เจ้าฝุ่น PM2.5 มันร้ายจัด
เดี๋ยวนี้ทุกๆ หน้าหนาวนอกจากว่าเราจะต้องระมัดระวังเชื้อโรค พวกเชื้อไข้หวัด ไวรัสต่างๆ แล้ว
ทุกหน้าหนาวเนี่ยเราต้องระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือฝุ่นเวลาที่เราออกนอกบ้านนะ ยิ่งสมัยนี้หน้าหนาว ทีไรเนี่ยค่าฝุ่นเนี่ยสูงขึ้นทุกทีทุกคนเคยสงสัยไหมครับว่าเวลาเราออกนอกบ้านแล้วสูดอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษต่างๆเนี่ย เจ้าฝุ่นเหล่านี้มันไปไหนอะในร่างกายของเรา แล้วร่างกายเรา มีความสามารถในการจะกำจัดฝุ่นเหล่านี้ได้ไหม คำว่าฝุ่นที่เรามักจะคุ้นเคยตอนนี้ทุกคนรู้จักดีคือ PM2.5 มันก็ย่อมาจาก Particulate Matter เป็นคำรวมๆที่หมายถึงมลพิษ แล้วตัวเลขที่ตามหลังมา เป็นเพียงแค่สิ่งที่บอกขนาดของมลพิษที่รวมเป็นฝุ่นมันหมายความว่า มลพิษที่รวมไปด้วย สสารต่างๆไม่ว่าจะเป็นฝุ่นของแข็ง ของเหลว ไอน้ำ ไอระเหยหรือแม้กระทั่ง Metal Ion พวกโลหะหนักที่อยู่ในอากาศแต่ขนาดอยู่ระหว่าง 2.5 แต่ไม่เกิน 10 ไมครอน
เพราะฉะนั้น PM2.5 ก็คือสิ่งเดียวกันแต่ขนาดเล็กกว่าก็คือขนาดจะไม่เกินกว่า 2.5 ไมครอน แต่มันจะมีแบบที่เล็กกว่านั้นอีก ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่อหลัง PM นะครับ รวมๆ มันคือสิ่งสกปรก ที่อยู่ในอากาศนั่นแหละนะแล้วเจ้า PM2.5 ไมครอน มันเล็กแค่ไหนเหรอ ผมมีตัวเลขเปรียบเทียบ ให้ดูนะครับอย่างเส้นผมของคนเราเนี่ยครับ ขนาดมันอยู่ที่ประมาณ 50-80 ไมครอน แล้วแต่ว่าผมเส้นหนาบาง ในที่นี้เอาเป็นค่า 65 ไมครอนละกันเนาะ เพราะฉะนั้น PM10 ฝุ่นขนาดใหญ่มันก็จะมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม 6.5 เท่า แต่ถ้าเกิดว่าเป็น PM2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดเล็กลงมาอีกเนี่ยมันก็จะมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของเราประมาณ 26 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ตาเราไม่มีทางมองเห็นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันสามารถที่จะปลิวร่องลอย และทุกครั้งที่เราหายใจ มันก็ไหลเข้าไปพร้อมกับอากาศที่เราหายใจแล้วก็แทรกซึมเข้าไป จนถึงจุดที่ลึกที่สุดของปอดแล้วมันก็ อาจจะฝังอยู่ในนั้นได้ แล้วก็ทำให้เกิดอันตรายกับเราแน่นอน มลพิษในอากาศที่เพิ่มขึ้น มันก็มีตัวเลขมากมายว่า ประชากรโลกกำลังประสบโรคทางเดินหายใจ มากยิ่งขึ้นจากเบาๆ อย่างเช่น ทางเดินหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก ไปจนถึงขั้นที่เป็นมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งอื่นๆ ด้วย เพราะว่าพอเป็นมะเร็งแล้ว มะเร็งมันก็สามารถจะลามไปได้ทั่วร่างกายได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เรา ต้องดูแลปอดเราซะหน่อยเพราะว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้กับมลพิษพวกนี้
มีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากเลยว่าถ้าเราอาจจะยังไม่เห็นถึงความอันตราย ความน่ากลัวของเจ้าฝุ่น PM2.5 ผมไปหาตัวเลขมาเป็นการเปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์เขาพยายามเปรียบเทียบว่า ความน่ากลัว ความรุนแรง ความอันตรายของเจ้าฝุ่น PM2.5 เทียบกับควันบุหรี่ที่เรารู้อยู่แล้ว ว่ามันสามารถจะทำลายปอด ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ถ้าเกิดว่าเราสูบบุหรี่ 1 มวล อันตรายจากการ ที่เราได้รับควันพิษเข้าไปในร่างกายของเราเทียบเท่ากับการที่เราหายใจ หรือเราอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่มีปริมาณของฝุ่น PM2.5 ระดับความเข้มข้น 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาทเมตร เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พูดง่ายๆ ออกไปนอกบ้าน แล้วถ้าเกิดว่าเราอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น 1 วัน เท่ากับเราจะสูบบุหรี่ 1 มวล เพราะฉะนั้นถ้าเกิดลองไปเทียบดูตัวเลขค่าฝุ่นในอากาศของพื้นที่ที่คุณอยู่ว่ามันเป็นยังไงเจ้าควันบุหรี่ 1 มวล 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาทเมตร เทียบเท่ากับ AQI ค่า Air Quality Index ได้ประมาณ 72 ก็คืออยู่ประมาณสีเหลืองเมื่อไหร่ก็ตามค่าอากาศเป็นสีเหลือง ประมาณ 72 นั้นคือบุหรี่ 1 มวลต่อวัน เพราะฉะนั้นเวลาเราเจอสีส้ม เจอสีแดง บางทีเจอสีม่วงคิดดูแล้วกันว่าจะบุหรี่กี่มวล ก็สามารถลอง เอาตัวเลขมาเปรียบเทียบกันไปมาได้ เช่นถ้า AQI 144 ก็ประมาณบุหรี่ 2 มวล เพราะฉะนั้นถ้าเห็นว่า ฝุ่น PM2.5 แม้มันจะเป็นสีเหลืองเราคิดว่ามันก็โอเคแล้วนะ อาจจะไม่ต้องเขียวก็ได้ ก็เท่ากับว่า เหมือนคุณสูบบุหรี่ ทุกวัน วันละประมาณ 1 มวล เท่านี้ปอดเราก็แย่แล้วนะครับ
คำถามต่อมา แล้วฝุ่นเหล่านั้นเข้าไปในร่างกายแล้วมันจะไปอยู่ตรงไหนบ้างถามว่ามันจะอยู่ตรงไหน มันขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นครับผมเรียกมันว่าฝุ่นใหญ่ ฝุ่นเล็กแล้วก็นะฝุ่นใหญ่แทน PM10 ฝุ่นเล็กแทน PM2.5 แล้วมีฝุ่นจิ๋วอีก ก็คือแทนอนุภาคจิ๋วกว่านั้นอีกเล็กๆ อาจจะเป็นระดับ 0.1 ไมครอน ขนาดยิ่งจิ๋ว ยิ่งทะลุทะลวงไปได้มากจะต้องเล่าอย่างนี้ก่อนว่าทางเดินหายใจของเรามันเหมือน กับกิ่งไม้ครับทุกคน คือเราสูดอากาศเข้าทางรูจมูก ผ่านจากรูจมูกไปยังทางเดินหายใจเหมือนกิ่งไม้เลย จากกิ่งใหญ่ ก็จะแตกเป็นกิ่งเล็ก แล้วก็แตกเป็นกิ่งย่อยๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายกิ่งอันสุดท้ายเนี่ย มันก็เหมือนกับเอาลูกโป่งมาติดไว้ที่ปลายกิ่งนะครับ ถ้าเวลาสูดอากาศเข้าไปเนี่ย ลมมันก็จะวิ่งไปเรื่อยๆ ผ่านกิ่งไม้ไปจนถึงลูกโป่ง แล้วลูกโป่งก็จะพองปอดก็จะขยายขึ้นมานั่นเองนะครับ ฝุ่นขนาดใหญ่เนี่ย มันตัวใหญ่เนอะ มันก็ไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าไปได้เยอะ เพราะฉะนั้นเวลาถ้าสูดอากาศเข้าไปเนี่ย มันก็อาจจะคาอยู่ที่จมูก โพงจมูก ไปถึงกล่องเสียง หรือว่าหลอดลมตรงส่วนต้นหรือส่วนกลางๆ เท่านั้น PM10 มันไปได้แค่นั้นนะครับ เพราะว่าทางเดินหายใจของเรา มันถูกดีไซน์มาให้มีขนระหว่างทาง และมีโครงสร้างอย่างหนึ่งเป็นแขนที่คอยดักสิ่งแปลกปลอมไว้ตลอดเวลาตลอดทางเลยนะคิดง่ายๆ ในรูจมูกของเรา มีขนจมูก ขนจมูกสำคัญมากในการคอยดักฝุ่นให้เรา ตัวฝุ่นใหญ่ๆมันจะถูกขนจมูกจับเอาไว้ แล้วถ้ามันเยอะๆแล้วเราไม่ไหว เราก็จะฮัดชิลเจ้าฝุ่นละอองออกมา หรือ อนุภาคต่างๆ ที่เป็นพิษ กับร่างกายนะครับ ฝุ่นตัวเล็กๆกว่านั้นแน่นอนมันวิ่งไปได้ไกลและก็ลึกกว่า ผ่านหลอดลมส่วนต้น ส่วนกลางไปทางกิ่งไม้ที่เล็กลงๆ ไปจนถึงส่วนปลายคือเจ้าลูกโป่ง หรือส่วนที่ลึกที่สุดของปอดได้ เพราะว่าตัวมันเล็กนะครับแล้วยิ่งถ้าเกิดว่าเวลาเราออกจากบ้านแล้วเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นเยอะๆ แล้วเราหายใจแรง หายใจลึก หายใจถี่ เช่น ออกกำลังกายที่โล่งแจ้ง ทำกิจกรรมกลางแจ้งยิ่งเป็นตัวกระตุ้น เป็นตัวกำหนดที่จะพาเจ้าฝุ่นตัวเล็กๆ เข้าไปอยู่ในจุดที่มันลึกที่สุดได้ครับทุกคน
อ้างอิงจาก: https://www.epa.gov/pm-pollution/particulate-matter-pm-basics, https://openaq.org/use-cases/shootismoke/
เครดิตภาพประกอบที่ https://www.infoquest.co.th/2022/262656, https://www.epa.gov/pm-pollution/particulate-matter-pm-basics, https://openaq.org/use-cases/shootismoke/, https://www.encyclopedie-environnement.org/en/health/airborne-particulate-health-effects/, https://www.it24hrs.com/2019/protect-health-pm25/