สภาวะโลกร้อน กับคาร์บอน มีเทนและก๊าซเรือนกระจกใต้ไซบีเรีย
แผ่นดินเยือกแข็งถาวร (ดินพรุ) หรือ Permafrost ทางยุโรปและไซบีเรียตะวันตกกำลังเข้าใกล้ จุดวิกฤต เพราะสภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งและแผ่นดินเยือกแข็งละลายมันก็ปลดปล่อยปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งกักเก็บอยู่ใต้น้ำแข็งมาช้านาน) สู่ชั้นบรรยากาศได้มากถึง 39,000 ล้านตัน
เทียบเท่ากับคาร์บอนทั้งทั้งยุโรปสองเท่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าแม้เราพยายามลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเต็มที่แล้วทั่วโลกภายในปี 2040 แต่อากาศทางยุโรปตอนเหนือจะไม่เย็นและแห้งพอจะรักษาแผ่นดินเยือกแข็งถาวรเอาไว้ได้ ก่อนหน้านี้เมื่อน้ำแข็งดินพรุละลาย จุลินทรีย์เริ่มย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ฝังไว้นาน สิ่งนี้สามารถปล่อยคาร์บอน มีเทน และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ สู่บรรยากาศได้
ซึ่งอาจรวมถึงเชื้อโรคต่างๆด้วย เพราะเมื่อปี 2016 รัสเซียเคยต้องต่อสู้กับการระบาดอันลึกลับในพื้นที่ห่างไกลของไซบีเรียที่แคว้นยามัล โดยมีกวางเรนเดียร์ล้มตายประมาณ 2,000 ตัว ประชาชนป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 96 คนและมีเด็กอายุ 12 ปี เสียชีวิต นับเป็นการระบาดครั้งแรกของโรคระบาดในแถบอาร์กติกของยามัลในรอบ 70 ปี