50สิ่งที่ควรทำถ้าเกิดสงครามโลกครั้งที่3
เราต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์วันสิ้นโลกอย่างสงครามโลกครั้งที่ 3 !?
หากไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรลองมาดูเช็คลิสต์ 50 อย่างนี้กันดีกว่าว่ามีอะไรที่เราควรทำบ้าง
หมวดการเตรียมตัวทางกายภาพ
1. กักตุนเสบียงที่จำเป็น เช่น อาหารและน้ำ รวมถึงยารักษาโรค
2. สร้างที่พักพิงที่ปลอดภัย เลือกภูมิประเทศที่ช่วยป้องกันเราตามธรรมชาติ เรียนรู้การก่อสร้างพื้นฐาน
3. พัฒนาทักษะการเอาตัวรอด เช่น การก่อไฟและการปฐมพยาบาล
4. สร้างช่องทางการสื่อสารฉุกเฉินในกรณีที่เครือข่ายขัดข้องหรือไฟฟ้าดับ
5. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากกันแก๊ส เครื่องวัดกัมมันตภาพรังสี ชุดป้องกันวัตถุอันตราย
หมวดการเตรียมตัวด้านจิตใจ
6. รักษาสภาพจิตใจให้เป็นบวกเพื่อเตรียมความพร้อมทางจิตใจซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในภาวะวิกฤต ทำใจให้สงบมีสมาธิ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
7. สร้างการสนับสนุนทางอารมณ์กับครอบครัวและเพื่อน โดยให้กำลังใจกันและกันในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
8. เรียนรู้เทคนิคการคลายเครียด เช่น การฝึกสมาธิ การหายใจ การเจริญสติ เพื่อจัดการกับความวิตกกังวลและสุขภาพจิตที่ดี
9. เตรียมรับมือกับการกักตัวทั้งร่างกายและจิตใจ ในช่วงเวลาวิกฤตการแยกตัวก็เป็นสิ่งจำเป็น
10. ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ ยอมรับกับวิถีชีวิตแบบใหม่
หมวดความรู้และข้อมูล
11. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั่วโลก การเข้าใจสถานการณ์จะทำให้ตัดสินใจได้โดยมีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลที่ได้รับ
12. สำรวจแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น เซลล์สุริยะ หรือเครื่องปั่นไฟ ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าใช้การไม่ได้
13. ทำความเข้าใจใสพันธมิตรทางภูมิรัฐศาสตร์เพื่อคาดการณ์ภัยคุกคามและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างความขัดแย้งทั่วโลก
14. ศึกษาสงครามและความขัดแย้งในอดีตเพื่อเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ความเข้าใจในรูปแบบของพฤติกรรมของมนุษย์ในช่วงสงครามสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าได้
15. ระบุแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น เช่น น้ำ อาหาร และเชื้อเพลิงในบริเวณใกล้เคียง การรู้ว่าจะหาทรัพยากรได้จากที่ไหนอาจเป็นสิ่งสำคัญในช่วงขาดแคลน
หมวดการเตรียมตัวเชิงปฏิบัติ
16. ฝึกฝนการป้องกันตัว เรียนรู้ศิลปะป้องกันตัวเพื่อป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักในช่วงเวลาวิกฤต
17. ความปลอดภัยทางการเงิน เตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง กระจายการลงทุนและมีกองทุนฉุกเฉินที่เข้าถึงได้ หากถึงจุดวิกฤตอาจจะต้องสนใจสิ่งอื่นมากกว่าเรื่องทรัพย์สิน
18. สร้างชุมชนพันธมิตรเพื่อความปลอดภัยร่วมกัน สร้างเครือข่ายกับเพื่อนบ้านเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความปลอดภัยซึ่งกันและกัน
19. ฝึกซ้อมการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยทดลองฝึกซ้อมกับคนในครอบครัวเป็นประจำ
20. ความรู้ทางการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ จงมีทักษะในด้านการแพทย์และปฐมพยาบาลพื้นฐาน ในสถานการณ์ฉุกเฉินคุณอาจต้องดูแลตัวเองก่อนที่มืออาชีพจะมาถึง
หมวดการเตรียมตัวในสิ่งที่ไม่เคยรู้
21. การค้าขายแลกเปลี่ยน โลกหลังเกิดวิกฤตการค้าขายแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องธรรมดา เรียนรู้การค้าขายแลกเปลี่ยนและกักตุนสิ่งของที่คิดว่าใช้แลกเปลี่ยนได้เอาไว้
22. ใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ฝึกการใช้ชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพาความสะดวกสบายของโลกสมัยใหม่ รักษาทรัพยากรไว้สำหรับอนาคต
23. ระวังการโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจากคนพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น อาจส่งผลต่อการเอาชีวิตรอดได้
24. ระวังคนแปลกหน้าที่ปะปนเข้ามาในชุมชน เรียนรู้ที่จะแยกแยะสายลับหรือคนที่ปะปนเข้ามาในชุมชน จงมีมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลอันมีค่า
25. แบ่งปันความรู้ เปิดเผยและแบ่งปันทักษะในการเอาชีวิตรอดและความสามารถของคุณ ชุมชนที่ปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์จะเริ่มจากการสั่งสมความแข็งแกร่งทีละน้อย
หมวดสภาพแวดล้อม
26. ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศ ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เพื่อประยุกต์ใช้กับกางฃรวางแผนเอาตัวรอด
27. การจัดหาน้ำ เรียนรู้การสะสมน้ำ กรองน้ำ กักเก็บน้ำ การเข้าถึงน้ำสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการเอาชีวิตรอด
28. รู้จักพืชที่กินได้ ทำตัวให้คุ้นเคยกับพืชที่กินได้ในพื้นที่เพื่อเตรียมเป็นแหล่งอาหาร
29. รู้จักสัตว์ป่า จำแนกสัตว์ป่าในพื้นที่ และเข้าใจถึงอันตรายและประโยชน์ที่ได้จากการเกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าเหล่านั้น
30. การอนุรักษ์และความยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบเพื่อรับรองโอกาสการอยู่รอดที่ยั่งยืน
หมวดการติดต่อสื่อสาร
31. การใช้งานวิทยุ เรียนรู้การใช้วิทยุเพื่อรับข่าวสารและเชื่อมโยงกับผู้อื่นเมื่อการสื่อสารถูกตัดขาด
32. เรียนรู้รหัสมอร์ส เพื่อการสื่อสารในระยะไกล
33. เทคนิกการส่งสัญญาณ เรียนรู้การส่งสัญญาณเพื่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยไม่ใช้เสียง
34. การถอดรหัส เรียนรู้การถอดรหัสข้อความซึ่งอาจได้ใช้ในช่วงสงคราม
35. จัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย รู้จักพื้นที่และสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับสื่อสารและร่วมงานกับคนอื่น
หมวดแก้ไขความขัดแย้ง
36. ทักษะในการเจรจา เรียนรู้กับเทคนิคการเจรจาที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติและเลี่ยงการเผชิญหน้า
37. การลดความขัดแย้ง เข้าใจความสำคัญของการบรรเทาความขัดแย้งและลดการใช้ความรุนแรง
38. การประนีประนอม เป็นผู้ประนีประนอมมืออาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม
39. การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ฝึกตระหนักในสถานการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าเท่าที่เป็นไปได้
40. สร้างพันธมิตร สร้างกลุ่มมาทางนี้กับบุคคลหรือกลุ่มที่มีอุดมการณ์เดียวกันเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงทางทรัพยากรที่แข็งแกร่ง
หมวดเทคโนโลยีและนวัตกรรม
41. นวัตกรรมการออกแบบที่หลบภัย ค้นหานวัตกรรมการออกแบบพื้นที่หลบภัยเพื่อเพิ่มการปกป้องในวันวิกฤต
42. ควบคุมและใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว เช่น พลังงานลม ไฟฟ้าพลังน้ำ
43. เทคโนโลยีทางการแพทย์ จงคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อเข้าถึงได้ในช่วงเวลาวิกฤต
44. อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ ลงทุนในอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น ไฟฉาย ที่ชาร์จ วิทยุ สำหรับการใช้งานในระยะยาว
45. ยานพาหนะที่ใช้งานได้อิสระ ค้นหายานพาหนะที่สามารถใช้งานได้และการดึงทรัพยากร
หมวดการเกษตรที่ยั่งยืน
46. เรียนรู้การทำสวนแบบไฮโดรโปนิกส์ เพื่อประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวทรัพยากรผลผลิตด้านการเกษตร
47. เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดั้งเดิมไว้เป็นอาหาร เพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน
48. นำหลักการเพอร์มาคัลเจอร์(เกษตรยั่งยืน)มาใช้ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่พึ่งพาตนเองได้
49. ฝึกฝนเทคนิคการทำปุ๋ยหมักเพื่อรีไซเคิลขยะอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน
50. การปศุสัตว์ที่ยั่งยืน เลี้ยงดูปศุสัตว์อย่างยั่งยืนเพื่อแหล่งโปรตีนและสารอาหารอื่นๆอย่างต่อเนื่อง