กระแสซีรีย์วายไทย ก้าวไกลสุดสากล
สวัสดีค่ะเพื่อนๆวันนี้เราจะมากันในหัวข้อเรื่องซีรีย์วายไทยก้าวไกลสู่สากล
เรียกได้ว่าตอนนี้ประเทศไทยของเรากำลังเป็นกระแสมาแรงในเรื่องของซีรีย์วายเลยนะคะทุกคนถึงขนาดกับบังเรื่องเนี่ยโด่งดังไปถึงประเทศจีนประเทศอังกฤษหรือประเทศอื่นๆในต่างประเทศมีฐานแฟนคลับเนี่ยเกือบจะทั่วทั้งโลกเลยนะคะเรียกได้ว่าก้าวก่ายไม่แพ้ k-pop เลยก็ว่าได้ค่ะ ณ ตอนนี้นะคะซีรีย์วายของประเทศไทยเราเนี่ยเปรียบเสมือนกับ soft powerของประเทศไทยเราก็ว่าได้เลยล่ะค่ะเพื่อนๆ
ประเทศไทยของเราเนี่ยนะคะเดิมทีก็มีอาหารไทยอยู่แล้วนะคะที่สามารถดังใจไปทั่วโลกถึงแม้ว่าจะอย่างน้อยนิดนะคะแต่ก็สามารถที่จะเริ่มที่จะเป็นที่นิยมได้มากขึ้นเห็นได้ชัดเลยนะคะว่าชาวต่างชาติส่วนใหญ่เนี่ยจะชอบอาหารไทยแล้วเราก็มาที่จะเห็นนะคะว่ามีร้านอาหารไทยในอเมริกาในอังกฤษหรือต่างประเทศเนี่ยเยอะแยะมากมายเลยล่ะค่ะแต่ซึ่งแน่นอนค่ะและไม่ใช่ soft power เดียวของเรา soft power อย่างนึงของเราก็คือซีรี่ย์วายค่ะเพื่อนๆ
ซีรีย์วายของเราเนี่ยนะคะคู่จิ้นทุกคู่ที่ไม่ว่าจะออกมาจากเรื่องไหนๆคู่ไหนๆก็นอกจากจะโด่งดังในประเทศแล้วยังไปไกลถึงต่างประเทศไม่ว่ามีทั้งฐานแฟนคลับไทยและฐานแฟนคลับต่างประเทศอย่างล้นหลามที่คอยสนับสนุนหรือ support ดารานักแสดงหรือซีรีย์วายของประเทศไทยเราเนี่ยล่ะค่ะอยู่ทุกที่
เพราะฉะนั้นนี่นะคะ soft power ส่งออกของประเทศไทยเราที่น่าสนใจและมีอำนาจที่สุดในตอนนี้ก็คือซีรีส์วายค่ะ
จุดกำเนิดและความพัฒนาของซีรีย์วายไทย
ถึงแม้ว่าเราจะไม่อาจนับกันอย่างจริงจังได้นะคะว่าซีรีย์วายไทยของเราเนี่ยกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่และตอนไหนหลายคนเห็นพ้องต้องเป็นสิ่งเดียวกันว่ามันเริ่มขึ้นมาจากการที่มีคนกลุ่มนึงเนี่ยอ่านนิยายพวกนี้ในเว็บไซต์จนเกิดเป็นความนิยมขึ้นมาและความนิยมตรงนี้นี่และค่ะไม่ได้พัฒนาจนกลายมาเป็น ซีรีย์วาย เป็นหนัง หรือว่าเป็นละครจนสุดท้ายเนี่ยได้ค่านิยมที่มันเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆก็เลยเกิดเป็นกระแสที่โด่งดังขึ้นมาเรื่อยๆที่มีคนชอบอย่างล้นหลามจากคนที่ไม่เคยรู้จักก็ได้รู้จักว่าคำว่า y คืออะไรซีรีย์วายคืออะไรและนิยาย y คืออะไรที่เขานับกันได้ว่าเปรียบเสมือนเป็นซีรีย์วายไทยแรกๆเลยก็คือเรื่อง Love Sick The Series
สร้างมาจากเรื่อง(ชุลมุนหนุ่มกางเกงน้ำเงิน)เมื่อประมาณปีพ.ศ 2557 จากเว็บไซต์เด็กดีที่ออกอากาศทางช่อง อสมท. และได้ตีคู่มาไล่เลี่ยกันกับซีรีย์เรื่อง Hormones The Series หรือชื่อภาษาไทยคือ(ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น)ซึ่งถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ใช่ซีรีย์วายโดยตรงนะคะแต่ก็ยังมีความฟินความจิ้นของคู่ 'ภู-ธีร์'ให้พวกเราได้ลุ้นได้จิ้นกันจนฟินจิกหมอนไม่แพ้ซีรีย์วายไปเลยล่ะค่ะ
หลังจากนั้นไม่นานในปี 2558 เนี่ยก็มีแพลตฟอร์มของ LINE TV นะคะที่กลายเป็นแพลตฟอร์มของซีรีย์วายไทยและเป็นกำลังหลักสำคัญในการทำให้ซีรีส์ภายไทยเติบโตอย่างมากดูอีกปีถัดมาคือปี 2559LINE TV เนี่ยก็ได้ข้อซีรีส์วายไทยออกมาหนึ่งเรื่อง นั่นก็คือเรื่อง (SOTUS The Series)2559 และได้ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลทำให้กำเนิดซีรีย์วายเรื่องต่อๆมาอีกมากมายและได้กลายเป็นแหล่งกำเนิดดาราวัยรุ่นมากหน้าหลายตาที่มีทักษะและศักยภาพพร้อมที่จะเป็นดาราผู้ที่โด่งดังรวมถึงยังเป็นแหล่งแจ้งเกิดของซีรีย์วายคู่จิ้นของไทยอีกด้วยค่ะ
