ซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟ คีตกวีอัจฉริยะ นักเปียโน ผู้โด่งดัง แต่ตอนเด็ก ๆเกียจคร้าน ชอบโดดเรียน เอาแต่เล่นสเกต
ซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟ คีตกวีอัจฉริยะ นักเปียโน ผู้โด่งดัง แต่ตอนเด็ก ๆเกียจคร้าน ชอบโดดเรียน เอาแต่เล่นสเกต
เซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟ (รัสเซีย: Сергей Васильевич Рахманинов, Sergej Vasilevič Rakhmaninov; 1 เมษายน 1873 – 28 มีนาคม 1943) เป็นคีตกวี นักเปียโน และวาทยากร ชาวรัสเซีย โด่งดังในฐานะผู้นำแนวดนตรีคลาสสิกแบบโรแมนติกในยุโรป และยังเป็นผู้มีอิทธิพลต่อวงการเปียโนมากที่สุดผู้หนึ่งในศตวรรษที่ 20
เซอร์เกมีเทคนิคการบรรเลงเปียโนอันน่าทึ่ง ดนตรีของเขามีแรงขับมหาศาล จากคำบอกเล่าของสตราวินสกี เพื่อนคีตกวีของเขา รัคมานินอฟมีมือที่ใหญ่มาก สามารถกางมือบนคีย์บอร์ดได้กว้าง 13 ตัวโน้ต (ประมาณ 12 นิ้วฟุต) เขายังสามารถเล่นดนตรีที่ซับซ้อนได้หลังจากที่ได้ยินเพียงครั้งเดียว
ผลงาน
โอปุสที่ 18 เปียโนคอนแชร์โต หมายเลข 2 ในบันไดเสียงซีไมเนอร์ (1901)
คนทั่วไปจะรู้จัก Sergei Rachmaninov จาก Piano Concerto หมายเลข 2-3 ของเขา แต่ความจริงแล้วคีตกวีชาวรัสเซียผู้นี้ได้ใช้ชีวิตของเขาร่วม 70 ปี เพื่อแต่งเพลง ออกมามากมาย ล้วนน่าฟังและทรงคุณค่าทั้งสิ้นถือได้ว่าเป็นคีตกวียุคหลังTchaikovsky ที่เก่งพอจะสู้กับไชคอฟสกี้ได้ สบาย ๆ อย่างน้อย เปียโนคอนแชร์โต้หมายเลขสองของเขาก็ถูกจัดอันดับเหนือกว่าเปียโนคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่งของไชคอฟสกี้ ถึงแม้เขาจะได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากฝ่ายหลังอยู่มากโข
รัคมานินอฟเกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี 1873 เมือง Semyonovo ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย ในครอบครัวที่สืบเชื้อสายมาจากพวกเติร์กที่เป็นผู้รับใช้ซาร์ (กษัตริย์ของรัสเซีย) มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 พ่อเป็นนายทหาร เล่นเปียโนเก่งเหมือนปู่แต่ชอบดื่มเหล้า เล่นการพนันเป็นนิจ แถมยังเผาผลาญเงินของแม่ซึ่งเป็นมรดกที่ได้จากเจ้าคุณตา จู่ ๆ พ่อก็ทิ้งครอบครัวไปเมื่อเขาอายุเพียง 9 ขวบ พี่สาวก็มาด่วนตายจาก เข้าใจว่าคงมีส่วนที่ทำให้ดนตรีของเขาค่อนข้างจะไปในโทนเศร้า ๆ ซึ้ง ๆ
รัคมานินอฟฉายแววเป็นอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก ๆ แต่เกียจคร้าน ชอบโดดเรียน เอาแต่เล่นสเกต หลังจากที่ครอบครัวย้ายไปกรุงมอสโคว์ก็ได้ ไปเรียนดนตรีกับอาจารย์ เจ้าระเบียบหลายท่าน เช่น Sergei Taneyev ผู้เป็นลูกศิษย์ของ Tchaikovsky ,Anton Arensky หรือแม้แต่ Alexander Siloti ลูกพี่ลูกน้องของตัวเอง และที่สำคัญที่สุดคือ Nikolai Zvereff ผู้ได้สอนรัคมานินอฟถึงสี่ปีทำให้เขาพัฒนาฝีมือในการประพันธ์เพลงและเทคนิคการเล่นเปียโนอย่างมหาศาล ลักษณะอันโดดเด่นของรัคมานินอฟอีกประการหนึ่งคือเป็นคนมือใหญ่ ที่สามารถวางบนคีย์บอร์ดของเปียโนอย่างถนัดถนี่
