ภัยแล้ง เกิดจากอะไร? สร้างผลกระทบอย่างไรให้กับสิ่งมีชีวิต
ภัยแล้งเกิดจากการขาดแคลนของน้ำ โดยมีปัจจัยมาจากดินฟ้าอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทำให้ไม่มีน้ำใช้หรือบริโภค
ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนสร้างผลกระทบต่อโลกและทำให้เกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายอย่าง เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว และปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ทั่วโลกที่สร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศ ส่งผลทำให้มวลมนุษยชาติไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค เรามาความรู้จักกับภัยแล้งอย่างลึกซึ้งถึงสาเหตุการเกิด ผลกระทบที่ตามมา และวิธีการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยแล้งขึ้น
สถานการณ์ภัยแล้ง คืออะไร?
สถานการณ์ภัยแล้ง (Drought) คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค การดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ในทางการเกษตรกรรม ในพื้นที่ต่างๆ เป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความแห้งแล้งของแผ่นดินพื้นที่นั้นๆ อาจเนื่องด้วยปัญหาฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูหรือฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยผิดปกติ
สาเหตุการเกิดภัยแล้ง มีอะไรบ้าง?
ภัยแล้ง เกิดจากอะไร? ภัยพิบัติภัยแล้งไม่เหมือนกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ เนื่องจากภัยแล้งสร้างคววามเสียหายให้กับหลายพื้นที่และระบบนิเวศเป็นระยะเวลานานหลายปี ซึ่งสาเหตุการเกิดวิกฤตภัยแล้งสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ ดังนี้
- ภัยแล้งที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรืออุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและระดับน้ำทะเล ทำให้เกิดการแปรปรวนของสภาพอากาศตามมา สร้างการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ทำให้ฤดูฝนมีช่วงที่สั้นขึ้น หรือเกิดฝนตกทิ้งช่วงเป็นเวลานาน รวมถึงการเกิดพายุหมุนเขตร้อน การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำบาดาล และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ เช่น แผ่นดินไหว วาตภัย เป็นต้น
- ภัยแล้งที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การปล่อยมลภาวะพิษขึ้นสู่ชั้นบรรยายกาศ ส่งผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เนื่องจากชั้นโอโซนถูกทำลาย การเพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมและการขยายตัวของแหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย ส่งผลทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อต้นไม้เหลือน้อยจึงไม่มีตัวที่ช่วยดูดซับแก๊สพิษในอากาศอีกด้วย รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรทางน้ำที่สิ้นเปลือง การขาดความรู้ด้านการวางผังทางการเกษตร และการบำบัดน้ำเสีย ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแล้ว หากขาดความรู้พวกนี้ก็ส่งผลให้น้ำมีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการใช้จนเกิดวิฤตภัยแล้งได้ในที่สุด
ผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง
ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมีทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข โดยวิฤตการณ์ภัยแล้งสร้างความเสียหายให้กับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมาย ดังนี้
- เกิดภาวะความขาดแคลนแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เช่น การดำรงชีวิต การเกษตรกรรม อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้น้ำในการช่วยผลิต
- ปัญหาฝุ่นควันบนอากาศที่เพิ่มขึ้น จากการตัดไม้ ทำลายโดยการเผาป่า
- เกิดการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการกัดเซาะของกระแสลม
- ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนกักเก็บน้ำลดลง
- ภัยแล้งส่งผลกระทบต่อสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น ที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารถูกทำลาย มีน้ำให้บริโภคได้น้อยลง เกิดความขาดแคลนหิวโหยเพิ่มมากขึ้น
- ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น การทำประมง การเกษตร ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำได้รับความเสียหายอย่างมาก
สถานการณ์ภัยแล้งสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นวงกว้างแล้วนั้น ยังสร้างปรากฏการณ์เอลนีโญที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำและลม ส่งผลทำให้สภาพภูมิกาศเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน ก่อให้เกิดภาวะความแห้งแล้งในหลากหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรและระบบนิเวศอีกด้วย
แนวทางการรับมือสถานการ์ภัยแล้ง
ในปัจจุบันแนวทางการป้องกันภัยแล้ง และแก้ไขปัญหาภัยแล้งสามารถทำได้หลากหลายวิธี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือวิกฤตการณ์ภัยแล้ง มีดังนี้
- การติดตามข่าวสาร ประชาสัมพันธ์และเฝ้าระวัง เพื่อเตรียมหาแหล่งน้ำสำรองตลอดช่วงฤดูแล้ง
- การวางแผนการจัดสรรใช้น้ำอย่างประหยัดให้เพียงพอตลอดในช่วงฤดูแล้ง
- การทำฝนเทียมเพื่อลดปัญหาภัยแล้ง
- การรักษาและปรับปรุงแก้ไขคุณภาพน้ำให้ดีตลอด รวมถึงการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งที่รับน้ำในภาคส่วนต่างๆ
- การขุดเจาะน้ำบาดาลสูบขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคแทนการใช้น้ำจากประปา
- การทำอ่างกักเก็บน้ำหรือขุดบ่อพักน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรกรรม หรือเป็นการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อนำมาใช้ในช่วงฤดูแล้ง
- การติดตั้งถังกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ เช่น ถังแชมเปญเก็บน้ำ
- การขุดลอกคูคลอง ดูแลแหล่งเก็บน้ำและช่วยเพิ่มปริมาณในการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน
แต่การช่วยเหลือภัยแล้งมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง ทำให้ในบางพื้นที่ไม่สามารถฟื้นฟูสถานการณ์ภัยแล้งให้กลับมาดีขึ้นอย่าง 100% ได้ เช่น สภาพอากาศ พื้นที่ตั้งในบางประเทศไม่เอื้ออำนวยในการให้ความช่วยเหลือภัยแล้ง
สรุปเกี่ยวกับภัยแล้ง
ภัยแล้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก ในหลายประเทศมีการเร่งแก้ไขโดยจัดตั้งหน่วยงานให้ความช่วยเหลือวิกฤตภัยแล้งทั้งในประเทศไทยและหลายพื้นที่ในต่างประเทศ เพื่อเฝ้าดูสถานการณ์และเตรียมหาแนวทางในการรับมือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก และการหาวิธีแก้วิกฤตภัยแล้งอย่างถาวร ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้มีการคิดค้นฝนเทียมที่มาช่วยแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้บ้างแล้ว