ประเพณีการเฉลิมฉลองคนชนเผ่าลาหู่ ( มูเซอ )
ลาหู่ คำนี้เป็นชื่อของชนเผ่ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งปกติจะอาศัยอยู่บนภูเขา ในอดีตคนพื้นราบโดยทั่วไปมักจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "มูเซอ" แต่ว่าในระยะต่แมาก็ได้เรียกกันจนเป็ที่รับรู้ว่าเป็นชนเผ่า "ลาหู่"
การเฉลิทฉลองปีใหม่ ในภาษาลาหู่ ( มูเซอ ) เรียกว่าประเพณี เขาะเจ๊าเว ซึ่งแปลว่า "ปีใหม่การกินวอ" ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่บรรดาญาติมิตร ได้กลับมาร่วมงานกันที่บ้านอย่างพร้อมเพียงเรียงหน้า ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลเมื่อทราบว่าทางหมู่บ้านตัวเองจะจัดงานดังกล่าวก็จะกลับมาร่วมกัน เทศกาลของลาหู่ค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างจากชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งปีใหม่หรือการกินวอนี้ มีความสำคัญต่อชาวลาหู่อย่างยิ่ง เพราะเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าเสียเป็นส่วนมาก สำหรับผู้ที่สนใจสามรถติดตามข่าวคราวเรื่องดังกล่าวได้จากสื่อต่างๆ ส่วนมากแล้วชนเผ่านี้จะอาศัยอยู่จังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนื่อ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ เป็นต้น
ในงานเลี้ยงวันปีใหม่ของ ลาหู่ จะมีการใช้ หมูดำเป็นหลักในการสังเวยและการเลี้ยงกัน กล่าวคือ จะมีการฆ่าหมูดำ แล้วเอาส่วนที่เป็นเนื้อหมูและหัวของหมูนำไปเซ่นสังเวยต่อเทพเจ้าอื่อซา ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ชาวลาหู่ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก พร้อมกับข้าวเหนียวนึ่งที่นึ่งแล้วมาตำให้เหนียว เมื่อเสร็จแล้วก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆ เรียกว่า "อ่อผุ" บางที่จะได้ยินเรียกกันว่า "ข้าวปุ๊ก" แล้วจึงนำเนื้อหมูดังกล่าว มาปรุงหรือทำเป็นอาหารเลี้ยงกันอย่างเต็มที่
ปัจจุบันก็ยังมีการจัดประเพณีกินวอ 2 ช่วงเหมือนเดิม คือ เขาะหลวง และ เขาะน้อย เช่นเดียวกับสมัยเก่า แต่ว่า ทั้งสองเพศสามารถเข้าร่วมด้วยทั้งหมดซึ่งก็หมายถุง ต่างฝ่ายต่างได้ฉลองกันถึงสองหนนั่นเองเนื่องจากว่าปัจจุบันการเดินทางสะดวกมากขึ้นไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล เมื่อทราบข่าวแล้ว ก็สามารถจะมาร่วมงานได้ภายในเวลาที่หมู่บ้านของตนได้กำหนดไว้