ซิ่นกุงจาบ
ผ้าถุงเย็บคละลาย : ลายผ้าไทย , ลายขวางไล่โทนสีเน้นสีพาสเทล , ผ้าบาติกอินโด~มาเลย์~ไทย
@ ซิ่นกุงจาบ @
คำว่า " ซิ่นกุงจาบ " เป็นภาษาไทยใหญ่ ใช้เรียกชื่อผ้าถุงที่เย็บจากเศษผ้าถุงหลาย ๆ ชิ้นรวมกันเป็นผ้าถุง หนึ่งผืน ในอดีตชาวไทยใหญ่นั้นถ้าหากหญิงใดได้ใส่ "ซิ่นกุงจาบและเสื้อผ้าไต " ไปออกงานต่าง ๆ ถือว่าเป็น สตรีไฮโซและมีฐานะ
สืบเนื่องจากในสมัยโบราณ (ไม่น่าจะนานมากน่าจะเมื่อห้าสิบปีก่อน ) ผู้หญิงในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเย็บผ้าถุงใส่เอง การเย็บผ้าถุงใส่เองบางคนอ้วน บางคนผอม บางคนเตี้ย ถ้าหากตัดเย็บแล้วเศษด้านข้างหรือปลายผ้าถุงเหลือ เขาก็จะตัดเก็บไว้ หากในปีนั้น ๆ มีการซื้อผ้าถุงหลายผืน ครบปีสตรีชาวไทยใหญ่จะนำเศษผ้าจะผ้าถุงมาเย็บติดกันเป็นผ้าถุงผืนใหม่ และใส่ไปร่วมงานบุญต่าง ๆ เพื่อแสดงให้แขกในงานเห็นว่า เธอมีอันจะกิน สมัยนี้คงเรียกว่า " Rare item " นั่นเอง เพราะในอดีต สตรีชาวบ้านทั่วไปจะมีผ้าถุงไม่เยอะ หากจะซื้อผ้าถุงดี ๆ สักผืนราคาสูงต้องเก็บเงินซื้อถึงจะได้ ดังนั้นในหนึ่งปีหากใครมีผ้าถุงใหม่ 2 ผืนก็เพียงพอแล้วสำหรับคนธรรมดาทั่วไป การที่จะมี " ซิ่นกุงจาบ " สักผืนบางคนต้องใช้เวลาสะสมเศษผ้าซิ่น 4-5 ปีเลยทีเดียว
**เรื่องเล่าของวันวาน ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นความรู้ เนื่องจาก หลังจากที่ได้ฟังเรื่องเล่าแล้วชอบพยายามสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม แต่ไม่มีข้อมูลอ้างอิง **