หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ค้นพบหลักฐานชิ้นสำคัญ จารึกพระนาม กษัตริย์ของเมืองศรีเทพเอาไว้!

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์

จารึกบ้านวังไผ่นี้ เป็นจารึกที่เกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ที่น่าสนใจคือได้จารึกพระนาม กษัตริย์ของเมืองศรีเทพเอาไว้ ซึ่งพระนามดังกล่าวไม่มีปรากฏอยู่ในราชวงศ์ปัลวะของอินเดียใต้ หรือพระนามของกษัตริย์ฟูนาน หรือกษัตริย์เจนละ จึงสามารถทราบได้ว่าอาณาจักรศรีเทพมีกษัตริย์ปกครอง อยู่ในฐานะอาณาจักร อยู่ในฐานะศูนย์กลางการปกครองเลยทีเดียว ไม่ได้เป็นแค่เมืองธรรมดาทั่วไป

ก่อนอื่นต้องขอท้าวความก่อนว่า จารึกบ้านวังไผ่นี้ ได้มีการค้นพบที่ในป่าใกล้บ้านวังไผ่ ตำบลบ่อรัง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้กับเมืองศรีเทพ โดยห่างจากเมืองศรีเทพไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นจารึกที่สร้างขึ้นในโอกาสที่พระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ โดยพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน และเป็นพระราชนัดดาของพระศรีจักรวรรติน ผู้เป็นใหญ่เสมอกับพระเจ้าภววรมัน แต่ในจารึกไม่ได้ระบุว่า พระมหากษัตริย์ที่กล่าวถึงในจารึกนี้คือผู้ใด เนื่องจากจารึกดังกล่าวได้แตกหักหายไปบางส่วน

ที่น่าสนใจคือ จารึกนี้บอกชื่อกษัตริย์สามพระองค์ ได้แก่ พระศรีจักรวรรตินเป็นปู่ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมันเป็นพ่อ และพระเจ้าภววรมันซึ่งเป็นคนที่กษัตริย์ที่จารึกนี้อ้างว่ามีสถานะเท่ากัน

พระเจ้าภววรมัน หรือที่เรารู้จักกันในนามพระเจ้าภววรมันที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1123 – 1143 หรือพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นเชษฐาของพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ในอาณาจักรฟูนาน ที่ปกครองเมืองภวปุระ พระองค์ได้ร่วมมือกันกับเจ้าชายจิตรเสน ยกกองทัพเข้าชิงราชสมบัติจาก พระเจ้ารุทรวรมัน เพราะเห็นว่าพระเจ้ารุทรวรมันขาดความชอบธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติโดยหลังจากที่พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 สวรรคต

พระเจ้ารุทรวรมัน ก็ทำการสังหารรัชทายาทที่ชอบธรรมที่ประสูติจากพระอัครมเหสี แล้วตั้งตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟูนาน ซึ่งพระองค์ก็มีชัยชนะเหนือพระเจ้ารุทรวรมัน และยึดราชธานีวยาธปุระได้สำเร็จ จากนั้นก็ใช้เวลาอีกหลายปีในศึกสงครามเพื่อรวบรวมและขยายอาณาจักร เจ้าชายจิตรเสนเป็นแม่ทัพที่เกรียงไกรทรงยกกองทัพเข้าปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรฟูนานเพื่อรวมเข้ากับอาณาจักรเจนละ พระเจ้าภววรมันที่ 1 เข้าพิธีบรมราชาภิเษกในปี พ.ศ.1123 เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ โดยพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ.1143

เจ้าชายจิตรเสน ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้ทำการชิงราชสมบัติจากพระโอรสของพระองค์ และขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละสืบมา นี่คือพระราชประวัติคร่าวๆของพระเจ้า ภววรมันในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นกษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรเจนละ ดังนั้นกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีเทพที่ไม่ปรากฏพระนาม ซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระเจ้าปฤถิวีนทรวรมันแห่งอาณาจักรศรีเทพ แถมระบุเอาไว้ในจารึก ว่ามีสถานะเท่ากับพระเจ้าภววรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรเจนละ แสดงว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีเทพ มีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้อาณาจักรเจนละเลยทีเดียว กษัตริย์เหล่านี้น่าจะมีอายุราวๆ กับจารึกบ้านวังไผ่ คือ พุทธศตวรรษ 12 หรือมีอายุประมาณ 1,300 1,400 ปี