ความเติบโตของซีรีย์วายไทยเห็นได้จากในปี 2563มีซีรีย์วายออกมาฉายถึง 24 เรื่องและในปี 2564 ก็ขยับมาเป็น 47 เรื่องถึงแม้ว่าในปี 2565 LINE TV จะประกาศปิดตัวลงไปแล้วยังคงมีซีรีย์วายที่ออกมาให้เราได้ชมกันกว่า 70 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากค่าย GMM TVตอนนี้ได้กลายเป็นหัวเรือผู้ผลิตรายใหญ่ของวงการซีรีย์วายและได้สร้างชื่อเสียงรวมถึงจุดกำเนิดคู่จิ้นมากมายเช่น คริส-สิงโต ,ออฟ-กัน ,เอิร์ธ-มิกซ์ ,สตางค์ -วินนี่ ,ไบร์ท-วินและคู่อื่นๆอีกมากมายเป็นต้น แต่ก็ไม่ใช่แค่ช่อง GMM ช่องเดียวหรอกนะคะที่ณปัจจุบันนี้ปี 2566 ก็ยังมีอีกหลายช่องที่เริ่มสร้างซีรีส์วายรวมถึงสร้างคู่จิ้นใหม่ๆและมีค่ายใหม่ๆกำเนิดขึ้นมามากมายอีกด้วยและค่ะ
ซีรีส์วายไทยดังแค่ไหนในระดับโลก
มีการวิเคราะห์กันว่าสิ่งที่ทำให้ซีรีส์วายไทยโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากจะเป็นเรื่องของเนื้อเรื่อง หน้าตา ความน่ารักของการแสดงของคู่จิ้นจนชวนให้คนดูเคลิ้มตามแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อรรถ บุนนาค ได้แสดงความคิดเห็นในงานเสวนา “จักรวาลซีรีส์วายไทย : โลกของชายแท้รักกันยังเหมือนเดิมอยู่ไหม” ก็คือเอกลักษณ์ของซีรีส์วายไทยที่อาจจะฟอร์มรูปแบบขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องราวของวัยนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งจุดตรงนี้แหละค่ะก็ได้กลายมาเป็นอัตลักษณ์ประจำตัวของซีรีส์วายของไทยไปโดยปริยาย และทำให้ซีรีส์วายไทยแตกต่างจากหนังหรือซีรีส์ในแนว (Boy’s Love)ในประเทศอื่นๆ และทำให้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
กระแสซีรีส์วายไทยในต่างประเทศ
ยังเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่น่าคิดว่าซีรีส์วายไทยอาจจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทยที่สามารถสร้างทั้งเงินและชื่อเสียงกลับมาสู่ประเทศไทยได้ เพราะนอกจากการสนับสนุนรายคู่จิ้นหรือรายคนจากด้อมแฟนคลับทั่วโลกแล้วที่เราเห็นเป็นข่าวกันอยู่เป็นประจำ เช่น เมื่อปี 2017 แฟนคลับชาวจีนของหนุ่มสิงโต ปราชญา (นักแสดงซีรีส์วาย SOTUS The Series) ได้ซื้อดาวพร้อมตั้งชื่อดาวว่า 'Singto Prachaya Ruangroj' ให้กับเขา และถึงแม้ตัวซีรีส์จะไม่ได้ฉายในจีน แต่ก็มีการจัดแฟนมีตติ้งในประเทศจีนขายบัตรอย่างเป็นเรื่องเป็นราวไม่พียงแค่จีนแต่ยังรวมไปถึง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ด้วย
แม้ประเทศจีนจะแบนซีรีส์วายไม่ว่าจะเป็นของจีนเองหรือว่าต่างประเทศ แต่คนจีนก็ได้เสพซีรีส์วายจากต่างประเทศบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อย่างในกรณีของซีรีส์วายไทย ก็มีกลุ่มชาวจีนที่ชื่นชอบละคร ซีรีส์ หรือเพลงไทย นำไปแปลภาษาและเผยแพร่จนตั้งขึ้นเป็นบริษัท (Fun Thai Culture) ซึ่งทำให้เกิดแฟนมีตติ้งซีรีส์วายในจีนเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2559 ไม่ว่าจะเป็นจากเรื่อง Make it right the series รักออกเดิน, Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับ นายปีหนึ่ง, Love sick the series รักวุ่น วัยรุ่นแสบ, 2Moons The Series เดือนเกี้ยวเดือน เป็นต้น
และในปี 2563 ซีรีส์วายไทย เรื่อง เพราะเราคู่กัน (2gether) จาก GMMTV ถูกซื้อลิขสิทธิ์เข้าไปฉายในฟิลิปปินส์ จนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ซีรีส์วายไทยฟีเวอร์ในฟิลิปปินส์ หรือล่าสุดกับ เพราะเราคู่กัน (2gether The Movie) ในรูปแบบภาพยนตร์ที่ได้เข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนใครเพื่อน ตามกระแสความฟีเวอร์ของคู่ไบรท์-วิน ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังส่งผลให้เกิดการนำเอาซีรีวายส์หลายเรื่องไปแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นในรูปแบบมังงะอีกด้วยทั้งเรื่องเพราะเราคู่กัน, โซตัส ,พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง, นิทานพันดาว, พฤติกรรมที่ตาย และด้ายแดงอีกด้วย
