หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พบปูยักษ์บุกหลังบ้าน❗นำ้หนักมากกว่า 4 กก.

เนื้อหาโดย ote1986

ปูที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้มีมากมายหลายชนิด และท่านทราบกันหรือไม่ว่ามีปูอยู่หนึ่งสายพันธุ์ที่มีขนาดตัว ถึง 40 เซ็นติเมตร หนักได้ถึง 4 กิโลกรัมเลยที่เดียว วันนี้เีาจะพาท่านไปรู้จักกับปูสายพันธุ์นี้ปันครับ

ปูมะพร้าว (อังกฤษ: Coconut crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Birgus latro) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (เยอรมัน: Palmendieb) ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยู

ลักษณะทางกายภาพ

    ขนาดตัวของปูมะพร้าวนั้นหลากหลาย ตัวเต็มวัยของปูมะพร้าวสามารถเจริญเติบโตจนมีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม และความยาวของลำตัว 40 เซนติเมตร แต่ถ้านับรวมช่วงขาแล้วจะยาวถึง 1 เมตรได้ทีเดียว โดยทั่วไปตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีรายงานว่ามีการพบปูมะพร้าวที่หนักถึง 17 กิโลกรัม และมีความยาวของลำตัว 1 เมตร ซึ่งเป็นที่เชื่อว่านี่คือขนาดตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ของสัตว์ขาปล้องที่อยู่บนบก ปูมะพร้าวมีอายุประมาณ 30-60 ปี ลำตัวของปูมะพร้าวก็เหมือนกับสัตว์ทศบาททั่วไป คือประกอบด้วยส่วนหัวอก (เซฟาโลโทแรกซ์) และส่วนท้อง ที่มี 10 ขา ขาคู่หน้าสุดของปูมะพร้าวเป็นก้ามขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเจาะลูกมะพร้าว และสามารถยกน้ำหนักได้ถึง 29 กิโลกรัม ขาอีกสามคู่ถัดมามีลักษณะคล้ายแหนบ ใช้สำหรับเดินและปีนป่าย (ปูมะพร้าวสามารถใช้ขาทั้งสามคู่นี้ไต่ต้นมะพร้าวได้สูงถึง 6 เมตร) ส่วนขาคู่สุดท้ายนั้นเล็กมาก ใช้สำหรับทำความสะอาดอวัยวะหายใจ ขาคู่นี้มักจะอยู่ในกระดองตรงช่องที่บรรจุอวัยวะหายใจ แม้ปูมะพร้าวจะวิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน แต่มีเพียงตัวอ่อนของปูมะพร้าวเท่านั้นที่ต้องการเปลือกหอยมาปกป้องส่วนท้อง ตัวเต็มวัยของปูมะพร้าวสามารถสร้างส่วนท้องที่แข็งแรงขึ้นได้ด้วยไคติน และชอล์ค เปลือกแข็งที่ส่วนท้องนี้ช่วยป้องกันอันตรายและลดการเสียน้ำบนพื้นดิน ปูมะพร้าวจะลอกคราบเปลือกแข็งนี้ทุก ๆ ช่วงเวลาหนึ่ง (ประมาณ 1 ปี) การลอกคราบครั้งหนึ่ง

ใช้เวลาประมาณ 30 วัน โดยช่วงที่ลอกคราบเสร็จใหม่ ๆ ส่วนท้องของปูมะพร้าวจะอ่อนแอ และต้องการการป้องกัน ปูมะพร้าวมีอวัยวะพิเศษสำหรับหายใจ เรียกว่า branchiostegal lung อวัยวะนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นครึ่งเหงือกครึ่งปอด ตั้งอยู่ด้านหลังของส่วนหัวอก มีเนื้อเยื่อคล้ายเหงือก แต่เนื้อเยื่อนี้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซจากในอากาศ ไม่ใช่ในน้ำ ปูมะพร้าวมีเหงือกอยู่เหมือนกัน แต่เหงือกนี้ก็ไม่สามารถรับออกซิเจนได้มากนัก จึงไม่มีประโยชน์อะไร เหงือกนี้น่าจะเป็นสิ่งหลงเหลือจากวิวัฒนาการมากกว่า ปูมะพร้าวจึงว่ายน้ำไม่เป็น และอาจจะจมน้ำตายได้ถ้าอยู่ในน้ำนาน ๆ