สำหรับข้อสันนิษฐานว่าก่อนหน้านี้ พระเจ้ามเหนทรวรมันกับพระเจ้าภววรมันมาจากไหน? มีข้อสันนิษฐานว่าอาณาจักรเจนละน่าจะอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำมูลในประเทศไทยไปจนถึงเมืองจำปาสักในลาว โดยมีศูนย์กลางคือ เมืองเศรษฐปุระ ที่เชื่อกันว่าว่าคือบริเวณปราสาทวัดภู และเมืองโบราณขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขง ที่ใกล้เมืองจำปาสัก มีข้อสันนิษฐานว่าพระเจ้าภววรมัน ผู้เสมอกันกับกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีเทพ น่าจะเป็นพี่น้องกัน โดยพระเจ้ามเหนทรวรมันกับพระเจ้าภววรมันเสด็จลงจากอาณาจักรศรีเทพไปปกครองอาณาจักรเจนละ ถ้าไม่ใช่พี่น้องกัน อาณาจักรใกล้เคียงกันขนาดนี้ ไม่น่าจะยอมรับว่ามีสถานะเท่าเทียมกันได้

ถึงแม้ว่าศรีเทพอาจจะเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์ที่พิชิตฟูนาน ศิลปะในเมืองศรีเทพก็เป็นแบบทวารวดี มีความเหมือนกับศิลปะทวารวดีในนครปฐม ราชบุรี ในภาคกลางและภาคอีสานของไทย ซึ่งทวารวดีเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญโบราณ ดังนั้นจึงมีข้อสันนิษฐานต่อไปว่า ศรีเทพอาจเป็นดินแดนของชาวมอญมาตั้งแต่เดิม และมีความเชื่อมโยงกับคนไทย เป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรโบราณหลายแห่งในภูมิภาคนี้ ซึ่งเราเรียกชนชั้นปกครองในอาณาจักรโบราณเหล่านี้ว่าขอม

เช่นขอมพิมาย ขอมละโว้ ฯลฯ ซึ่งใช้ภาษาคนละภาษา คนละเชื้อชาติกันกับเขมรโบราณ ซึ่งมีประวัติแตกต่างจากขอมโดยสิ้นเชิง โดยคำว่าเขมร ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกสมัยก่อนพระนคร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 คือศิลาจารึก Ka.64 ซึ่งแปลว่าข้ารับใช้ สมควรอย่างยิ่งที่นักประวัติศาสตร์จะต้องแยกขอม ซึ่งกันชนชั้นปกครองอาณาจักรโบราณหลายแห่งในภูมิภาคนี้ รวมถึงพื้นที่ในกัมพูชาปัจจุบันออกจากชาวเขมรโบราณ เนื่องจากมีสถานะทางสังคมและเชื้อชาติแตกต่างกัน

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: Thorsten, อับดุล รอเเย๊ะส์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!คนดูยังท้อ!! หนุ่มทำคอนเทนต์ตามล่า “ ช็อกโกแลตดูไบ” ในเซเว่น หาทั้งจังหวัด 23 สาขา ก็ยังไม่มี แต่สุดท้ายได้ลองสมใจเพชรปากปลาร้าหน้าเป๊ะ ลองทาลิปสติกบนปาก ทำเอาทัวร์ลงสนั่น ร้านค้ารับเรื่อง สั่งให้โละยกแผงเลย!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!
ประโยชน์ของชาเขียวโครงการช่วยเหลือให้เกิดสภาพคล่องของเศรษฐกิจรู้หรือไม่? แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักใช้ข้อมูลอะไรหลอกลวงคุณแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรปอายุ 4,000 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่