สะพานที่มีความสูงมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย
สะพานที่มีความสูงมากที่สุดในประเทศไทย
สะพานกาญจนาภิเษก
(Kanchanaphisek Bridge)
ความสูง 187.6 เมตร
เป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ของประเทศไทย
เป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก
(ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ช่วงทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์)
เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส
ที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ลักษณะการก่อสร้าง
เป็นสะพานขึงระนาบคู่ขนาด 6 ช่องจราจร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ระหว่างท้องที่ตำบลบางจาก กับตำบลบางหัวเสือ จังหวัดสมุทรปราการ
มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 52 เมตร เพื่อให้เรือสินค้าสามารถเข้าออกได้
ตัวสะพานมีความยาวช่วงกลางแม่น้ำ 500 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นสะพานขึง
ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย และถือว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำ
ที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย เป็นสะพานแรก
ที่เรือจากอ่าวไทยจะลอดผ่าน และเป็นสะพานสุดท้ายของน่านน้ำเจ้าพระยา
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สะพานพระราม 8 (Rama VIII Bridge)
ความสูง 160 เมตร
มีความยาวรวม 475 เมตร เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร
สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร
มีรูปแบบโดดเด่นสวยงาม เพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร
ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี
และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนัก
ตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ
ช่วยป้องกันน้ำท่วม และระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้ง
สะพานพระราม 9 (Rama IX Bridge)
ความสูง 87 เมตร
เป็นส่วนหนึ่งของทางพิเศษมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ
มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge
หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูง
ของสะพาน เพื่อรับน้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2530