เมล็ดข้าวในหินพระร่วง แท้จริงคือซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์
เรื่องนี้เป็นข่าวเป็นคราวขึ้นมาหลังจากปรากฏเป็นข่าวในสื่อโซเชียลเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ที่มีการเผยแพร่ภาพก้อนหินประหลาด ลักษณะคล้ายฟอสซิลเมล็ดข้าวสารจำนวนมากที่ฝังตัวอยู่ในหิน เมื่อนำมาผ่าเจียระไนแล้วจะดูคล้ายเมล็ดข้าวสุกที่ฝังตัวในหินสีดำ และหินสีน้ำตาล ทำให้คนที่มีไว้ในครอบครองนั้นนิยมทำเป็นเครื่องประดับของขลัง
โดยคนเหล่านั้นมีความเชื่อว่าหินประหลาดนี้เป็นหินศักดิ์สิทธิ์หายากของจังหวัดสุโขทัย เกิดจากอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วงนั้น โยที่ชาวบ้านเชื่อถ้าใครมีบูชาไว้นั้นสามารถกันคุณไสยมนต์ดำ ทำมาค้าขายได้ดี มีโชคมีลาภและเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย แต่ล่าสุดในเฟซบุ๊กแฟนเพจของกรมทรัพยากรธรณี
โดยกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ก้อนหินที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่นั้น แท้ที่จริงแล้วที่เราเห็นเหมือนเป็นเมล็ดข้าวนั้น มันเป็นซากของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีอายุมากกว่าไดโนเสาร์เสียอีก โดยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภท ฟอแรมมินิเฟอรา ที่สามารถมองเห็นโครงร่างขนาดเล็กภายในหินได้ด้วยตาเปล่า เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว
เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนคือประมาณ 252 ล้านปีก่อน ซึ่งจัดอยู่ในอันดับฟิวซูลินิดา (Order Fusulinida) มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า ฟิวซูลินิด (Fusulinids) ส่วนใหญ่มีขนาดมากกว่า 2 มิลลิเมตร บางชนิดมีความยาวมากถึง 5 เซนติเมตรเลยทีเดียว โดยเจ้าโดย ฟิวซูลินิด นี้มีช่วงเวลาการกระจายตัว และอาศัยในมหาสมุทรโบราณทั่วโลก ตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลางถึงยุคเพอร์เมียนประมาณ 359 ถึง 252 ล้านปีก่อน หากจะระบุชนิดลงไปให้แน่ชัด จำเป็นต้องทำแผ่นหินให้บางลงแล้วนำมาศึกษาโครงสร้างภายในอย่างละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์นั่นเอง