ทำไม? ต้องลูบหัว หลังกล่าวคำว่า สาธุ
ไม่ได้เป็นคนเข้าวัดบ่อยนัก เมื่อมีโอกาสได้ไปทำบุญ เมื่อพระให้พรเสร็จ ก็จะเปล่งวาจา สาธุ สาธุ สาธุ แต่เอ!!! ยังแอบสงสัย หลังพระให้พรในทุกๆ ครั้ง คนเฒ่าคนแก่ จะเอามือลูบผม ด้วย
ฆราวาสอย่างเราจึงนำคำว่า “สาธุ” มาใช้ในลักษณะของความหมายถึงคำกล่าวให้เรื่องดีๆ ความสำเร็จไปตามประสงค์ หรือพรที่ได้รับ ให้สมพรปาก และการอนุโมทนาสาธุนั้น สามารถถูกกล่าวขึ้นมาได้ ถึงแม้ผู้พูดไม่ได้เป็นคนลงมือกระทำบุญหรือได้รับพรนั้นเองโดยตรงก็ตาม
สัดส่วนของผลบุญที่ได้จากการอนุโมทนาสาธุอย่างเดียว ถูกถกเถียงอยู่ว่าจะได้มามากน้อยเพียงใดในกรณีที่เราไม่ได้เป็นคนลงมือกระทำบุญนั้นด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ควมเชื่อทางศาสนาพุทธ ยกให้จิตใจที่เป็นบุญจิตใจที่เป็นกุศลให้ย่อมได้รับผลบุญไม่ต่างกับการลงมือกระทำด้วยตัวเองค่ะ
เชื่อกันว่าจำนวนการกล่าวสาธุ ที่บางคนอาจจะกล่าวถึง 3 ครั้งนั้น มีที่มาว่าคล้ายกับการแสดงไตรสรณคมน์ที่เป็นการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ และการกล่าวมากครั้ง จะให้ผลมากกว่าการกล่าวเพียงครั้งเดียวเพราะเป็นการแสดงความหนักแน่นของการรับรู้เรื่องนั้นๆ อีกด้วยค่ะ
เราเชื่อกันว่าผลบุญที่เราทำมา หรือการอนุโมทนาสาธุ จะทำให้ผลบุญที่ได้รับมานั้น คุ้มครองปกปักรักษา ให้เรามีแต่เรื่องที่ดีเข้ามา จึงเชื่อว่าเราควรนำเรื่องที่ดีหรือผลบุญเหล่านี้มาอยู่เหนือหัว การนำมือลูบที่ศีรษะจึงทำเพื่อเป็นการบอกว่าเรื่องราว และผลบุญที่ดีจะคุ้มครองเราตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้านั่นเอง
ทำไมบางคนก็พูด สาธุ เพียง 1 ครั้ง แต่หลายคนก็มักจะพูดสาธุถึง 3 ครั้ง
คำว่า “สาธุ” นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ประกอบกับคำว่า รู ขึ้นมาเป็นคำว่า สาธุ ที่เราใช้กัน ซึ่งมีความหมายว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว เป็นคำที่จะใช้เปล่งวาจาเพื่อยืนยันหรือรับรองพิธีทางศาสนาที่กระทำไปว่าได้สำเร็จรู้ล่วงแล้วด้วยดีในประการทั้งปวง
โดยคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา (พจนานุกรมบาลีแปลเป็นไทย) ได้แบ่งการใช้ สาธุ ออกไปในหลายกรณี ซึ่งทุกกรณีนี้ให้ความหมายไปในทางที่ดี หรือความสำเร็จลุล่วงทั้งสิ้น