โออิรัน โสเภณีแบบญี่ปุ่น
โออิรัน โสเภณีแบบญี่ปุ่น
คนในรูปนี้ คือโออิรัน และ ทายู (สังเกตุง่ายๆคือ โออิรัน และ ทายู จะผูกโอบิไว้ข้างหน้า) ทายูคือ (เด็กฝึกหัดเพื่อเตรียมตัวเป็นนางคณิกา)
วัฒนธรรมญี่ปุ่น บางคนอาจจะแยกโออิรันกับเกอิชาไม่ค่อยออก เพราะเข้าใจว่าทั้งสองอาชีพขายบริการทางเพศเหมือนกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่กล่าวมา
“โสเภณี” เป็นวัฒนธรรมที่เราสามารถสืบค้นเจอได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะประเทศที่มีวัฒนธรรมโบราณเก่าแก่แค่ไหนหญิงงามเมืองก็ถือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในประเทศเหล่านั้นอย่างที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ในสมัยโบราณ อินเดีย จีน หรือแม้กระทั่งไทยเอง อาชีพ “โสเภณี” ถือเป็นสิ่งปกติในสังคม มีการเปิดเป็นหอนางโลม หรือที่คนไทยเราเรียกว่า “นางโคมเขียว” และไทยเราเองก็เคยมีสถานที่สำหรับให้บริการทางเพศมาก่อนเช่นกัน
ส่วนในวัฒนธรรมญี่ปุ่น บางคนอาจจะแยกโออิรันกับเกอิชาไม่ค่อยออก เพราะเข้าใจว่าทั้งสองอาชีพขายบริการทางเพศเหมือนกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่กล่าวมา
เกอิชา ถือเป็นอาชีพที่ให้ความสุขลูกค้าด้วยการร่ายรำ เอาอกเอาใจ ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงจะคล้ายกับพริตตี้ที่รับงานเอ็นไม่มีการขายตัวให้กับลูกค้า ต่างกันที่อาชีพเกอิชาจะต้องมีความรู้ความสามารถหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการดนตรี ขับร้อง ระบำรำฟ้อน ตามแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิม
ส่วนโออิรัน ต้องมีความสามารถเช่นเดียวกับเกอิชา แต่สิ่งที่ต้องมีมากกว่านั้น คือความสามารถที่จะให้ความสุขทางกามารมณ์แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ โออิรันไม่ใช่โสเภณีทั่วไป นางมีสิทธิ์ที่จะเลือกที่รับหรือไม่รับลูกค้า และนางพร้อมจะฆ่าตัวตายด้วยมีดสั้นที่พกติดตัวทันทีที่โดนขืนใจหากนางไม่ยินยอม
หากดูจากการแต่งกายแล้ว โออิรันจะมีจุดสังเกตง่ายๆ คือเครื่องแต่งกายที่อลังการ การทำทรงผมที่วิจิตรพิศดารและปักปิ่นกับเครื่องประดับผมมากมาย โอบิที่ควรผูกไว้ข้างหลังก็จะถูกนำมาผูกที่ด้านหน้าแทน ว่ากันว่าเพื่อเอื้อต่ออาชีพของนางที่ลูกค้าจะสามารถปลดผ้านางได้ทันที รวมถึงการไม่ใส่ถุงเท้าแม้ว่าจะเป็นหน้าหนาว เพื่อโชว์เท้าสีขาวอันเย้ายวนให้ผู้ชายเกิดความพึงใจและมาขอซื้อบริการกับนาง
จุดเด่นอีกหนึ่งอย่างก็คือเกี๊ยะทรงสูงที่สวมใส่ และท่าเดินที่ต้องเดินเป็นเลขแปดแบบคันจิ (八)จนมีคำกล่าวว่าท่าเดินของนางสามารถสยบใจชายได้ทั้งแปดทิศ เอาใจชายเก่ง ใครเห็นใครหลง ซึ่งในความเป็นจริงเหตุผลของการเดินในลักษณะนี้น่าจะช่วยในเรื่องการทรงตัวในขนาดสวมใส่เกี๊ยะทรงสูงเสียมากกว่า
ที่สำคัญที่สุด เกอิชากับโออิรันจะแยกแหล่งที่อยู่กันชัดเจน ไม่ปะปนกัน เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจึงควรทำความเข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะเกอิชาที่มักจะถูกมองว่าขายตัว ทั้งที่แท้จริงนางขายแค่ศิลปะ แต่การขายตัวของโออิรันก็ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะดูถูก เพราะทุกประเทศต่างก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป แตกต่างแต่ไม่แตกแยกคำนี้ จึงยังคงเป็นสิ่งที่เราทุกคนพึงจดจำและนำมาปฏิบัติในทุกบริบทของสังคม
ปล.ภาพของโออิรันสมัยก่อน
สรุปง่ายๆก็คือ
เกอิชา ไม่ใช่ โสเภณี แต่ โออิรัน คือ โสเภณี
ขอขอบคุณบทความโดย : หรูอี้ www.marumura.co
อ้างอิงจาก: ภาพและเรื่องราวต่างๆ, อินเทอร์เน็ต