ข้อควรรู้อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ พร้อมแนวทางรักษาที่ใช่
มาทำความรู้จักกับอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่จะช่วยให้ท่านได้รู้แนวทางในการปฏิบัติตัว และรักษาเบื้องต้น เพื่อลดความเจ็บปวดของคนที่ท่านรักกันเถอะ
ปัจจุบันปัญหาหลักๆที่พบได้ทั่วไปจากผู้สูงอายุมักจะเป็นอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมจนไม่สามารถเดินได้อย่างปกติในชีวิตประจำวัน ต้องใช้เครื่องช่วยพยุง หรือผืนเดินจนส่งผลให้เจ็บปวดข้อเข่ามากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งการไม่สังเกตอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม จนส่งผลให้ไม่รักษาอาการปวดให้หายเป็นปกติได้จนเกิดความทุกข์ทรมานตามมาภายหลังได้
ทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อม คือ อาการเสื่อมสภาพของข้อเข่า ที่เกิดจากการสึกหรอ – สึกกร่อน พร้อมกับมีความบางลงของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเข่า ในบางท่านอาจเกิดจากการอักเสบ ในบางท่านอาจจะเกิดจากการอักเสบของข้อต่อบริเวณเข่า เนื่องจากเกิดจากกระดูกอ่อนในบริเวณผิวข้อได้ถูกทำลาย ซึ่งในบริเวณนี้ จะหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการป้องกันกระดูกทั้งรับแรงกระแทกระหว่างข้อเข่า การรองรับน้ำหนักตัวของแต่ละบุคคล เพื่อลดการสึกหรอ พร้อมเสื่อมสภาพของข้อเข่านั้นเอง
โดยกระดูกบริเวณผิวข้อเข่า จะมีหน้าที่ช่วยกระจายแรง ลดแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อในบริเวณนั้น เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเป็นปกติ หากเมื่อกระดูกอ่อนได้เกิดความเสียหายในพื้นที่วงกว้าง จนก่อให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนเกิดการเสียดสีจนส่งผลทำให้อาการเจ็บข้อเข่า , เอ็นเข่าอักเสบ , หัวเข่ามีเสียง , ข้อเข่าบวม ตามแต่ละลักษณะของการใช้งานข้อเข่ารายบุคคล บางท่านอาจจะส่งผลให้เกิดโรคข้ออักเสบได้ แต่บางท่านทนไม่ไหวจนต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมได้นั้นเอง
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
อาการความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง โดยจะขึ้นอยู่ตามแต่ละอาการของความเจ็บปวดในบริเวณข้อเข่า จะมีด้วยกันดังต่อไปนี้
- อาการเจ็บข้อเข่าระยะเริ่มต้น : จะมีอาการที่ปวดๆหายๆ ซึ่งสามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติ หากท่านใช้งานบริเวณข้อเข่าหนักขึ้นเล็กน้อย จะเริ่มมีอาการปวดเข่านั่นเอง
- อาการเจ็บข้อเข่าระยะที่สอง : บางท่านจะเริ่มมีความปวดที่ส่งผลให้เริ่มทำงานหนักมากขึ้นไม่ได้
- อาการเจ็บข้อเข่าระยะที่สาม : ในบางท่านที่เริ่มมีอาการปวดข้อเข่าในระยะที่สองแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องทำงานหนัก หรือมีอาการตามความเสื่อมถอยของข้อเข่าตามอายุ จนส่งผลให้เริ่มทำกิจวัตรประจำวันปกติไม่ได้
- อาการเจ็บข้อเข่าระยะที่สี่ : อาการปวดจะส่งผลทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตปกติไม่ได้ มีความรู้สึกปวดตลอดเวลา รวมทั้งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้ เช่น การใช้เครื่องช่วยพยุงร่างกาย เป็นต้น
ลักษณะอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่ท่านควรสังเกตอาการมีอะไรบ้าง
อาการโดยทั่วไปของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มที่จะเริ่มมีอาการช้าๆจนส่งผลต่อความรุนแรงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อผ่านระยะเวลาไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้
- เริ่มมีอาการปวดตามข้อเข่า เมื่อได้ใช้งานบริเวณเข่าหนัก ดังเช่น การเดิน / ขึ้นลงบันได / นั่งยอง ๆ รวมทั้งการนั่งขัดสมาธิ ในบางท่านจะมีอาการปวดเป็นระยะๆ เป็นๆหายๆ แต่ในบางท่านมักจะมีอาหารปวดบริเวณข้อเข่าตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อเข่าที่เสื่อมถอยลงนั้นเอง
- ในบางท่านปวดข้อเข่าจนไม่สามารถขยับเข่า หรือเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติทั่วไป รวมถึงอาจงอเข่า / เหยียดเข่าได้ไม่สุดมากนัก พร้อมกับมีอาการติดขัด ไม่คล่องตัว บางครั้งมักมีอาการปวด ๆ เจ็บข้อเข่า เจ็บแปลบๆ เสียวตามแนวบริเวณเข่า โดยส่วนมากอาการปวดนี้ จะเป็นมากขึ้นตามลักษณะอาการที่ถูกทำลายผิวข้อที่มากขึ้นตามวัย
- ในอาการปวดระยะรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางท่านจะมีขาที่รูปร่างผิดรูป พร้อมมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของข้อเข่าเสื่อมจนถึงกับเดินไม่ได้ ทั้งอาการขัดในข้อ ข้อเข่ายึด ขยับตัวลำบากในเวลานั่ง หากไม่ทำการรักษาปล่อยปละละเลยเป็นเวลานาน อาจส่งผลขั้นรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้ หากมีอาการดังกล่าวให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาให้สามารถใช้ข้อเข่าได้นานมากขึ้น
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นอย่างไร
วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละวิธีจะมีความแตกต่างกันตามแต่ละอาการปวดข้อเข่าของแต่ละท่าน มีด้วยกันดังต่อไปนี้
รักษาโดยไม่ใช้ยา
วิธีการดูแลรักษาโดยไม่พึงการใช้ยา จะสามารถทำได้ด้วยการประคับประคองอาการ ลดการใช้แรงในบริเวณข้อเข่า รวมทั้งการสร้างกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาให้แข็งแรงขึ้น ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม / กิจวัตรประจำวันมีการดำเนินชีวิต ด้วยการนำคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาใช้อย่างถูกวิธี เช่นการควบคุมน้ำหนักตนเอง การบริหารร่างกาย กล้ามเนื้อ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสามารถช่วยให้ลดอาการปวดให้ทุเลาลง ถึงแม้จะไม่สามารถช่วยให้หายขาดจากโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ก็ตาม
