แปลเป็นไทยจารึกที่เขียนไว้ พระพุทธรูปที่พบริมแม่น้ำโขง สปป.ลาว?
ช่วงนี้ได้ขุดพบเรื่อยๆพระพุทธรูปใต้แม่น้ำโขงที่สปป.ลาว ขุดพบทั้งองค์ใหญ่และก็องค์เล็กล่าสุดพบพระพุทธรูปที่มีจารึกอักขระเขียนไว้ตรงฐาน โดยทางเพจเฟสบุคข่าวได้ลงเนื้อหาไว้ดังนี้..
พระพุทธรูปที่พบวันนี้ #มีอายุ520ปี
ดังจารึกที่เขียนไว้ แปลเป็นไทยว่า
เจ้าสินประหย๋า..หล่อแล สกราชได้ 867
(จ.ศ.) = พ.ศ.2048 ตรงกับ
#รัชสมัยพระเมืองแก้ว ของ
ราชวงค์มังราย อาณาจักรล้านนา
เชียงแสนเป็นเมืองลูกหลวง
พบจากการขุดที่ดอนผึ้ง ริมแม่น้ำโขง
ฝั่งต้นผึ้ง สปป.ลาว
18-5-67
พญาเมืองแก้ว กษัตริย์พระองค์ที่ 11
ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา
ทรงครองราชย์ใน พ.ศ. 2038 - 2068
ในรัชสมัยพญาเมืองแก้ว นี้ การพระศาสนา
เจริญรุ่งเรือง คณะสงฆ์ไม่แตกสามัคคี
พญาแก้วเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ทรงอุปถัมภ์บำรุงมากมาย
มีหลักฐานจากศิลาจารึกในการสร้างวัด
และ การบูรณปฏิสังขรณ์ถูกค้นพบมากชิ้น
ทางภาคเหนือ (จารึกอักษรไทยฝักขาม
ประมาณ ๓๔-๓๖หลัก) แสดงให้เห็นว่า
พระองค์ให้การสนับสนุนทำนุบำรุง
การพระศาสนาอย่างยิ่ง และ
พระองค์ทรงลาผนวชระยะหนึ่ง
ดุจพญาติโลกราช(พระเจ้าปู่)
ผลงานพญาเมืองแก้ว การสร้างวัด พระองค์สร้าง เช่น
๑. สร้างวัดบุพพาราม(วัดเม็ง) พ.ศ. ๒๐๓๙
๒. สร้างวัดศรีสุพรรณ พ.ศ. ๒๐๔๓
๓. ฟื้นฟูวัดป่าแดงมหาวิหารให้เจริญรุ่งเรือง
๔. สร้างพระอุโบสถ และหอไตร ที่วัดมหาโพธาราม
๕. อุปถัมภ์สงฆ์ทั้ง ๓ คณะ(หนพื้นเมือง หนสวนดอก และหนป่าแดง)
#จัดพิธีอุปสมบทที่เชียงแสน
ในปี พ.ศ. ๒๐๕๘ ก็นิมนต์สงฆ์
ทั้ง ๓ คณะเข้าประกอบพิธีอุปสมบทกรรม
๖. ทรงให้การสนับสนุน และ ส่งเสริมพระสงฆ์
ผู้ที่มีความแตกฉานภาษาบาลีอย่างสูง
สามารถเขียนคัมภีร์ทางศาสนาด้วย
ภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก
ชื่อเสียงเถรสังฆปราชญ์ล้านนาเป็นที่
รู้จักกันในหมู่ประเทศชาวพุทธ
๗. ปี พ.ศ. ๒๐๖๖ พระเจ้าโพธิสารราช
เจ้ากรุงศรีสตนาคนหุต (๒๐๖๓-๒๐๙๐)
โปรดให้ทูตเชิญราชสาส์นมา
เพื่อขอคณะสงฆ์และพระไตรปิฎก
ไปเผยแผ่ยังกรุงศรีสตนาคนหุต
พญาแก้วจึงส่งพระเทพมงคลเถระ
พร้อมคัมภีร์พระไตรปิฎก ๖ คัมภีร์(มัด)
ไปถวาย พระเจ้าล้านช้าง
๘. โคลงมัทรารบเชียงใหม่
กล่าวสรรเสริญพระญาเมืองแก้วว่า
"พระองค์มีพระทัย
มุ่งทำบุญทำทานเป็นกิจวัตรอันประเสริฐ
ตลอดพระชนม์ชีพ มุ่งแต่รักษาศีลและทาน
โดยแท้ จึงทำให้
ประชาชนอยู่กันอย่างสงบสุข"
ทรงสร้างวัดและเรื่องบวชเป็นกิจ
ประจำทุกปี มีพิธีบวชนาคครั้งใหญ่
คือ พิธีบวชนาคหลวง จำนวน ๑,๒๐๐ รูป
มีพิธีติดต่อกันหลายวัน
ข้อมูลตัดตอนจากบทความ
ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพล และ
คุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัย
ของพระเมืองแก้วในล้านนา
โดย เทพประวิณ จันแรง · 2020
ขอบคุณภาพจากเพจ ขัตติยะบารมี ขัตติยะ
อ้างอิงจาก:https://www.facebook.com/share/p/NQEd3j5jWHyTzhp7/?mibextid=oFDknk