เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
เขื่อนสิริกิติ์ หรือที่เรียกกันในชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา จัดเป็นเขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
อยู่ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ กั้นแม่น้ำน่าน ที่ไหลลงมาจากอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
เดิมอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงาน
และมอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลต่อไป
ทั้งนี้พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย
การก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนตัวเขื่อนและองค์ประกอบ
กับส่วนโรงไฟฟ้าและองค์ประกอบ การก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและองค์ประกอบดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 ชุด กำลังผลิตชุดละ 125,000 กิโลวัตต์
รวมกำลังผลิต 375,000 กิโลวัตต์ โรงไฟฟ้าและองค์ประกอบได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2517
* ปัจจุบัน มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 4 ชุด กำลังผลิตชุดละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนสิริกิติ์
และโรงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520 หลังจากงานก่อสร้างตัวเขื่อน
และโรงไฟฟ้า เสร็จเรียบร้อยแล้วกรมชลประทาน ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
รับผิดชอบในการควบคุมดูแลรักษา
ชนิด ดินถมแกนดินเหนียว
ความสูง 113.60 เมตร
ความยาวที่สันเขื่อน 800.00 เมตร
ความกว้างที่สันเขื่อน 12.00 เมตร
ความกว้างที่ฐานเขื่อน 630.00 เมตร
ระดับที่สันเขื่อน 169.00 เมตร รทก.
อยากจะแนะนำให้ทุกๆคน ลองไปเที่ยวไปศุดบรรยากาศอันสดชื่น
ไปดูความใหญ่ของเขื่อนแห่งนี้ ไปดูแบบสุดลูกหูลูกตาเลย