แต่ในปี 1889 ทั้งคู่ก็สิ้นสุดความสัมพันธ์เมื่อ รัคมานินอฟต้องการห้องส่วนตัวในการฝึกซ้อม แต่ท่านอาจารย์ไม่ยอม เขาก็เลยตีจากไปหาซิโลติ ญาติของตน ต่อมาในปี 1892 รัคมานินอฟก็จบจากโรงเรียนสอนดนตรีดนตรีด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยม พร้อมกับงานนิพนธ์ก็คืออุปรากรชื่อว่า Aleko ที่ได้รับความชื่นชมจากไชคอฟสกี้ อีกสี่ปีต่อมาเขาก็ได้เปิดแสดง Symphony หมายเลข 1 ซึ่งยังผลคือความหายนะมาสู่หายนะในชีวิตของเขา ทั้งคนดูและนักวิจารณ์ต่างสับซิมโฟนีชิ้นนี้จนเหละตุ้มเปะ คนที่ควรจะถูกตำหนิคน แรกคือวาทยกรนามว่า Alexander Glazunov ซึ่งไม่ชอบดนตรีชิ้นนี้และควบคุมการซ้อมของนักดนตรีไม่ค่อยดีนัก
บทคนจะซวยมันก็ซวย โบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายออร์โทด็อกซ์ตะวันออกก็ปฏิเสธ ไม่ยอมให้เขาแต่งงานกับ Natalie Satina ลูกพี่ลูกน้องของเขา รัคมานินอฟก็เลยสติแตกเว้นวรรคการเมือง เอ้ย การเขียนดนตรีไปหลายปี จวบจนมีจิตแพทย์คือคุณหมอ Nikolai Dahl มาช่วยรักษา สะกดจิตให้เขามีกำลังใจฮึดกลับมาอีกครั้ง และได้เขียน เปียโนคอนแชร์โต้หมายเลข 2 ในปี 1901 (เขาเขียนหมายเลขหนึ่งในปี 1891) โดยอุทิศให้กับคุณหมอดาห์ลด้วย ปรากฏว่าเป็น Masterpiece ของรัคมานินอฟที่ทุกคนจะต้องจดจำก็ว่าได้ และอีกหนึ่งปีต่อมาเขาก็ได้รับอนุญาติให้แต่งงานกับนาตาลี และทั้งคู่ก็ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันไปจนตายจากกัน
ในปี 1904 รัคมานินอฟ ก็ได้รับตำแหน่งเป็นวาทยกรของโรงละคร Bolshoi อันโด่ง ดังของมอสโคว์ แต่ก็ต้องลาออกด้วยเหตุผลทางการเมืองในอีกสองปีต่อมา เขาอพยพไปอยู่ยุโรปตะวันตกเพื่อให้เหตุการณ์ทางการเมืองในรัสเซียคลี่คลายลง แต่แล้วเหตุการณ์กลับเลวร้ายขึ้นเมื่อมีการปฏิวัติโค่นล้มพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง ในปี 1917
รัคมานินอฟต้องลี้ภัยไปอยู่ที่อเมริกาเป็นการถาวร ในปี 1918 สาเหตุที่เขาไปอยู่ นิวยอร์ก เพราะ ความสำเร็จจากการไปเปิดการแสดงเปียโนที่นั่นในปี 1909 และแต่ง Piano Concerto หมายเลข 3 (ที่เป็นเพลงหลักในหนังเรื่อง Shine)ไปพร้อมๆ กัน แต่ปรากฏว่าในรัสเซียกลับห้ามแสดงงานของเขาอยู่นานมาก อาจเพราะรัคมานินอฟประกาศไม่เห็นด้วยกับลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน
เมื่อไปอยู่อเมริกา รัคมานินอฟแต่งเพลงได้น้อยลง เพราะว่าเขาต้องเปิดแสดงมากขึ้นในการหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว แถมยังเป็นโรคคิดถึงบ้านด้วย เขายังไปอัดแผ่นเสียงให้กับบริษัทเอดิสันและบริษัทอื่น ๆ และบริษัทเหล่านี้เองที่ช่วยโฆษณาให้เขากลายเป็นนักเปียโนชื่อดัง เรื่องที่น่าจดจำก็คือเมื่อเขาได้อพยพมาอยู่ที่อเมริกา ก็ได้เปลี่ยนตัวสะกดชื่อของตัวเองจาก Rachmaninov เป็น Rachmanioff เข้าใจว่าคงให้ดูเหมือนอเมริกันมากขึ้น เขายังอุทานเมื่อได้ยินเสียงเปียโนของตัวเองว่า "สุภาพบุรษทั้งหลาย ข้าพเจ้า Sergei Rachmaninoff เพิ่งได้ยินเสียงตัวเองเล่นก็คราวนี้แหละ
รัคมานินอฟล้มป่วยในช่วงออกแสดงคอนเสิร์ตช่วฤดูหนาว ปี 1942 เพราะว่าตัวเองเป็นนักสูบตัวยงก็เลยป่วยเป็นมะเร็งที่ปอด ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1943 ก็แสดงเดี่ยวเปียโนเป็นครั้งสุดท้าย
แต่กลับเป็นเพลงของโชแปงคือ Piano sonata หมายเลข 2 ซึ่งมีกระบวน Funeral March หรือเพลงที่ใช้ในการแห่ศพอยู่ด้วย เหมือนเป็นการสั่งลา รัคมานินอฟเสียชีวิต ในวันที่ 28 มีนาคมปี 1943 ที่ Beverly Hills California ศพถูกฝังในสุสาน Kensico ใน New York เซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟSergei Rachmaninov
อ้างอิงจาก: YouTube,th.m.wikipedia.org/wiki/,musical-manman.blogspot