อาหารการกิน

    อาหารหลักของปูมะพร้าวคือผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าว อย่างไรก็ดี อะไรอย่างอื่นที่เป็นชีวภาพ ปูมะพร้าวสามารถกินได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ใบไม้ ผลไม้เน่า ไข่เต่า ซากสัตว์ และเปลือกของสัตว์อื่น ๆ ปูมะพร้าวอาจกินสัตว์อื่นเป็น ๆ ที่เคลื่อนไหวช้า เช่น เต่าทะเลที่เพิ่งฟักออกจากไข่ เป็นต้น บ่อยครั้ง ปูมะพร้าวชอบที่จะขโมยอาหารจากปูมะพร้าวตัวอื่น และเอาอาหารลงไปกินในรูของมัน ปูมะพร้าวชอบปีนต้นไม้เพื่อหาอาหาร นอกจากนั้นยังเพื่อหลบร้อนและหลีกภัย บางคนเชื่อว่าปูมะพร้าวตัดลูกมะพร้าวจากต้นแล้วลงมากินที่พื้น แต่นักชีววิทยาชาวเยอรมัน โฮลเกอร์ รัมพ์ฟ บอกว่าปูมะพร้าวไม่ได้ฉลาดพอที่จะคิดแผนการได้ถึงขนาดนั้น มันเพียงบังเอิญทำลูกมะพร้าวหล่นตอนที่จะกินลูกมะพร้าวบนต้นเท่านั้นเอง

      ในปี พ.ศ. 2542 เรือสำรวจแหล่งปลาทูน่าในทะเลสากลของกรมประมง เมื่อเดินทางไปสำรวจมหาสมุทรอินเดียแล้ว ได้นำปูมะพร้าวจำนวน 23 ตัว จากเกาะแอสซัมชัน ประเทศเซเชลส์ กลับมาประเทศไทยด้วย โดยเป็นตัวผู้ 4 ตัว และตัวเมีย 19 ตัว ซึ่งตอนนี้เลี้ยงไว้ที่สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต ในปลายปี พ.ศ. 2557 มีรายงานการพบปูมะพร้าวคู่แม่ลูก 3 ตัวด้วยกัน ที่เกาะสี่ ภายในหมู่เกาะสิมิลัน นับเป็นการกลับมาอีกครั้งของปูมะพร้าวในรอบนับ 10 ปี บ่งบอกว่ามีการแพร่ขยายพันธุ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการอนุรักษ์ธรรมชาติ

การกระจายตัว

     ปูมะพร้าวสามารถพบได้ที่หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียและหมู่เกาะทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะคริสต์มาสต์ในมหาสมุทรอินเดียนับได้ว่าเป็นแหล่งอาศัยของปูมะพร้าวที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด หมู่เกาะคุกในมหาสมุทรแปซิฟิกก็นับว่ามีปูมะพร้าวจำนวนมากไม่แพ้กัน นอกจากนี้ปูมะพร้าวยังพบได้ที่อื่นอีก เช่น ในเซเชลส์ เป็นต้น การกระจายตัวของปูมะพร้าว

สามารถแสดงคร่าว ๆ ได้ดังรูปด้านขวามือ ลักษณะสีของปูมะพร้าวจะต่างกันไปตามแต่ละเกาะ ตั้งแต่สีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีน้ำตาล เนื่องจากปูมะพร้าวว่ายน้ำได้เฉพาะช่วงที่เป็นตัวอ่อนเท่านั้น และช่วงที่ตัวอ่อนของปูมะพร้าวมีระยะเวลาเพียง 28 วัน จึงสันนิษฐานว่าการกระจายของปูมะพร้าวจากเกาะหนึ่งไปสู่อีกเกาะหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ น่าจะเป็นด้วยวิธีเกาะขอนไม้ หรือสิ่งอื่นที่ลอยได้ มากกว่าจะว่ายน้ำไป การกระจายตัวในรูปพบว่ามีช่องว่างที่ช่วงเกาะบอร์เนียว และปาปัวนิวกินี คาดว่าที่ไม่มีปูมะพร้าวอยู่บนเกาะเหล่านี้เป็นเพราะปูมะพร้าวถูกมนุษย์จับกินหมดแล้วนั่นเอ

เนื้อหาโดย: ote1986
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ote1986's profile


โพสท์โดย: ote1986
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: phenpiram, ote1986
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
😱 คลิปสยอง! หนุ่มจีนถือแบตฯ ลิเทียมเข้าลิฟต์ ระเบิดตูม! ย่างสดคาที่ 🔥ข่าวเศร้าสะเทือนวงการ! "เบนซ์ ธนธิป" เสียชีวิตแล้วสื่อฮาแตก หลัง "ลิลลี่" เผยเหตุเลิกราอดีตประธานสภาฯอัตราเงินเดือนใหม่ ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ข่าวเศร้าสะเทือนวงการ! "เบนซ์ ธนธิป" เสียชีวิตแล้วหนังที่ทำรายได้น้อยที่สุดตลอดกาล เท่าที่เคยมีบันทึกไว้ในโลกแหวนเพชรที่มีราคาแพงที่สุด เท่าที่เคยถูกซื้อขายจริงบนโลก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สิงคโปร์ล้ำไปอีกขั้น โดยการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์ QR Code ที่กินได้ใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่สิ่งที่ได้คือคุกที่เล็กที่สุดในโลก แต่แข็งแรงอยู่ถึงปัจจุบันนวลฉวี เปิดแฟ้มคดีสะเทือนขวัญ ฆาตกรรมหึงหวงในอดีตการตอบสนองของพืชมีอะไรบ้าง พืชก็มีชีวิตและความรู้สึกนะรู้ไหม?
ตั้งกระทู้ใหม่