บัวดอย หรือ ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า เอาเหง้าไปดองเหล้ารับประทานรักษาอาการปวดเมื่อยแก่ผู้เฒ่า แข็งแรงและลืมไม้เท้าไปจึงเป็นที่มาของชื่อ
บัวดอย หรือ ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า เอาเหง้าไปดองเหล้ารับประทานรักษาอาการปวดเมื่อยแก่ผู้เฒ่า แข็งแรงและลืมไม้เท้าไปจึงเป็นที่มาของชื่อ
บัวดอย หรือ ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า เอาเหง้าไปดองเหล้ารับประทานรักษาอาการปวดเมื่อยแก่ผู้เฒ่า แข็งแรงและลืมไม้เท้าไปจึงเป็นที่มาของชื่อ
บัวดอยผู้เฒ่าผู้แก่
เหง้าไปดองเหล้ารับประทาน เขาบอกว่าเมื่อดื่มยาดองเหล้า เหง้าบัวดอยจะทำให้หายปวดเมื่อยกระชุ่มกระชวย
คนแก่ชรากลับมามีเรี่ยวแรงอีกครั้งและมีที่กล่าวอ้างว่า
มีสรรพคุณกระตุ้นนกเขาผู้เฒ่าผู้แก่ที่
หัวตกหัวห้อย ให้กลับมาโกงคอขันผงกหัวชูชันอีกครั้ง และ ทำให้หายปวดเมื่อยร่างกาย จึงเป็นที่มาของชื่อต้นไม้ต้นนี้ชื่อว่าบัวดอย หรืออีกชื่อหนึ่งที่ได้รับฉายาว่า ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า
จะอย่างไรก็ตามนะครับการกินสมุนไพรต่างๆก็ต้องได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้วินิจฉัยหรือตามแพทย์ หรือหมอยาสมุนไพร สั่งแนะนำจะดีกว่านะครับจะไปกินเองแบบเอามาดองเหล้า มั่วๆดีไม่ดีมันจะติดเหล้าเอาได้นะครับเพราะฉะนั้นต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ที่จะกินด้วยนะครับ
บัวดอย หรือ ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aspidistra elatior) เป็นพืชล้มลุกวงศ์ Convallariaceae พบในป่าดิบเขาที่ขึ้นปกคลุมและการกระจายอยู่ตามภูเขาสูงที่มีความสูงจากระดับทะเล ประมาณ 1,400- 2,000 เมตร
ในประเทศไทย สำรวจพบต้นบัวดอย ได้แก่ ดอยอ่างขาง (ไม่รวมพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศ) ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และดอยปุย (อุทยานแห่งชาติ น้ำตกแม่สุรินทร์) ปางตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลักษณะ ลำตัน มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า เห็นข้อและปล้องได้ชัดเจน พร้อมกาบหุ้มลำต้น แตกรากตามข้อ
ใบ ออกเป็นกระจุกบริเวณโคนต้น รูปใบรี ก้านใบยาว 30-50 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว โคนก้านใบมีกาบหุ้ม ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบสอบ ก้านใบเป็นร่องด้านบน ขนาดแผ่นใบ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบมีหนามเล็กน้อย
ดอก เป็นดอกเดี่ยวแตกตามข้อของเหง้า ก้านดอกยาว 2-8 ซม. ก้านชูดอกอยู่แนวเดียวกับผิวดิน ก้านดอกมีกาบรองรับ ก้านดอกมีข้อ 2-3 ข้อ กลีบเลี้ยง 6-8 กลีบ ดอกตูม รูปกลมแป้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. ดอกบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. กลีบดอก 8 กลีบเรียงจรดกัน
โคนกลีบเชื่อมติดกันคล้ายหม้อ (ฐานกว้าง ปากแคบผายออก) ผนังด้านนอกกลีบดอกสีขาว หรือ ขาวปนชมพู ผนังกลีบดอกเรียบ ปลายกลีบโค้ง ผนังด้านในกลีบดอก นูนเป็นสันยาวตามยาวของกลีบ ไม่เรียบ สีม่วงแดงไปจนถึงม่วงเข้ม ปลายเกสรตัวเมียแบบ ก้นปิด เกสรตัวผู้มี 8 อันไม่มีก้านชู อับเรณูแตกเป็นร่องยาว และอับเรณูหันเข้าใจกลางดอก รังไข่ฝังตัวอยู่ที่ฐานของก้านชูปลายเกสรตัวเมีย
ผล รูปกลมมีหลายเมล็ด
สรรพคุณ
นำเอาเหง้าไปดองเหล้ารับประทาน ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก่ผู้เฒ่า ผู้แก่จนมีสุขภาพแข็งแรงและลืมไม้เท้าไปจึงเป็นที่มาของชื่อ
เป็นสมุนไพรที่น่าสนใจนะครับถ้าวงการการแพทย์สมุนไพรเอาไปพัฒนาวิจัยเกี่ยวกับตัวยาในสมุนไพรชนิดนี้ที่ชื่อว่าบัวดอยรับรองได้ว่าจะสามารถค้นพบตัวยารักษาโรคใหม่ๆได้อีกแน่นอน
อ้างอิงจาก:
th.m.wikipedia.org/wiki/,บัวดอยพืชที่พบถิ่นการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติใหม่ในเมืองไทย