คนโสดไทย ทำงานเยอะ สเปคสูง
ข่าวที่บอกถึงสาเหตุคนเป็นโสดในประเทศไทยนี้ได้ถูกเปิดเผยออกมา เมื่อวานนี้ (27 พฤษภาคม 2567) โดยทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 โดยข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) พ.ศ.2566 พบว่าคนไทยครองตัวเป็นโสดมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 23.9 หรือ 1 ใน 5 ของคนไทย และหากพิจารณาเฉพาะช่วงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 15-49 ปีจะมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40.5 สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว และเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2560 (ร้อยละ 35.7) เลยทีเดียว
โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสดของคนไทยพอแจกแจงได้ดังนี้ เป็นเพราะค่านิยมทางสังคมของการเป็นโสดยุคใหมเช่น คนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง จากข้อมูล SES ในปี 2566 พบว่า สัดส่วนคนโสดสูงขึ้นตามระดับรายได้ และกลุ่มกลุ่มผู้หญิงโสดอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ อาชีพการงานดีและไม่มีลูก ซึ่งมีจำนวน 2.8 ล้านคนส่วนใหญ่มีรายได้ดีและจบการศึกษาสูง และกลุ่มคนโสดที่เลือกจะรอคอยความรักเนื่องจากความไม่พร้อม ไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ
ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากคนโสดร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด บางครีั้งก็เป็นเรื่องของปัญหาความต้องการ ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน เป็นผลจากความคาดหวังทางสังคมและทัศนคติต่อการมองหาคู่ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป เรื่องเวลานั้นก็มีส่วนเพราะโอกาสในการพบปะผู้คนโดยใน พ.ศ.2566 คนโสดมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ จึงไม่มีเวลาไปพบปะผู้คนมากนัก
และสุดท้ายที่ภาครัฐก็มีส่วน โดยนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐยังไม่ต่อเนื่องและครอบคลุมความต้องการของคนโสด โดยนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของไทยในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนัก โดยเน้นไปที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม ขณะที่ ในต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างโอกาสในการมีคู่ และในปัจจุบันนี้คนไทยมีแนวโน้มเป็นโสดกันมากขึ้น ส่งผลให้มีเด็กเกิดลดลง จนนำพาไปสู่สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันนั่นเอง