ทองคนโง่ กับ ข้าวตอกพระร่วง เกี่ยวข้องกันอย่างไร
เชื่อว่าทั้งรูปและชื่อนั้นพวกเราส่วนใหญ่คงจะไม่คุ้นกันนัก เพราะนี่มันคือ (Pyrite) หรือผลึกแร่โลหะชนิดที่มีสีเหลืองอร่าม คำว่าไพไรต์มาจากภาษากรีกมีความหมายว่าไฟเพราะมันสามารถจุดไฟได้นั่นเองโดยเอามันไปกระทบกับเหล็กแรงๆก็จะเกิดประกายไฟขึ้น แต่คนส่วนใหญ่มักนิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับหรือไม่ก็นำไปเป็นส่วนผสมในการทำกรดกำมะถัน และเพราะที่มันมีสีเหลืองอร่ามนั่นเองจึงมักจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจผิดอยู่เสมอว่ามันคือทองคำ จนมันได้ฉายาว่าทองคนโง่ (Fool's Gold)
โดยฉายานี้ไม่ได้ได้มาเล่นๆ แต่ได้มาจากเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากเซอร์ มาร์ติน โฟรบิเชอร์ ซึ่งเป็นนักสำรวจชาวอังกฤษได้พบกับหินสีดำที่เป็นประกายบนเกาะ Kodlunarn ซึ่งเป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบัน และเขาเชื่อโดยบริสุทธ์ใจว่าเป็นทองคำ โดยในค.ศ. 1577 นายโฟรบิเชอร์ที่ได้รับเงินสนับสนุนได้เดินทางกลับมาที่แคนาดาและตั้งเหมืองขึ้นเพื่อขุดแร่ชนิดนี้ และในปีต่อมาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษก็ได้พระราชทานเงินแก่นายโฟรบิเชอร์เพื่อสนับสนุนการเดินทางไปที่แคนาดาอีกครั้ง โดยในการเดินทางครั้งนี้นายโฟรบิเชอร์บรรทุกหินซึ่งมีน้ำหนักมากว่า 1400 ตันกลับมาด้วย
แต่เมื่อนำหินไปสกัดเอาทองคำ กลับพบว่าหินเหล่านี้เป็นหินกลุ่มแอมฟิบอไลต์และไพรอกซีไนต์ที่ไม่มีค่าใด้ๆในเวลานั้น ท้ายที่สุดแล้วหินเหล่านั้นได้ถูกนำไปทำเป็นถนน นั่นมันเป็นประวัติที่มาในต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นในบ้านเรากลับมีความเชือว่าไพไรต์เป็นวัตถุมงคลเป็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรมีไว้บูชาเพราะมีอำนาจในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โดยลักษณะเป็นก้อนหินมีลักษณะสี่เหลี่ยมลูกบาศก์คล้ายลูกเต๋า มีสีสนิมเหล็กหรือสีน้ำตาลไหม้ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ โดยจะพบมากบริเวณเขาพระบาทใหญ่ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย และคนส่วนใหญ่เรียกเจ้าไพไรต์นี้ว่า ข้าวตอกพระร่วง นั่นเอง