การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญยาตรีเป็น 25,000 บาทและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท เป็นนโยบายที่ภาคเอกชนจับตามองอย่างใกล้ชิด
ในอดีตที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้นโยบายปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทั่วประเทศ ทำให้ตลาดแรงงานมีการปรับตัว โดยบริษัทเอกชนส่วนหนึ่งปรับเงินเดือนระดับปริญญาตรีเพื่อให้เพดานเงินเดือนขแงภาคเอกชนปรับสูงขึ้นจากภาคราชการ
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( ส.อ.ท ) กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วน 2 ข้อ คือ
1 . การลดค่าครองชีพให้กับปนะชาชน
2 . การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวัน 400 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 25,000
ทั้งนี้ การขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีมองว่ารัฐบาลสามารถสั่งการได้และสามารถตัดสินใจได้เร็วกว่า ในขณะที่ประเด็นการขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีอาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐมากขึ้นนั้นอาจเกิดขึ้นในช่วงระยะสั้นๆ เป็นไปตามกลไกของตลาดเสรี
"เมื่อภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวได้ก็จะมีกำลังจ่ายค่าจ้างได้สูงกว่าและดึงแรงงานกลับมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลุ่มแรงงานที่มีทีกษะฝีมือสูง ( High Skilled Labor ) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดกลับยังขาดแคลนอยู่มาก"
ขณะที่การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำของภาคเอกชนยืนยันว่าควรต้องเป็นไปตามกลไกคณะกรรมการไตรภาคีของแต่ละจังหวัด
สำหรับนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาคเอกชนและขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีไปพร้อมกัน โดยรัฐบาลคาดหวังว่าจะทำให้ปนะชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เกิดการจับจ่ายใช้สอยและเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งดำเนินการควบคู่กับนโยบายลดค่าครองชีพของประชาชน เช่นการลดราคาค่าไฟฟ้า การลดราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินรวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มเงินในกระเป๋าให้ประชาชนที่ขับเคลื่อนดิจิทัล