หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตะกอง สัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย

โพสท์โดย Man

ตะกองหรือสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ใประเทศไทย

ถ้าเอ่ยถึงตัวตะกองเราอาจจะไม่รู้ว่ามันคือตัวอะไรนะครับแต่ถ้าจะบอกว่ามันคือกิ้งก่ายักษ์เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้

แถมสีสันตัวตะกองกิ้งก่ายักษ์ของประเทศไทยนี่มีสีสันสดใสสวยงามด้วยนะครับ แต่มันจะกระโดดกัดคอคุณหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับถ้าบังเอิญไปจับตัวมัน

ตะกอง หรือ ลั้ง หรือ กิ้งก่ายักษ์ (อังกฤษ: Chinese water dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Physignathus cocincinus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้

ลักษณะ
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร (ปลายจมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวเข้มกว่า หางมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ สีลำตัวปกติของตะกองจะมีสีเขียวเข้มและสามารถที่จะเปลี่ยนสีของให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ในขณะที่เป็นวัยอ่อนบางตัวใต้คางและส่วนหัวจะมีสีม่วงหรือสีฟ้าแลดูสวยงาม และเมื่อโตขึ้นมาตัวผู้ส่วนหัวด้านบนจะโหนกนูนขึ้นเห็นชัดเจน ส่วนตัวผู้เมียจะมีความนูนน้อยกว่าและพวกมันอาจมีอายุถึง 30 ปีเลยทีเดียว

สถานภาพของตะกองในปัจจุบัน พบน้อยลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง จับเพื่อทำเป็นอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้จัดให้ตะกองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

พฤติกรรม
มีพฤติกรรมชอบนอนผึ่งแดดตามคาคบไม้ริมห้วยลำธาร เมื่อตกใจจะวิ่ง 2 ขาได้โดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน

อาหาร
อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, กบ, เขียด, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บางชนิด และยังสามารถดำน้ำจับปลาได้อีกด้วย

วัยอ่อน

การวางไข่
ตะกองจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตะกองตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง ตะกองจะวางไข่ บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตร

ถิ่นที่อยู่
ตะกอง มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบในตอนใต้ของประเทศจีน, ประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคตะวันออกและอีสานของประเทศไทย ชอบที่จะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหล

 

บริเวณส่วนหัวตัวเมีย

การเลี้ยง
ตะกอง ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน แต่ว่าเมื่อเทียบกับอีกัวน่าแล้ว ตะกองเลี้ยงได้ยากกว่าพอสมควรเนื่องจากกินแมลงเป็นอาหารและยังมีนิสัยที่ดุไม่เชื่องเหมือนอีกัวน่า อีกทั้งยังต้องปรับสภาพของที่เลี้ยงให้มีน้ำและมีความชุ่มชื้นพอสมควร

ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่

โพสท์โดย: Man
อ้างอิงจาก: th.m.wikipedia.org/wiki/,YouTube
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Man's profile


โพสท์โดย: Man
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: เป็ดปักกิ่ง, Vver, มยุริญ ผดผื่นคัน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ร่วมยินดีงานแต่ง "เบนซ์ ปุณยาพร - แก๊ป วิทนาถ"ดวงรายสัปดาห์ 9-15 ธันวาคม 2567 ดูดวงกับดาราดวงรายสัปดาห์ 8-14 ธันวาคม 2567 by ครูเป็นหนึ่งพนักงานตกงานนับร้อย! หลังซูบารุ ประกาศยุติการผลิตรถในประเทศไทย เลิกจ้างพนักงานทั้งหมด 30 ธ.ค. 67 นี้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ป้ายรถเมล์ถูกเทปูนต่ำจนต้องนั่งพับเพียบ ใช้งบ 177 ล้าน ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น ใครต้องรับผิดชอบ?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด รวมสาระบทความแบ่งปั่นกัน
Oymyakon เมืองเล็กๆ ในไซบีเรีย ประเทศรัสเซียสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ที่หนาวที่สุดในโลกสะพาน Lake Pontchartrain ในรัฐหลุยเซียนา สะพานข้ามน้ำต่อเนื่องที่ยาวที่สุดในโลกญิดดะฮ์ทาวเวอร์อาคารสูง 1 กิโลเมตรแห่งแรก และจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกหุบเขาริฟต์ (Rift Valley)หน้าผาสูงชันซึ่งถูกแกะสลักด้วยพลังธรรมชาติที่น่าทึ่ง
ตั้งกระทู้ใหม่