ไม่เพียงแค่เพราะเราคู่กันเท่านั้นซีรีส์ จะรักก็รักเหอะ ร่วมทุนระหว่างไทย-ไต้หวัน ก็ถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้วเช่นเดียวกัน ไทยและการส่งออกซีรีส์วายมีการคาดการณ์กันว่าซีรีส์วายเฉพาะการทำรายได้ภายในประเทศน่าจะเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนมากมาในรูปแบบงานพรีเซนเตอร์ของคู่จิ้นในเรื่องซะส่วนใหญ่
สำหรับการส่งออกซีรีส์วายของไทย
นอกจากการเข้าร่วมกับแพลตฟอร์มดูหนัง,ซีรีส์,อย่าง WeTV และ Viu ที่ช่วยทำให้ซีรีส์ไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมไปทั่วโลกแล้ว ในส่วนกิจกรรมอื่นๆ ส่วนมากแล้วจะเป็นการจัดการโดยกลุ่มแฟนคลับในแต่ละประเทศมากกว่าไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าที่ระลึกที่พ่วงมากับซีรีส์เรื่องนั้นๆ หรือการจัดแฟนมีตติ้ง เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศจีนนั้นเอง
ในขณะเดียวกันบริษัทผู้ผลิตซีรีส์วายเองก็เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของการส่งออกซีรีส์วายให้กลายเป็นธุรกิจระดับโลก อย่างช่อง GMM TV นอกจากจะนำเอาซีรีส์เรื่องเพราะเราคู่กันมาทำใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์เพื่อส่งออกตลาดหลักอย่างประเทศญี่ปุ่นและในแถบเอเชียแล้วในปีที่ผ่านมา GMM TV ยังได้ร่วมมือกับ TV Asahi ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จัดงานนิทรรศการ GMMTV ครั้งแรกของโลก ภายใต้ชื่องาน “GMMTV EXHIBITION in JAPAN 2021”
ซึ่งเป็นงานที่มีการขายบัตรเข้าชมด้วยในราคา 1,300 เยนแต่เป็นกรณีที่ซื้อบัตรล่วงหน้านะค่ะและราคา 1,500 เยนในกรณีที่ซื้อบัตรหน้างาน นี่คือในกรณีของสถาการณ์โควิดที่อาจจะไม่สามารถทำตามแผนได้ร้อยเปอร์เซนต์ ลองคิดดูสิค่ะว่า หากเป็นในสถานการณ์ปกติซีรีส์วายของไทยจะก้าวไปไกลได้แค่ไหน แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาการได้รับความนิยมและการทำรายได้ในต่างประเทศของซีรีส์วายไทยจะเกิดขึ้นจากทางบริษัทผู้ผลิตเองหรือกลุ่มแฟนคลับในแต่ละประเทศเท่านั้น
แม้ว่าหลายคนจะมองว่าซีรีส์วายไทยนี่แหละคือซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถจะขยายไปสู่ระดับโลกได้อย่างหนังหรือซีรีส์ของเกาหลีใต้ แต่เรายังไม่เห็นนโยบายและการสนับสนุนที่ชัดเจนจากทางภาครัฐมากเท่าไร เหมือนดังเช่นในกรณีของเกาหลีใต้ที่มาจากนโยบายและการสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างเต็มที่
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลยเพราะ ที่ผ่านมาก็มีความเคลื่อนไหวจากทางภาครัฐอยู่บ้างทั้งการที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)หรือ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ในระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2564 เชิญผู้ประกอบการไทยจำนวน 10 ราย เข้าร่วมเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการคอนเทนต์ทั้งจากญี่ปุ่น ไต้หวัน และละตินอเมริกา เพื่อขยายตลาดของซีรีส์วายไทย หรือการที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพยายามกระตุ้นยอดท่องเที่ยวในช่วงโควิดด้วยการดึงเอานักแสดงซีรีส์วายมาช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวในประเทศไทยผ่านการทำรายการ (Thailand, I Miss You) อีกด้วย
รูปภาพจาก :Pinterest