โรคแพนิค อาการตื่นตระหนก มีวิธีการรักษาอย่างไร
เมื่อต้องประสบกับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ความวิตกบ่อยครั้ง จนสะสมไว้อยู่ภายในใต้ความรู้สึกที่กดดัน ไม่สามารถจัดการตนเองได้ และตื่นตระหนกไม่รู้วิธีที่จะต้องรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ นี่ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเริ่มมีอาการโรคแพนิค
โรคตื่นตระหนก หรือโรคแพนิคเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจะตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล และบางครั้งจะหวาดกลัวเมื่อต้องเจอกับปัญหา หรือเกิดเหตุการ์ขึ้นอย่างกะทันหันไม่ว่าจะอันตราย หรือไม่อันตรายก็ตาม จะเกิดอาการแพนิคขึ้นมาเป็นเวลา 10 - 30 นาที และอาจจะนานถึงขั้นเป็นชั่วโมงในบางคน จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ส่งผลต่อใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ป่วยโรคแพนิคเป็นอย่างมาก
รู้จักโรคแพนิค คืออะไร
โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนกเกิดจากฮอร์โมนลดกะทันหัน จนสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติคล้ายกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นโรควิตกกังวลที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัว และตื่นตระหนกอย่างมาก โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นแบบฉับพลันโดยไม่มีสาเหตุหรือมีสาเหตุที่ชัดเจน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ระบบประสาทจะควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำให้มีอาการทางร่างกายแสดงออกมา เช่นหัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็ว มือสั่น เหงื่อไหลออกมาไม่หยุด และรู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย หลังอาการแพนิคสงบลง ผู้ป่วยมักรู้สึกอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรงและกังวลว่าอาการจะกลับมากำเริบอี ส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน
อาการของโรคแพนิคมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยโรคแพนิคทั่วไป มักจะเกิดภาวะวิตกกังวล หรือกลัวแบบกะทันหันไม่ทันได้ตั้งตัว สามารถสังเกตอาการของโรคแพนิคได้ดังนี้
- ใจสั่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- หายใจไม่ออก หายใจขัด และอึดอัด
- รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ เหงื่อไหลตามร่างกาย
- มือสั่น ตัวสั่น
- เวียนศีรษะ ปั่นป่วนภายในช่องท้อง รู้สึกคลื่นไส้ และจะเป็นลม
- ไม่ว่าจะทำอะไรจะรู้สึกวิตกกังวล หรือหวาดกลัวไปทั้งหมดโดยเฉพาะกลัวตาย
- ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้
เนื่องจาก อาการเหล่านี้สามารถพบผู้ป่วยโรคแพนิคที่มีประสบการณ์กับ Panic Attack คือ ความรู้สึกกลัวหรือไม่สบายใจอย่างมาก โดยมีอาการบ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาที
สำหรับอาการแพนิค โดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ หากผู้ใดเกิดอาการข้างต้น หรือผู้ป่วยโรคแพนิค และมีอาการเกิดขึ้นอย่างรุนแรงควรรีบไปโรงพยาบาลให้ไวที่สุด
สาเหตุของโรคแพนิคเกิดจาก?
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป ไม่ว่าจะใช้ชีวิตในสังคมที่มีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกะทันหัน เร่งรีบเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมเหล่านั้นได้ หรือผู้ป่วยต้องพบเจอกับเหตุการณ์เลวร้าย อุบัติเหตุ สูญเสียคนที่รัก และอื่นๆ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากเหตุใด หรือปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง
สาเหตุทางร่างกาย
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ถ้าหากมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก วิตกกังวล ก็มีโอกาสจะเป็นโรคแพนิคมากกว่าคนอื่นที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ 5 เท่า
- ปัจจัยทางระบบชีวภาพในร่างกาย ระบบประสาทอัตโนมัติอาจจะทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการใจสั่น เหงื่อแตกขึ้นมาได้
สาเหตุสภาพจิตใจ
- ความเครียด กลัว เหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ และทำงานหนักจนเกินไป พฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคแพนิค
- โดยที่ไม่จำเป็นต้องพบเหตุการณ์อะไรที่เลวร้าย แต่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคจะเริ่มมีอาการหลังจากเกิดเหตุการณ์ในชีวิตครั้งสำคัญ เช่น เกิดความสูญคนที่รัก หรืออุบัติเหตุร้ายแรง
วิธีรักษาโรคแพนิค
ในปัจจุบันทางการแพทย์มีวิธีรักษาเกี่ยวกับโรคแพนิค ที่มีประสิทธิภาพ โรคแพนิคไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หรือทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่จะทำให้เกิดความกังวลกับผู้ป่วย และจำเป็นต้องรักษาถ้าหากเป็นโรคแพนิคส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1.รับประทานยา ผู้ป่วยโรคแพนิคส่วนใหญ่จะมีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และความบกพร่องเกี่ยวกับสารสื่อประสาทในสมอง ผู้ป่วยจึงต้องอาศัยการรักษาด้วยยารักษาโรคแพนิค เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เป็นปกติ แก้อาการแพนิค ซึ่งยารักษาโรคแพนิคจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบขึ้นมา ยาที่ใช้รักษาอาการจะประกอบไป กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน ช่วยคลายเครียด นอนหลับ และยากลุ่มต้านเศร้า จะช่วยเปลี่ยนแปลงระดับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งผู้ป่วยที่รักษาโดยใช้ยาจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 8 - 12 เดือน
