองค์กรต่างๆ
ซึ่งในประเทศไทย เริ่มมีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่ถือว่าไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานทางสังคมแบบรักต่างเพศ
มาเป็นเวลานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 จนกระทั่งมาถึงศตวรรษที่ 19 สังคมไทยยังคงมองประเด็นเรื่อง LGBTQ+ เป็นเพียงเรื่อง เสื้อผ้าและทรงผม
ในขณะเดียวกันในยุคนี้สังคมเริ่มรับเอาอิทธิพลทางความคิดและบรรทัดฐานทางสังคมแบบตะวันตกเข้ามา รวมไปถึงการลงโทษบุคคลที่รักเพศเดียวกันและแนวคิดที่ว่าเพศวิถีไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐาน ทางสังคม
จนกระทั่งศตวรรษที่ 20 ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบ รัฐธรรมนูญที่มีรัฐบาลบริหารประเทศ ในปี พ.ศ. 2475 และเริ่มนำหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศ วิถีทางเพศ มาโยงเข้ากับการสร้างศีลธรรมจรรยาในสังคม ในขณะเดียวกัน การรักเพศเดียวกันก็เริ่มเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปและชุมชนเกย์ เริ่มก่อตัวขึ้น โดยชาวต่างชาติจากประเทศตะวันตกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีส่วนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
หลัง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งแต่ยุค 1950 และ 1960 (พ.ศ. 2493 และ 2503) ข้อมูลเรื่องเพศสภาวะและเพศวิถีเริ่มเป็นที่ แพร่หลาย ในขณะที่กลุ่ม LGBTQ+ เริ่มปรากฏตัวตามสื่อต่างๆ เช่นหนังสือและภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเกย์มีเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยยังคงมีความขัดแย้งในตัวเองเกี่ยวกับประเด็น LGBTQ+ โดยเป็นประเทศที่องค์กรการท่องเที่ยวส่งเสริมภาพ ลักษณ์ของเมืองไทยว่าเป็นดั่งสวรรค์ของเกย์ ในขณะที่การพูดคุยอภิปรายเกี่ยวกับวิถีทางเพศในสังคมเป็นเรื่องต้องห้ามและ การศึกษาเรื่องเพศในโรงเรียนยังมีข้อจำกัดอยู่ กลุ่ม LGBTQ+ โดยส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่าเขตชนบท
พวกเขาถูก กดดันในหลายด้าน ทั้งที่จะต้องทำหน้าที่พลเมืองที่ดีของสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นลูกที่ดีมีความกตัญญูต่อครอบครัว ประกอบกับแนวคิดค่านิยมที่ว่าเพศวิถีหรือเพศสภาวะของบุคคลไม่ควรที่จะขัดแย้งกับบรรทัดฐานที่สังคมยอมรับโดยไม่ควรสร้าง ความอับอายให้กับตัวเองและครอบครัว ส่งผลให้พวกเขามีชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความกดดันยิ่งขึ้นไปอีก
ภาพประกอบ: https://pixabay.com/th/images/search/lgbt /