วิธีคำนวณ การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ ต้องโดนหักอะไรบ้างและมีอะไรบ้าง
การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ จะเริ่ม ม.ค. 2567 โดยเป็นไปตามความสมัครใจ ว่าหากได้รับเงินเดือน 2 รอบ แต่ละรอบจะต้องถูกหักอะไรบ้าง ก่อนจะเป็นเงินเดือนสุทธิเข้าบัญชี
กรมบัญชีกลาง ระบุว่า จะจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ ประเดิมงวดแรกคือ 16 ม.ค.2567 และการจ่ายเงินแต่ละรอบจะเป็นดังนี้คือ รอบแรกทุกวันที่ 16 ของเดือน หากเป็นวันหยุดให้เลื่อนขึ้น และรอบที่ 2 ก่อนวันทำการวันสุดท้าย 3 วันทำการ โดยให้ข้าราชการที่มีความประสงค์รับเงินเดือน 2 รอบ แจ้งความประสงค์ต่ส่วนราชการ ภายในวันที่ 1 - 15 ธ.ค. 2566 ส่วนลูกจ้างให้แจ้งภายในวันที่ 1 - 15 ก.พ.2567
อย่างไรก็ตาม ทำให้กรมบัญชีกลางปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินและค่าจ้างประจำใหม่ ดังนี้
1 . เงินเดือน/ค่าจ้างประจำ เมื่อได้รับแล้วจะมีการที่ต้องหักเงินคือ
- ภาษี ณ ที่จ่าย
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ( กบข. ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ( กสจ. )
- กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ. )
- หนี้บุคคลที่สาม เช่น สหกรณ์,สถาบันการเงิน
จะทำให้เหลือเงินสุทธิ จากนั้นจะเป็น เงินเดือนที่เตรียมจ่ายสำหรับ 2 รอบคือ ครึ่งแรกและส่วนที่เหลือ ดังนั้นหากดูว่าการจ่ายเงินเดือนให้สุทธิในแต่ละรอบจะพบว่า
รอบที่ 1 วันที่ 16 ของเดือน กรณีวันที่ 16 ของเดือนตรงกับวันหยุดจะเลื่อนเป็นวันทำการก่อนหน้าวันที่ 16 ซึ่งในรอบที่ 1 นี้ เงินเดือนสุทธิครึ่งแรกและโอนให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำ และครึ่งแรกจะถูกหักเข้าบัญชี กองทุน กบข. / กองทุน กสจ. ทันที
เช่น จากเดิมรับ 1 รอบหัก 3% ของเงินเดือน ( 3% คือ ขั้นต่ำของการหักเงินเข้ากองทุน กบข. ) หากได้รับเงินเดือน 18,000 บาท จะหักเข้ากองทุน กบข. ทุกเดือน เดือนละ 540 บาท หากใครต้องการรับเงินเดือน 2 รอบจะถูกหักเข้ากองทุน กบข. ครั้งละ 270 บาท หรือส่วนที่เหลือ
รอบที่ 2 เงินเข้า 3 วันทำการสุดท้ายก่อนสิ้นเดือน และถูกคิดเป็นดังนี้
- กรณีได้รับเงินเดือน 18,000 บาท รอบแรก 9,000 บาท รอบที่ 2 จะได้รับอีก 9,000 บาท
- หักกองทุน กบข. / กองทุน กสจ. ส่วนที่เหลือจากรอบแรก
- ภาษี ณ ที่จ่าย
- กยส. ( ถ้ามี )
- หนี้บุคคลที่สาม เช่น สหกรณ์ และ/หรือ สถาบันการเงิน
เมื่อหักเหล่านี้แล้วเหลือเท่าไหร่ จะโอนให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งคือ เงินเดือนสุทธิในรอบที่ 2