วิกฤต"ป่าบุ่งป่าทาม"กับบึงน้ำที่หายไป
อากาศร้อนแล้งเช่นนี้หลาย ๆ คนคงอยากให้ป่าที่หายไปกลับคืนมาสร้างร่มเงาให้เราอีกครั้ง อย่าง"ป่าบุ่งป่าทาม"เองก็สูญเสียพื้นที่จาก 4 ล้านไร่(พ.ศ.2549-2552)เหลือเพียง 150,000 ไร่(พ.ศ.2557-2561)เท่านั้น
ภาพจาก: https://kksnk.blogspot.com/2019/04/blog-post_25.html
"ป่าบุ่งป่าทาม" หรือ "ป่าบึงน้ำจืด"(Freshwater Swamp Forest) หรือ "ป่าริมบึง" กระจายอยู่ทั่วภาคอีสาน ได้ชื่อว่าเป็น "มดลูกของแม่น้ำ" เนื่องจากปลาจากแม่น้ำโขงมักมาวางไข่ในฤดูน้ำหลาก พื้นที่ที่เป็นแอ่งกระทะมีน้ำขังตลอดปีเรียกว่า "บุ่ง" ส่วนพื้นที่ดอนที่มีน้ำขังเฉพาะฤดูน้ำหลากและมีต้นไม้ปกคลุมเรียกว่า "ทาม"
ป่าชนิดนี้มักเกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำสาขาหรือห้วยที่น้ำท่วมเป็นประจำ เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ป่าบุ่งป่าทามมีความหลากหลายทางชีวภาพและมีระบบนิเวศอันทรงคุณค่า ที่สำคัญอีกอย่างคือช่วยกรองสารพิษจากเกษตรกรรมไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำช่วยให้ชายฝั่งแม่น้ำไม่ถูกกัดเซาะ
ยามแล้งป่าบุ่งป่าทามยังช่วยกักเก็บน้ำให้ผู้คนมีน้ำดื่มน้ำใช้ซึ่งอาจช่วยต่อชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยรอบ ๆ ได้เลยทีเดียว
ภาพจาก:
https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/2023-131
ลักษณะที่คนทั่วไปเห็นป่าบุ่งป่าทามอาจเป็นเพียงพื้นที่รกร้างที่มีต้นไม้ขึ้นไปทั่วซ้ำยังถูกน้ำท่วมเป็นประจำซึ่งบางทีพื้นที่เหล่านั้นอาจเป็น"ป่าบุ่งป่าทาม" ก็ได้