รักษาโดยใช้ยา
วิธีการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยวิธีการใช้ยา จะเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทาง มีด้วยกันดังนี้
- ใช้ยาพาราเซตามอลในการแก้ปวด ถือว่ายาตัวนี้คือตัวเลือกในอันดับต้นในการแก้ปวดในกรณีที่ปวดไม่มากนัก ควรรับประทานแต่พอดีวันละ 1 – 2 เม็ด ทุกๆ 4 -6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรทานเกินวันละ 8 เม็ด ทั้งไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 5 วัน เนื่องจากจะส่งผลอันตรายต่อตับ จนก่อให้เกิดภาวะตับวายฉับพลันจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ใช้ยาเฉพาะที่โดยจะเป็นประเภทยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่สารสเตียรอยด์ (NSAIDs) ในรูปแบบยากิน / แบบยาฉีด ช่วยลดอาการแก้ปวด กับแก้การอักเสบได้ดี แต่ไม่ควรทานติดต่อกันในระยะเวลานาน เนื่องจากยากลุ่มนี้จะส่งผลต่อตับ ไต และผู้สูงอายุ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายอุจจาระสีดำ ผื่นคัน รวมทั้งเป็นพิษต่อตับไต หากทานเยอะมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดการบวม ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ยาคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อในบริเวณที่เกร็งลงได้
- ยาแก้ปวดที่มีสารอนุพันธ์ฝิ่น จะช่วยลดความปวดชนิดรุนแรง แต่จะเป็นยาที่อยู่ในความดูแลของแพทย์โดยตรง เนื่องจากข้อระวังพร้อมอาการข้างเคียงได้มากต่อผู้มีโรคประจำตัวกับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับตับ
การผ่าตัด
วิธีการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยวิธีผ่าตัด จะสามารถแบ่งได้ดังนี้
- ใช้การส่องกล้องเพื่อเข้าไปสำรวจสภาพ และชะล้างภายในข้อเข่า ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้มีแผลในบริเวณผิวข้อเล็กน้อยที่เป็นสาเหตุของความปวดข้อเข่าในระยะแรกเท่านั้น หากมีความเจ็บปวดที่รุนแรงจะเปลี่ยนไปเป็นการผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- วิธีการผ่าตัดปรับแนวในข้อเข่า หากเป็นกรณีที่ท่านมีข้อเข่าผิดรูป (High Tibial Osteotomy) ที่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่าเฉพาะที่นั่นเอง รวมถึงวิธีผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) โดยจะขึ้นอยู่กับอาการ และคำแนะนำของแพทย์เฉพาะผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเท่านั้น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
เพื่อไขคำตอบของผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เราได้รวบรวมคำตอบที่จะช่วยให้ท่านสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัยห่างไกลจากอาการปวดข้อเข่าได้ดังนี้
ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงออกกำลังกายได้ไหม?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสมกับอายุของแต่ละท่าน เพื่อให้สามารถช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้มีความแข็งแรง โดยท่านสามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิก การออกกำลังกายจากการฝึกกล้ามเนื้อ การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อข้อต่อ หรือแม้แต่ออกกำลังที่เกี่ยวข้องกับการเสริมการทรงตัว เช่น การเดิน หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ บางท่านสามารถว่ายน้ำแทนการเคลื่อนไหวต้องเปลี่ยนทิศทางอย่างฉับพลันได้ เป็นต้น
ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุห้ามทานอะไร?
สำหรับท่านที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ จะมีอาหารที่ท่านควรหลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเจ็บปวดตามข้อเข่าได้ดังนี้
- อาหารที่มีการปรุงรสมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นรสหวาน เค็ม มัน อาหารแปรรูป ของหมักของดอง ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้เช่น หากท่านทานอาหารรสหวานมาก จะทำให้กระทบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบได้ง่ายมากขึ้น หากท่านทานรสเค็มมากเกินพอดีจะส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ทำให้เซลล์ได้กักเก็บน้ำจนร่างกายเกิดการบวมน้ำ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวนั้นเอง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือคาเฟอีน เนื่องจากคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ จนทำให้แคลเซียมเสียสมดุลของร่างกาย หากทานเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดภาวะมวลกระดูกบางลงได้อีกด้วย
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งขัดขาว ธัญพืชขัดขาว ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกได้
ข้อสรุปเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
จะเห็นได้ว่าอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นท่านควรเตรียมความพร้อมในการรับมือกับอาการปวดข้อเข่าไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ ทั้งการออกกำลังอย่างถูกวิธี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อลดอาการเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้