หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

(Tick) ปรสิตภายนอกที่สำคัญของสัตว์

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์

เห็บ (Tick)
เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญของสัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า และสัตว์เลี้ยงในบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ หากมีเห็บเป็นจำนวนมากจะดูดกินเลือดจนทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือติดเชื้อในกระแสเลือด หรือทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น พาหะนำโรคไข้เห็บโค (Babesiosis) ซึ่งเกิดจากเชื้อปรสิตที่มีเห็บเป็นพาหะเข้าทำลายเม็ดเลือดแดง ซึ่งเชื้ออาจรุนแรงจนทำให้โคเสียชีวิตได้

เห็บมีวงจรชีวิต 4 ระยะ ระยะแรกคือไข่ (Eggs) ตัวเมียจะวางไข่เพียงครั้งเดียวซึ่งจะใช้เวลาในการวางไข่ประมาณ 10 วัน ไข่ทั้งหมดจะรวมอยู่กันเป็นกอง ๆ ประมาณ 2,000 ถึง 4,000 ฟอง จากนั้นตัวอ่อน (Larva) จะมีการออกจากตัวสัตว์เลี้ยง 3 ครั้งเพื่อลอกคราบ โดยสามารถอาศัยอยู่ตามพื้นบ้าน ผนัง มุมกรงเลี้ยงสัตว์หรือโรงเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนสนามหญ้าที่สัตว์เดินผ่านหรืออาศัย จากนั้นเห็บตัวเมียจะลงมาวางไข่นอกตัวสัตว์ ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ในการฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ซึ่งตัวอ่อนนี้จะมีเพียง 6 ขาและเคลื่อนที่ได้ไวมาก

ระยะนี้จะขึ้นไปกินเลือดบนตัวสัตว์อย่างน้อย 2 - 3 วัน เมื่ออิ่มแล้วจะหล่นจากตัวสัตว์ไปหาที่ลอกคราบกลายเป็นตัวกลางวัย (Nymph) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวอ่อนอย่างเห็นได้ชัดและมี 8 ขา ตัวกลางวัยนี้จะกินเลือดบนตัวสัตว์อีกครั้ง และจะหล่นลงสู่พื้นเมื่อกินอิ่มแล้วเช่นกัน จากนั้นจะลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัย (Adult) และขึ้นไปบนตัวสัตว์อีกเพื่อดูดเลือดและผสมพันธุ์ต่อไป วงจรชีวิตของเห็บแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาที่สมบูรณ์แตกต่างกันเช่น ในสุนัขจะใช้เวลาประมาณ 45-50 วัน เป็นต้น แล้วแต่อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ เห็บสามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมากถ้าหากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ดูแลสัตว์ที่เลี้ยงอยู่สม่ำเสมอ ปล่อยให้มีเห็บทั้งบนตัวสัตว์ กรงเลี้ยง โรงเลี้ยง หรือภายในบ้าน อาจทำให้พบเห็บในปริมาณมากและอาจส่งผลร้ายต่อสัตว์อาจถึงตายได้ หรือสัตว์อาจจะมีอาการเสียเลือดมากทำให้ผอม อ่อนเพลียหรือเกิดโรคร้ายแรง อันมีสาเหตุมาจากเห็บ

นอกจากนี้เห็บยังต้องการเนื้อเยื่อของเหลวและเลือดในการเจริญเติบโต สามารถเกาะและกินอาหารบริเวณลำตัวของโฮสต์ (Host) บางชนิดชอบเกาะบริเวณใต้ลำคอ ไหล่ และบริเวณระหว่างต้นขาหลังด้านใน ตัวเมียของเห็บดูดกินเลือดของโฮสต์นานประมาณ 7 หรือ 12 วัน ส่วนตัวผู้ของเห็บจะดูดกินเลือดโฮสต์ทีละน้อยใช้เวลาหลายวัน เห็บจะพบมากบริเวณบนลำตัว แผงคอ รักแร้ ขาหนีบ ท้อง และอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ เห็บตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบางครั้งพบในหูของสัตว์ ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้นจะพบเห็บระบาดตลอดปี อีกทั้งพบว่าเห็บยังเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อในกระแสเลือดในโคนมที่เป็นชนิดเฉียบพลันทำให้ตายได้ในทันที ชนิดรุนแรงจะทำให้สูญเสียผลผลิตเช่น ปริมาณน้ำนมลดในโคนม หรือปริมาณน้ำหนักเนื้อลดลงในโคเนื้อ และสร้างความรำคาญ ทำให้เกิดอาการแพ้ (allergy) ในเห็บบางชนิดยังสามารถเกาะดูดเลือดคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับสัตว์ที่เลี้ยงได้เช่นกัน

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: earnearn2545
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากคลังฟันธง! "ดิไอคอน" เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ต้องครบ 3 เงื่อนไข ร่วมวง DSI สรุปสำนวนคดี"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา
ประโยชน์ของชาเขียวโครงการช่วยเหลือให้เกิดสภาพคล่องของเศรษฐกิจรู้หรือไม่? แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักใช้ข้อมูลอะไรหลอกลวงคุณแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรปอายุ 4,000 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่