ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีและเงินเดือนเท่าไหร่ที่ต้องจ่ายภาษี
หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของการเสียภาษีซึ่งหากบุคคลใดที่มีรายได้ จะต้องมีการเสียภาษีและหลายๆครั้งมีบางคนที่เลี่ยงภาษี
ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1) บุคคลธรรมดา
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
การเสียภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม เพราะมีระบุไว้ในกฎหมาย และตามกฏหมายแล้ว ได้ระบุว่าให้บุคคลทุกคนที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี ถ้าบุคคลนั้นมีเงินได้เฉพาะเงินเดือน เกิน 319,000 บาทขึ้นไป ต่อปี และแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน (แต่ไม่ต้องจ่ายภาษี)
วิธีการคิดภาษีที่ต้องจ่าย
สำหรับการคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) =319,000 บาท
สามารถหักค่าใช้จ่ายได้100,000 บาท* + หักค่าลดหย่อนส่วนตัว60,000 บาท+ หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี9,000 บาท
* ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
จะได้สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้
เงินได้ 319,000 บาท - ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท - ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท - เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท =เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่