"ช้างป่า 130 ตัว" ไล่ไม่กลับถิ่น ติดใจไร่อ้อย มันสำปะหลัง
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า ในพื้นที่ป่าสะเดา อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พยายามผลักดันโขลงช้างป่าจำนวนกว่า 130 ตัว ที่อพยพข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินในป่าอ้อยของเกษตรกร แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ
เจ้าหน้าที่ได้จุดประทัดผลักดันเพื่อให้ช้างป่าออกจากพื้นที่ พบว่าโขลงช้างป่าได้แตกโขลงเป็น 2 โขลงใหญ่ พื้นที่แรกมุ่งหน้าไปบ้านคลองตามั่น ต.เขาไม้แก้ว พื้นที่ 2 มุ่งหนาไปบ้านเนินจินดาและบ้านโคกไม้แดง ต.วังท่าช้าง
เจ้าหน้าที่พยายามผลักดันออกจากพื้นที่ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากช้างป่าตัวใหญ่ อ้อมไปทางด้านหลังของเจ้าหน้าที่ เกรงว่าช้างอาจทำร้ายได้
ทั้งนี้ ฝั่งตรงข้ามคือพื้นที่แถบหมู่บ้านห้วยกระโดด และ หม่บ้านหนองใหญ่ ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เขตรอยต่อกับ จ.ปราจีนบุรี ได้มีการบล็อกพื้นที่ป้องกันไม่ให้โขลงช้างป่าหวนกลับ เนื่องจากเกรงทำลายพื้นที่การเกษตรของตนที่เป็นทางผ่าน โดยการจุดปะทัดยักษ์สกัด และยังนำยวดยานทางการเกษตรอาทิ รถพ่วง รถไถ รถสิบล้อมาขวางทางผ่านโขลงช้างป่า เจ้าหน้าที่จึงยุติการค้นหาเพื่อความปลอดภัย
สาเหตุที่ช้างป่าอพยพข้ามฝั่ง
สาเหตุที่ช้างป่าอพยพข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินในป่าอ้อยของเกษตรกร จ.ปราจีนบุรี คาดว่าเกิดจากความแห้งแล้งและขาดแคลนอาหารในป่าธรรมชาติ ประกอบกับพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของช้างป่า ทำให้ช้างป่าเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น
แนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่าที่อพยพเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรม
- การสร้างแหล่งอาหารและแหล่งน้ำให้กับช้างป่าในป่าธรรมชาติ
- การปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ช้างป่าไม่ชอบ เช่น พืชที่มีหนาม หรือพืชที่มีกลิ่นฉุน
- การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาช้างป่า เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัญหาช้างป่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งคนและช้าง จำเป็นต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน