กัมพูชาขับไล่ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบๆนครวัดอ้างทำลายมรดกโลก
โบราณสถานอังกอร์วัด หรือ นครวัด ณ ประเทศกัมพูชา ตามที่ทาง UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ณ ปัจจุบันนี้ได้ถูกทำลายและไม่ได้อยู่ตามกฏเกณฑ์ที่ทาง UNESCO กำหนดให้เป็นมรดกโลก ประเทศกัมพูชาและประชาชนชาวกัมพูชาเอง ได้ทำลายโบราณสถานดังกล่าวด้วยการลบและทำการแกะสลักต่อเติมข้อความใหม่ลงไปในกำแพง อาทิเช่น กล้องส่องดูดาว,จักรยาน,ไดโนเสาร์ รวมทั้งรูปปั้นสิงห์โต ฯลฯ เป็นต้น ข้อมูลหลักฐานเหล่านี้มีปรากฏในสื่อโซเชียล โดยนักวิชาการชาวอินเดียได้เข้าทำการตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับ อังกอร์วัด หรือ นครวัด ณ ประเทศกัมพูชา การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าร้อยปี ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ถูกทำลาย
14 พฤศจิกายน 2023 แอมเนสตี (Amnesty) องค์การสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์ระบุว่า กัมพูชาละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ หลังขับไล่ประชาชนกว่า 1 หมื่นครอบครัวออกจากบริเวณ ‘นครวัด’ โดยอ้างว่า เป็นการปกป้องโบราณสถานแห่งนี้ ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ‘มรดกโลก’ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO)
แถลงการณ์ของแอมเนสตีชี้แจงรายละเอียดว่า กัมพูชาบังคับให้ผู้คนย้ายถิ่นฐาน โดยยกเหตุผลเรื่องการอนุรักษ์นครวัด โบราณสถานของประเทศที่ได้รับรองเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 1992 โดยที่รัฐไม่สามารถการันตีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน หลังมีรายงานเผยว่า สภาพความเป็นอยู่ของชุมชนใหม่ย่ำแย่มาก
จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2022 รัฐบาลกัมพูชาอ้างว่า ชุมชนบริเวณนครวัดสร้างมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อม ทางการจึงมีความจำเป็นต้องขับไล่ประชาชนให้ออกจากพื้นที่ก่อนปี 2023 เพื่อปกป้องมรดกโลกของชาติ โดยมีมาตรการเยียวยาด้วยการมอบเงิน 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 7,100 บาท) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงการจัดพื้นอาศัยใน ‘รุนตาเอก’ (Run Ta Ek) อดีตนาข้าวที่กลายเป็นชุมชนแห่งใหม่ พร้อมที่ดินขนาด 20×30 เมตร และอุปกรณ์ในการสร้างที่อยู่ ได้แก่ หลังคาสังกะสี ผ้าใบกันน้ำ และมุ้งกันยุง
แม้จะมีผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล ทว่าประชาชนบางส่วนไม่ยอมออกจากพื้นที่ เจ้าหน้าที่จึงข่มขู่ว่า ทางการจะตัดไฟ ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือน และคุมขังพวกเขา หากไม่ย้ายไปที่อื่น
ไม่ใช่แค่ความผูกพันต่อพื้นที่ที่เรียก ‘บ้าน’ สาเหตุสำคัญที่ผู้คนไม่ย้ายออก คือความยากจนและการสูญเสียวิถีชีวิต ทั้งนี้ แอมเนสตีและสื่อต่างประเทศหลายแห่งรายงานว่า ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าอาหาร ร้านขายของที่ระลึก หรือแม้แต่ขอทาน ต่างมีรายได้จากนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ตั้งตาเดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่มหัศจรรย์แห่งนี้