ผู้ป่วยโรคแพนิคที่รับการรักษาด้วยยา จะมีอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ของยาแต่ละกลุ่ม เช่น อาการง่วงซึม วิงเวียน แขนขาอ่อนแรง ในยากลุ่มต้านเศร้า และอาจพบอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน คลื่นไส้ กระวนกระวาย ในผู้ที่ใช้ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน อาจจะเกิดในช่วงแรกที่เริ่มรับประทานยา และดีขึ้นเมื่อรับประทานยาต่อเนื่องไประยะหนึ่ง
รับประทานยารักษาโรคแพนิค มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ ผู้ป่วยโรคแพนิคเข้ารับการรักษาควรปฏิบัติตน รับประทานยาตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จะสามารถควบคุมอาการและป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้
2.จิตบำบัด วิธีนี้ช่วยรักษาอาการแพนิค และโรคแพนิค ปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม เป็นวิธีรักษาที่เห็นผลดีที่สุด โดยนักจิตบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยจะเข้าใจถึงโรคแพนิคมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงเรียนรู้วิธีที่จะรักษาแพนิคด้วยตัวเอง วิธีนักจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรคแพนิค คือบำบัดความคิดพฤติกรรม และเทคนิคผ่อนคลาย เช่น ฝึกหายใจเข้าลึก ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าโรคแพนิคที่เกิดขึ้นไม่ได้อันตรายแต่อย่างใด
ถ้าหากผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค มีคำถามเกี่ยวกับโรคแพนิครักษาหายไหม โรคแพนิคสามารถหายได้ แต่ผู้ป่วยควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคแพนิคโดยเฉพาะ และทำตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ ทำให้อาการโรคแพนิคที่เกิดขึ้นค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายขาด
วิธีดูแลตัวเองเมื่อรู้ว่าเป็นโรคแพนิค
หลากหลายปัญหาที่ทำให้เป็นโรคแพนิค ไม่ว่าจะเป็นทางพันธุกรรม ทางร่างกาย และทางจิตใจ ไม่ว่าจะปัญหาใดก็ตาม ผู้ป่วยโรคแพนิคสามารถรักษาแพนิคด้วยตัวเองได้ในเบื้องต้น เพื่อช่วยลดอาการแพนิคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ควบคุมสติของตัวเอง หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกยาวอย่างช้า
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เช่น เหล้า เบียร์ กาแฟ และชา
- ไม่ควรเสพยาเสพติด หรือใช้ยานอนหลับ หากหยุดใช้ยานอนหลับอาจจะทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น
- ฝึกมองโลกในแง่บวก เมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์ หรือปัญหาต่าง ๆ ให้นึกถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อลดอาการตึงเครียด อาการแพนิค
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นโยคะ เดิน วิ่ง หรือเล่นกีฬา
- พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
- พกยาที่แพทย์ให้ติดตัวไว้กินเมื่อมีอาการแพนิคมาก ๆ
โรคแพนิค อันตรายไหม?
โรคแพนิคไม่อันตรายอย่างที่คิด โรคแพนิคไม่ให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิต แต่จะทำให้ผู้ป่วยกลัวการเสียชีวิตวิตกกังวลสิ่งรอบข้าง เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ และปัญหาต่าง ๆ สามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา เพื่อปรับเปลี่ยนสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ หรือตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดควรจะต้องประกอบด้วยการรักษาทางจิตใจอย่างเชิงลึก รวมถึงปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคแพนิค สภาพแวดล้อมรอบข้าง และคนในครอบครัว ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแพนิคนี้ ให้ความสำคัญ ให้กำลังใจกับผู้ป่วย
ถึงแม้โรคแพนิคจะไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่อาการของโรคอาจมีความคล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพอื่น เช่นแพคนิคกับโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการที่คล้ายคลึงกัน หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหลอดเลือดหัวใจ
โรคแพนิค เป็นแล้วหายได้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค อาการของโรคที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจขอผู้ป่วย วิธีรักษาโรคแพนิคในปัจจุบัน มีวิธีรักษาที่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะกินยารักษาโรคแพนิค หรือรักษาโรคทางจิตเวช นักบำบัด จะช่วยทำให้ผู้ที่ป่วยโรคแพนิค มีอาการที่ดีขึ้น และหายจากโรคนี้ได้
ถ้าหากมีข้อกังวล ข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคแพนิค สามารถติดต่อมาที่ทาง BeDee มีทีมจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำ คำปรึกษา ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง สามารถติดต่อผ่านทางแอปพลิเคชัน BeDee นัดเวลาได้ตามที่คุณต้องการ ถ้าต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS มีโรงพยาบาลชั้นนำหลายแหล่ง ทาง BeDee พร้อมช่วยเหลือคุณในทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS