หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

บทความวิจัย ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ และคณะ

โพสท์โดย Sirawat Kro0404

การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

The Development of Pattern of Learning Network Making and

Well-being Base on Buddhist of Chanthaburi Province

 พระปลัดเวชยันต์ ฐิตสทฺโธ* ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ**อาจารย์ถาวร โคตรชัย***

พระครูสุจิตกิตติวัฒน์**** พระครูสุนทรเขมาภินันท์*****

บทคัดย่อ

             งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามหลักภาวนา ๔  และ ๔) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

           การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย ศึกษาวิจัยในเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (In-depth interview) จำนวน ๘ รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และตรวจสอบข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน ๖ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ

           ผลการวิจัย พบว่า

๑. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด พบว่า มีการสร้างศรัทธาและการมีส่วนร่วมในการเสนอประเด็นปัญหา เพื่อตระหนักรู้ในความรับผิดชอบ การตัดสินใจร่วมกัน และการสร้างพันธกรณีการบริหารเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียดก่อให้เกิดความร่วมมือและการบริหารจัดการเครือข่ายอย่างเป็นระบบ 

                ๒. การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะ โดยการพัฒนาความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อกัน เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง และมีการรักษาสัมพันธภาพของสมาชิกและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ เพื่อการสืบสานภารกิจภายในเครือข่ายให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

                ๓. การเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามแนวทางหลักภาวนา ๔ พบว่า

                   ๑) มิติทางกายภาวนา พบว่า เยาวชนร่วมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ด้วยการเป็นมัคคุเทศก์ ที่ดี มีสติ มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ มีการสำรวจข้อมูลตามโบราณสถานกับพี่เลี้ยงปราชญ์และฝึกปฏิบัติจริง และมีการร่วมกันทำกิจกรรมแบบบูรณาการ

                   ๒) มิติทางสีลภาวนา พบว่า เยาวชนมีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย มีกติกาทางสังคมร่วมกัน ยึดมั่นในบทบัญญัติของสังคม ร่วมกันทำกิจกรรม มีการสวดมนต์ไหว้พระ อบรมคุณธรรม จริยธรรม เจริญจิตตภาวนา ทำให้เยาวชนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีความกระตือรือร้นในการฝึกฝนอบรมตนเอง มีจิตสาธารณะร่วมทำความดีเพื่อสืบสานและการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

                   ๓) มิติทางจิตตภาวนา พบว่า เยาวชนมีการฝึกฝนพัฒนาตนให้มีจิตใจที่มั่นคง มีความเจริญไพบูลย์ด้วยคุณธรรม จริยธรรม วางตนอย่างเหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย ดำเนินชีวิตด้วยความสุข มีความกล้าในการแสดงออกทางด้านทักษะภาษา ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีต่อทุกภาคส่วน     ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้และสุขภาวะในชุมชนของตนเอง 

                   ๔) มิติทางปัญญาภาวนา พบว่า เยาวชนมีการพัฒนาฝึกฝนอบรมตน เรียนรู้อย่างรอบด้าน มีความละเอียดรอบคอบ มีการสดับตรับฟังมาก และลงมือปฏิบัติตามทฤษฎีที่ได้ศึกษา เช่น การลงมือปฏิบัติตามโครงการอาหารเพื่อสุขภาพ คือ การปลูกผักปลอดสารพิษและการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานแล้วทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และโครงการมัคคุเทศก์น้อย มีการมุ่งมั่นศึกษาประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียดก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายขยายความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเพนียด เป็นการสืบสานวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

                ๔. การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีรูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ ประกอบด้วย ๑) การทำงานแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ๒) การมีส่วนร่วม มีกระบวนที่ทำให้เกิดการรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ๓) ความซื่อสัตย์สุจริต มีการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่พึงประสงค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างทักษะชีวิต การเรียนรู้เชิงปัญญา ๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ แนวคิด ความชำนาญในการดูแลสุขภาพ ที่บรรพบุรุษพัฒนาสืบต่อกันมาในท้องถิ่น และ ๔) ภาคีเครือข่ายชุมชนเมืองเพนียด วัด บ้าน โรงเรียน หน่วยงานราชการ ชุมชนเมืองเพนียด มีการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยประยุกต์หลักภาวนา ๔ คือ ภายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา มาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการฝึกฝนอบรมตนทั้งทางด้านกาย จิต สังคม และปัญญา

 คำสำคัญ : การพัฒนา, รูปแบบ, การสร้างเครือข่าย, การเรียนรู้และสุขภาวะ, พระพุทธศาสนา  

 

ABSTRACT

                               Objectives of this research 1) to study the networking, learning and wellbeing of the communities of Corral. 2) to study the development of the area as a place of learning and enhancing health as buddhism Chantaburi. 3) the strengthening of health by learning to pray, 4 and 4) to develop a format for networking, learning and wellbeing along harmonies, Chantaburi province.

           This research a qualitative study the research methodology documentary research action research in-depth interviews and focus groups only retention of key number 8 / person chooses a particular expert, used to collect data were structured in-depth interviews. Data collected by interview. And check with the participants in the focus groups No. 6/person, analyzed using the descriptive

           Findings showed.

  1. Networking, learning and wellbeing of the communities of faith and found a corral. To participate in the proposed issue. To realize the responsibility the joint decision and creating obligations for network management, learning and wellbeing of the urban stockade. Contributes to cooperate and network management in a systematic way. The objectives and targets set. Assigned tasks According to the authority there is a waterfront building and leadership development. System to work in a concrete techniques for new ways to strengthen the learning process. Monitor and evaluate the effectiveness of their work. As well as coordinating partners for the event. Bring the benefit of the public. And add value to the learning of wisdom about urban corral.
  2. The development of the area as a place of learning and strengthening health. Followed by Buddhism Chanthaburi found to have developed into a learning and strengthening health. By developing relationships the process of network management, participatory decision-making has to do is to contemplate, to strengthen good corporate culture as well. To help reduce conflicts and maintaining relationships and creating new leaders. The continuing mission within the network operated continuously as having a good relationship with each other. On the eve of important events. To enhance the learning process with modern technology. Management, information and knowledge management systems.
  3. 3. Enhancing learning by health guidelines pray 4 found that

                 1) The physical dimensions, the result is youth activities relate. With a good guide to conscious experience of the English language. According to the survey data remains with mentors and wise practice. And a common integration activities, such as planting vegetables and mushrooms Bhutan. To healthy before the meditation activities. The main prayer led by 4 adapted for use in everyday life.

                 2) The sacramental dimension is the result of good conduct with minors. discipline There are rules of social sharing Adhering to the provisions of Joint activities A prayer respect the moral training of monks meditating jatthapavena growth. Make a commitment to youth with enthusiasm. To cultivate themselves a beaming faces of tourists who visit the museum. Philanthropists together to do well and to continue to develop local knowledge are also encouraged to adhere to honesty, hardworking, honest livelihood. Abiding by the precepts of 5

                 3) The result is a spiritual dimension to the development of their young people are trained to be mentally stable. With a civilization embracing ethical conduct oneself appropriately consistent. Living with Happiness Have the courage to express themselves in the language. Which is linked to good relations in all sectors. With culture local knowledge Learning and health in their communities.

                 4) The result is an intellectual dimension to youth develop their training. Learn all-round way A carefully There is much to hearken According to the theory and practice of education, such as the implementation of the project is to grow healthy food, vegetables and mushroom, and Bhutan. Cause cognitive formed by real action. Economic value and to convey local knowledge too. And project guides A commitment of historic monuments in the historical museum Ruins from Corral philosopher community. Contributes to knowledge and understanding about the history of the city can expand the corral. The cultural heritage Published resources in urban corral tourists as well.

  1. 4. Development of networking, learning and wellbeing along harmonies. Chanthaburi found a format for networking, learning and well-being: 1) function integrated. Cooperation from all sectors, 2) participation. A process that resulted in the recognition contemplate making decisions together 3) honesty. Cultivate attitudes and values ​​are desirable. Local knowledge Life Skills Emotional maturity learning wisdom 4) Local health. Have knowledge about the beliefs, concepts and expertise in health care. The ancestors of the people in local development, and 4) community partners Corral Temple School of Government. Urban Corral Department of Health Smart. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Educational Unit Faculty of Social Chanthaburi. Local governments Schools around the Golden Temple There is common agreement on the establishment of the Golden Temple through a Learning Center for health and social development, according to Buddhism. To see the importance of the historic city. Heritage or cultural sites worth preserving. And has driven the development of the health or wellbeing of the community. The cause of sustainable development. By applying the principles of the Rosary prayer, 4 million colors Hittpawna prayed and prayed for wisdom. To deploy them effectively In accordance with their training and the physical, mental, social and intellectual. The cause of sustainable development. By applying the principles of the Rosary prayer, 4 million colors Hittpawna prayed and prayed for wisdom. To deploy them effectively In accordance with their training and the physical, mental, social and intellectual. The cause of sustainable development. By applying the principles of the Rosary prayer, 4 million colors Hittpawna prayed and prayed for wisdom. To deploy them effectively In accordance with their training and the physical, mental, social and intellectual.

Keywords: Development, Style, Networking, Learning and Well-being, Buddhism.

การขับเคลื่อนงานพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา รวมทั้งชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๒๕๕๘) ได้เสนอยุทธศาสตร์ “ไตรพลัง” ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาพว่า  มีองค์ประกอบ ๓ ด้าน คือ (๑) พลังปัญญา (๒) พลังนโยบาย และ (๓) พลังสังคม ที่ชุมชนควรมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแกนกลางของกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งวิธีการประเมินการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ โดยภาครัฐและท้องถิ่นมีบทบาทเพียงสนับสนุนแนวทางและเพิ่มพลังให้กับประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และสร้างภูมิคุ้มกันของประชาชนด้วยตนเอง[๑]

การสร้างความเป็นภาคีเครือข่ายของชุมชนของวัดทองทั่ว ที่จะนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจ ในทางเลือกและโอกาสที่เพิ่มขึ้น การเข้าร่วมและพัฒนาเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโบราณสถานเมืองเพนียดให้เป็นแหล่งเรียนรู้สุขภาวะของชุมชน สืบเนื่องจากวัดทองทั่ว เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรื่องมาพร้อมกับตำนาน และโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่มีอายุกว่าพันปี ตามประวัติบอกไว้ว่า วัดแห่งนี้มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดเพนียด บริเวณใกล้วัด มีหลักฐานกำแพงเมืองปรากฏอยู่ มีหลักฐานเก่าให้เชื่อว่าได้ว่า เป็นวัดโบราณ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑ มีการขุดค้นโดยองค์การ SIF จึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นระหว่างชาวบ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์เมืองเพนียด มีการจัดตั้งโครงการที่ชื่อว่า “การฟื้นฟูและอนุรักษ์โบราณเมืองเพนียด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเพนียด ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เพื่อที่จะศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และวิถีชีวิตของชุมชนในอดีตถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะมีรูปแบบที่แสดงถึงการพัฒนาแหล่ง หรือเครือข่ายการเรียนรู้  ด้วยเทคนิค กระบวนการ วิธีการที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง อันเป็นการสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญา ของชุมชนเพนียด เป็นการเสริมสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถที่จะพึ่งพาตนเองหรือบริหารจัดการตนเองให้เป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้โดยเน้นการมีสุขภาวะอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคม ใน ๔ มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา ตามนิยาม “สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ “ระบบสุขภาพ” ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมย่อมจะเป็นหลักประกันความความยั่งยืน          

๒. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           ๒.๑ เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด

           ๒.๒ เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

           ๒.๓ เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามหลักภาวนา ๔

          ๒.๔ เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี         

๓. ขอบเขตของการวิจัย

           การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี” ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการดำเนินการวิจัย ดังนี้

           ๓.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา

           ผู้วิจัยมุ่งศึกษาขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย ๑) การตระหนักและการก่อตัวของเครือข่าย ๒) การสร้างพันธกรณีและการบริหารเครือข่าย ๓) การพัฒนาความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์ ๔) การรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง ๕) การเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะ ซึ่งศึกษาความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยผ่านกิจกรรม/ โครงการ คือ โครงการมัคคุเทศก์น้อยและโครงการอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้เกิดความผูกพันทางด้านมิติทางกาย มิติทางใจ มิติทางสังคม และมิติทางปัญญาตามหลักพุทธธรรม คือ หลักภาวนา ๔ ในการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการสร้างสุขภาวะองค์รวม

           ๓.๒ ขอบเขตด้านตัวแปร

               ๑. ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่ ๑) การตระหนักและการก่อตัวของเครือข่าย ๒) การสร้างพันธกรณีและการบริหารเครือข่าย ๓) การพัฒนาความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์ ๔) การรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง ๕) การเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะ และกิจกรรมโครงการ ๒ โครงการ    โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               ๒. ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยหลักภาวนา ๔ ได้แก่ กายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา

           ๓.๓ ขอบเขตด้านประชากร

           ประชากร (Population) ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชน แกนนำ/ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน พระสงฆ์ และเยาวชนโรงเรียนวัดทองทั่ว ที่เข้าร่วมโครงการอาหารเพื่อสุขภาพ และโครงการมัคคุเทศก์น้อย จำนวน ๑๐๐ รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จำนวน ๘ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน ๖ รูป/คน 

           ๓.๔ ขอบเขตด้านพื้นที่

           พื้นที่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนวัดทองทั่วหมู่ที่ ๔ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาและวิถีชีวิตของชุมชน และการสนับสนุนเครือข่ายพระสงฆ์ เพื่อเป็นพื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้ และการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับแกนนำ/ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชน คณะสงฆ์วัดทองทั่ว โรงเรียนวัดทองทั่ว มุ่งเน้นการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา โดยการจัดเวทีสนทนากลุ่มเฉพาะ ณ โบราณสถานเมืองเพนียด วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี

           ๓.๕ ขอบเขตด้านระยะเวลา

           ผู้วิจัยทำการศึกษาตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๑ ถึงเดือน กันยายน ๒๕๖๑ รวม ๕ เดือน

           ๓.๖ ขอบเขตด้านโครงการและกิจกรรม

           โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ดำเนินการในลักษณะของโครงการชุด ประกอบด้วยโครงการย่อย ๒ โครงการ ตามประเด็นการวิจัยและพื้นที่ ดังนี้

                ๑) โครงการมัคคุเทศก์น้อย เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน/ท้องถิ่นให้เกิดสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งตามหลักสุขภาวะแนวพุทธ เพื่อให้เกิดแกนนำต้นแบบในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อให้คนในชุมชน/ท้องถิ่น พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

                ๒) โครงการอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ พัฒนาความรู้ เทคนิค วิธีการ ตลอดจนขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการเรียนรู้ของการดูแลสุขภาพด้วยอาหารเพื่อสุขภาพ ให้เป็นต้นแบบและมาตรฐานที่ดีให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในชุมชน และเพื่อสร้างมิติของการดูแลสุขภาพด้วยอาหารเพื่อสุขภาพ

          

๔. เป้าหมายของการดำเนินการวิจัย

           ๔.๑ เป้าหมายเชิงนโยบาย

               ๑) เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด

               ๒) เพื่อพัฒนาพื้นที่เมืองเพนียดให้เป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

               ๓) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามหลักภาวนา ๔

               ๔) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี ด้วยการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธมณฑลจันทบุรี แกนนำ/ผู้นำชุมชน ประชาชน ปราชญ์ชาวบ้าน พระสงฆ์ คณะครู และเยาวชนโรงเรียนวัดทองทั่ว โดยจัดกิจกรรมตามโครงการอาหารเพื่อสุขภาพกับโครงการมัคคุเทศก์น้อย

           ๔.๒ เป้าหมายเชิงองค์ความรู้การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ

               ๑) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยมีแกนนำ/ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชน พระสงฆ์ คณะครู และเยาวชนโรงเรียน วัดทองทั่ว จำนวน ๑๐๐ รูป/คน

               ๒) ส่งเสริมสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักภาวนา ๔ โดยเน้นการมีสุขภาวะอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคม ใน ๔ มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา ตามนิยาม สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ “ระบบสุขภาพ” ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมย่อมจะเป็นหลักประกันความยั่งยืน 

๕. นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย

           การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้สุขภาวะ หมายถึง การมีส่วนร่วมของแกนนำ/ผู้นำชุมชน ประชาชน คณะสงฆ์วัดทองทั่ว ครู และนักเรียนวัดทองทั่ว (เอครพานิช) เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการตระหนักและการก่อตัวของเครือข่าย การสร้างพันธกรณีและการบริหารเครือข่าย การพัฒนาความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์ การรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง ตลอดถึงการเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะ

           เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การที่กลุ่มแกนนำ/ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่เมืองเพนียด คณะสงฆ์วัดทองทั่ว ครู และนักเรียนโรงเรียนวัดทองทั่ว เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในชุมชนของเมืองเพนียด มีการร่วมกันทำงานที่มีรูปแบบการประสานงานเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วม มีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ   เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมีเป้าหมายในการพัฒนาสังคมให้มีสุขภาวะที่ดี

           เมืองเพนียด หมายถึง เมืองโบราณเก่าแก่ที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี ชาวบ้านเรียกว่า เมืองเพนียด หรือเมืองกาไว โดยเชื่อกันว่า ชุมชนแรกที่เริ่มเข้ามาก่อตั้ง คือ ชุมชนชองตั้งอยู่บริเวณที่ราบชายเขาสระบาป จากหลักฐานที่พบในเมืองเพนียด พอจะระบุได้ว่า คงจะอยู่ร่วมสมัยของวัฒนธรรมเขมร จนกระทั่งอาณาจักรเขมรถูกอยุธยาเข้ายึดครอง เป็นวัดในจังหวัดจันทบุรี เป็นโบราณสถาน    ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร มีชื่อปรากฏในพงศาวดารแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ คือ ปลายสมัยฟูนัน

           สุขภาวะ หมายถึง การมีสุขภาวะอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคมชุมชนเมืองเพนียด ใน ๔ มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา ตามนิยาม “สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ “ระบบสุขภาพที่มีคุณลักษณะเหมาะสม ย่อมจะเป็นหลักประกันความความยั่งยืน และกระบวนการในการดำเนินงานของชุมชน โดยคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชน ด้วยการรวมกลุ่มกัน ประสานงานกันระหว่างกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ในการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้สามารถยืนหยัด นำไปสู่การสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน 

๖. ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินการ

           ๑) ทีมวิจัย ทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการดำเนินการวิจัย และประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา

           ๒) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ (interview) เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (Structure In-depth interview) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

           ๓) ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์ ได้แก่ ก่อนลงสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้เริ่มต้นด้วยการนัดหมายวัน เวลา สถานที่ที่จะสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง พร้อมกับการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี         

           ๔) ขั้นดำเนินการสัมภาษณ์ ได้แก่ ก่อนการสัมภาษณ์ผู้วิจัยจะสนทนาสร้างความคุ้นเคยกับผู้ให้สัมภาษณ์ แจ้งวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ อธิบายเหตุผลและขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกเสียงในขณะที่สัมภาษณ์ ขออนุญาตใช้กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้อ้างอิงในการสัมภาษณ์  

           ๕) ขั้นการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จะใช้การสนทนากลุ่มแบบที่มีโครงสร้าง โดยผู้วิจัยจะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการ เพื่อขอให้เข้าร่วมในการสนทนากลุ่ม ณ วัน เวลา สถานที่ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ พร้อมกับส่งบริบทเนื้อหาต่าง ๆ ที่จะใช้ในการสนทนากลุ่มล่วงหน้า และในส่วนการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้วิจัยจะขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกเสียง และกล้องบันทึกภาพนิ่ง และเคลื่อนไหว จากนั้น ผู้วิจัยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษา หรือหัวข้อพัฒนานโยบาย ตลอดจนร่วมกันเสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี ที่สามารถบูรณาการเข้ากับหลักพุทธธรรม ได้แก่ หลักภาวนา ๔ คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา 

๗. วิธีดำเนินการศึกษาวิจัย

           การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้

           ๗.๑ รูปแบบการวิจัย

           การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย ศึกษาวิจัยในเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion ดังนี้

               ๑) การศึกษาในเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ รายงานการวิจัย ภาพถ่าย เอกสารแสดงความสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นแนวคิด หลักการ ความเป็นมา รูปแบบความสัมพันธ์ กระบวนการสร้าง การใช้ตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะใน ๔ มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา

               ๒) การศึกษาในภาคสนาม (Field Research) เพื่อทราบถึงแนวคิด หลักการ ความเป็นมา รูปแบบ ความสัมพันธ์ กระบวนสร้าง การใช้ตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะใน ๔ มิติ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

               ๓) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มเฉพาะกับคณะสงฆ์ แกนนำ/ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ และส่วนงานราชการในท้องถิ่น

               ๔) สรุปและนำเสนอผลการศึกษาที่ได้ทั้งจากการศึกษาในเชิงเอกสารและภาคสนาม โดยนำมาวิเคราะห์ตามประเด็นเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ความเป็นมา รูปแบบ ความสัมพันธ์ กระบวนการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา ด้วยการใช้ตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะใน ๔ มิติ  

               ๕) วิเคราะห์การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี สามารถนำไปสู่การศึกษาด้านตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะใน ๔ มิติตามแนวพระพุทธศาสนาได้

           ๗.๒ ประชากร/กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงลึกมุ่งเน้นการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) เพื่อให้เห็นแนวคิด หลักการ รูปแบบ กระบวนการสร้างและการใช้ตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะใน ๔ มิติ ตามแนวพระพุทธศาสนา

           ๗.๓ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การดำเนินการตามโครงการวิจัยนี้ เน้นการวิเคราะห์และการมีส่วนร่วมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย รายงานการประชุมที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) การจัดเวทีประชุมในระดับชุมชน  

           ๗.๔ วิธีการเก็บข้อมูล/การดำเนินการตามโครงการ

           ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/การดำเนินการที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลและแนวทางการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของการวิจิย โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล/การดำเนินการ ดังนี้

               ๑) การลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล

               ๒) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นการเก็บข้อมูลโดยการพูดคุยสนทนา ถาม-ตอบ ในประเด็นเฉพาะที่จะศึกษาให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด ลึกซึ้ง รอบด้านครอบคลุมประเด็นสัมภาษณ์

               ๓) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

               ๔) การประชุมสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion)

           ๗.๕ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

           การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และมีการปฏิบัติการร่วมกับชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้การศึกษาวิจัยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้วิจัยจึงใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

               ๑) แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับรูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

               ๒) แบบประเมินการวิเคราะห์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

           ๗.๖ การวิเคราะห์ข้อมูล

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)และข้อมูลเชิงประจักษ์ จากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ตามประเด็นหัวข้อต่อไปนี้

               ๑) วิเคราะห์แนวคิดการสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด

               ๒) วิเคราะห์การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

               ๓) วิเคราะห์การเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามหลักภาวนา ๔

             ๔) วิเคราะห์การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี

 

๘. ผลการวิจัย

           ๘.๑ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด พบว่า การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ มีการสร้างศรัทธาและการมีส่วนร่วมในการเสนอประเด็นปัญหา เพื่อตระหนักรู้ในความรับผิดชอบ การตัดสินใจร่วมกัน และการสร้างพันธกรณีการบริหารเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด ก่อให้เกิดความร่วมมือและการบริหารจัดการเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีการมอบหมายแบ่งงาน ตามอำนาจหน้าที่ มีการสริมสร้างและพัฒนาผู้นำ จัดระบบการติดต่อประสานงานอย่างเป็นรูปธรรม มีเทคนิค วิธีการใหม่ ๆ ในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ มีการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ตลอดจนการประสานงานภาคีเครือข่ายเพื่อจัดกิจกรรม นำมาซึ่งการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และสร้างมูลค่าเพิ่มด้านภูมิปัญญาเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเมืองเพนียด

           ๘.๒ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะตามตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะ โดยการพัฒนาความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อกัน เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง และมีการรักษาสัมพันธภาพของสมาชิกและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ เพื่อการสืบสานภารกิจภายในเครือข่ายให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การบริหารจัดการข้อมูล ข่าวสาร และการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ

๘.๓ การเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามแนวทางหลักภาวนา ๔ พบว่า

                 ๑) มิติทางกาย พบว่า เยาวชนร่วมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ด้วยการเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีมีสติ มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ มีการสำรวจข้อมูลตามโบราณสถานกับพี่เลี้ยงปราชญ์และฝึกปฏิบัติจริง และมีการร่วมกันทำกิจกรรมแบบบูรณาการ เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษและเห็ดนางฟ้าภูฐาน เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการนั่งสมาธิก่อนร่วมทำกิจกรรม โดยนำหลักภาวนา ๔ มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

                  ๒) มิติทางศีล พบว่า เยาวชนมีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย มีกติกาทางสังคมร่วมกัน ยึดมั่นในบทบัญญัติของสังคม ร่วมกันทำกิจกรรม มีการสวดมนต์ไหว้พระ อบรมคุณธรรม จริยธรรมจากพระสงฆ์ นั่งสมาธิ เจริญจิตตภาวนา ทำให้เยาวชนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีความกระตือรือร้น ในการฝึกฝนอบรมตนเอง มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ มีจิตสาธารณะร่วมทำความดีเพื่อสืบสานและการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ มีการส่งเสริมให้ยึดหลักสัมมาชีพ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติตนตามหลักศีล ๕

                 ๓) มิติทางจิต พบว่า เยาวชนมีการฝึกฝนพัฒนาตนให้มีจิตใจที่มั่นคง มีความเจริญไพบูลย์ด้วยคุณธรรม จริยธรรม วางตนอย่างเหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย ดำเนินชีวิตด้วยความสุขใจ มีความกล้าในการแสดงออกทางด้านทักษะภาษา ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีต่อทุกภาคส่วน ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้และสุขภาวะในชุมชนของตนเอง  

                 ๔) มิติทางปัญญา พบว่า เยาวชนมีการพัฒนาฝึกฝนอบรมตน เรียนรู้อย่างรอบด้าน มีความละเอียดรอบคอบ มีการสดับตรับฟังมาก และลงมือปฏิบัติตามทฤษฎีที่ได้ศึกษา เช่น การลงมือปฏิบัติตามโครงการอาหารเพื่อสุขภาพ คือ การปลูกผักปลอดสารพิษและการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานแล้ว ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย และโครงการมัคคุเทศก์น้อย มีการมุ่งมั่นศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในพิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียดจากปราชญ์ชุมชน ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายขยายความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเพนียด เป็นการสืบสานวัฒนธรรม เผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเมืองเพนียดแก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

  ๘.๔ การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีรูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ ประกอบด้วย ๑) การทำงานแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ๒) การมีส่วนร่วม มีกระบวนที่ทำให้เกิดการรรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ๓) ความซื่อสัตย์สุจริต มีการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่พึงประสงค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้เชิงปัญญา ๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ แนวคิด ความชำนาญในการดูแลสุขภาพ ที่บรรพบุรุษพัฒนาสืบต่อกันมา ในท้องถิ่น และ ๔) ภาคีเครือข่ายชุมชนเมืองเพนียด วัด บ้าน โรงเรียน หน่วยงานราชการ ชุมชนเมืองเพนียด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ พุทธมณฑลจันทบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนวัดทองทั่ว มีข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งให้วัดทองทั่วเป็นศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อให้เห็นความสำคัญของเมืองประวัติศาสตร์ อันเป็นมรดกหรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และมีการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยประยุกต์หลักธรรมภาวนา ๔ คือ ภายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา มาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการฝึกฝนอบรมตนทั้งทางด้านกาย จิต สังคม และปัญญา 

๙. สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย

           แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) อยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ เป็นแผนพัฒนาระยะ ๕ ปี และเป็นกลไกเชื่อมต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ด้านสุขภาพ ให้สามารถนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว การเสริมสร้างสุขภาวะในสังคมปัจจุบันก็สามารถใช้แนวคิดทางสังคมและพระพุทธศาสนาเข้าบูรณาการได้ จาการวิจัย พบว่า คณะสงฆ์ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน องค์กรชุมชน และระดับนโยบาย ร่วมกันทำงานเพื่อเปิดพื้นที่สุขภาวะของชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจึงมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องใน ๒ มิติ คือ ๑) ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และ ๒) ความสัมพันธ์ เชิงประเด็นด้านสุขภาวะเชิงพุทธ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งพื้นที่การวิจัย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนวัดทองทั่ว หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยศึกษาการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้และการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับคณะสงฆ์วัดทองทั่ว โรงเรียนวัดทองทั่ว (เอครพานิช) ตลอดถึงผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา โดยการจัดเวทีสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) และพัฒนาข้อเสนอนโยบาย ณ วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี พระสงฆ์และประชาชน จำนวน ๑๐๐ รูป/คน เข้าร่วมโครงการอาหารเพื่อสุขภาพ และโครงการมัคคุเทศก์น้อย โดยผู้วิจัยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี ตลอดจนร่วมกันเสนอหัวข้อพัฒนานโยบาย ซึ่งสามารถนำมาสังเคราะห์แสดงเป็นองค์ความรู้ได้รับจากการวิจัย  

๑๐. อภิปรายผล

           ๑๐.๑ อภิปรายผลการวิจัย

                 ๑๐.๑.๑ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะของชุมชนเมืองเพนียด พบว่า มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในกลุ่ม เป็นการสร้างพันธภาพที่ดี มีระบบของการบริหารเครือข่าย มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ มีการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มีการรักษาประโยชน์ร่วมกัน และสร้างมูลค่าเพิ่มแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับ ศิริพร ตันติยมาศ[๒] ได้วิจัยเรื่อง “รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผล สังกัดกรุงเทพมหานคร” ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมที่ทำร่วมกัน การใช้เทคโนโลยี ทักษะด้านภาวะผู้นำ ผู้นำเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมการติดต่อสื่อสาร การมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์การแบบมีส่วนร่วม และบรรยากาศการมีส่วนร่วม และสอดคล้องกับ จารีรัตน ปรกแก้ว และคณะ[๓] ได้วิจัยเรื่อง “ศึกษาและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนในระบบกับชุมชนเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นบุรีรัมย์ ในเขตการเคลื่อนไหวของโรงเรียนชุมชนอีสาน” ผลการวิจัย พบว่า การใช้หลักการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นประจำและต่อเนื่องนั้น เป็นการคาดหวังให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ของการประชุมร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่ปรับจากเดิมจากที่เคยเป็นวัฒนธรรมแห่งความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมแบบแนวดิ่งและมักเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว โดยแต่เดิมชุมชนมักเข้าร่วมประชุมเพื่อมารับแจ้งข่าวสาร หรือมารับนโยบายการบริจาคสนับสนุน ปรับมาเป็นวัฒนธรรมแห่งความสัมพันธ์แบบแนวราบ ที่ทั้งฝ่ายโรงเรียนและชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันอย่างเสมอภาค

           ๑๐.๑.๒ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะตามตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะ    โดยพัฒนาความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม      คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อกัน เพื่อช่วยลดความขัดแย้ง เสริมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ อันจะนำมา    ซึ่งความเข้มแข็งและยั่งยืนของเครือข่าย สอดคล้องกับ ศิริพร ใจสุข[๔] ได้วิจัยเรื่อง “กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังป้อง ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่”     ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนบ้านวังป้องมีเครือข่ายชุมชนอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านการเคารพเหตุผล มากกว่าตัวบุคคล การประนีประนอม การมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เป็นการดำรงชีวิตประจำวันที่เน้นบทบาทหน้าที่ของบุคคลในสังคมอันเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายให้ชุมชนอย่างยั่งยืนสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นพลังชุมชนในการทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และสอดคล้องกับพระมหาสุทิตย์ อาภากโร[๕] ได้วิจัยวิจัย เรื่อง “รูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร พบว่า วัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้ง ๙ วัด ในกรุงเทพมหานคร” และการวิจัย พบว่า การดูแลและอนุรักษ์โบราณวัตถุ โบราณสถาน และสถาปัตยกรรมภายในวัดในระดับดี รองลงมา ได้แก่ มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวภายในวัดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม การจัดพื้นที่ภายในวัด เช่น สถานที่ไหว้พระ สถานที่ถ่ายรูป หรือที่นั่งสมาธิ ไหว้พระ สวดมนต์ การให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของวัดหรือทางพระพุทธศาสนา การกำหนดเขตพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยวและการเที่ยวชมภายในวัด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า วัดถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย แต่ก็จะต้องมีการวางระบบการจัดการให้เหมาะสม เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับ ศิริพร ใจสุข[๖] ได้วิจัย เรื่อง “กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังป้อง ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่” ผลการศึกษา พบว่า การประนีประนอม การมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เป็นการ ดำรงชีวิตประจำวันที่เน้นบทบาทหน้าที่ของบุคคลในสังคม อันเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายให้ชุมชนอย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นพลังชุมชนในการทำกิจกรรมสาธารณะ เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

           ๑๐.๑.๓ การเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะตามหลักภาวนา ๔ พบว่า เยาวชนมีการร่วมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ โดยการเป็นมัคคุเทศก์น้อยที่ดีมีสติ มีความกล้าแสดงออกในด้านภาษา และร่วมกันทำกิจกรรม คือ การปลูกผักปลอดสารพิษและเห็ดนางฟ้าภูฐาน เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยนำหลักกายภาวนามาปรับใช้ ได้แก่ การรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ สอดคล้องกับ พันโทนิยม สิงห์โห[๗] ได้วิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการตามแนวพุทธวิธี กองบัญชาการทหารม้า” ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตเน้นความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีการบริโภคแต่พอประมาณใช้จ่ายอย่างประหยัดตามหลักภาวนา ๔ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้าง หรือทำให้เกิดให้มีขึ้น บุคคลที่ผ่านการขัดเกลาพัฒนาตามกระบวนการแล้ว เรียกว่า ภาวิตา คือ ถูกพัฒนาแล้วโดยใช้เครื่องมือและกลไกล หลักการนี้เป็นยุทธวิธีตามแนวพุทธ คือมีคุณสมบัติและมีวัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมาย (Goal) ตามรูปแบบ (Pattern) ยุทธศาสตร์ตามแนวพุทธ กำหนดไว้ ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านกายภาวนา คือ การพัฒนากาย ฝึกอบรมกายให้รู้จักติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกทั้ง มีประโยชน์แก่ตนเองและสังคม บำเพ็ญตนให้เกิดประโยชน์ มิให้อกุศลเกิด ปัจเจกบุคคลต้องรู้จักเลือกเสพ บริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าแก่ร่างกายแก่ตนเอง รับเอาปัจจัยที่ส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกาย ๒) ด้านศีลภาวนา คือ การพัฒนาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล ให้ถูกต้องสอดคล้องกับระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ กติกาของสังคม ตลอดถึงขนบธรรมเนียม จารีตวิถี ๓) ด้านจิตภาวนา การพัฒนาจิต ข่มอารมณ์ความรู้สึกได้มีความเจริญงอกงามทางอารมณ์ (Emotional growth) จิตที่ฝึกอารมณ์ดีแล้วนำความสุขมาให้ จิตที่มีคุณภาพประกอบด้วยคุณธรรมตามหลักศาสนา มีสมาธิ มีสติมั่นคง ใช้งานได้ดี เป็นสุขผ่องใส สร้างกระบวนการในการบริหารงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตใจ ๔) ด้านปัญญาภาวนา พัฒนาปัญญา การฝึก อบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันเข้าใจโลกและชีวิตตามสภาวะ เป็นการไตร่ตรองวินิจฉัยเหตุการณ์ตามความเป็นจริง

           ๑๐.๑.๔ การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีการจัดโครงการปฏิบัติธรรมเข้าค่ายพุทธบุตร ส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะ มีการจัดสวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางสติปัญญา มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในด้านการสร้างเครือข่ายเรียนรู้และสุขภาวะ การเรียนรู้เกี่ยวกับโบราณสถานทางประวัติศาสตร์เมืองเพนียด มีการศึกษาดูงาน และการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนในทางพระพุทธศาสนาโดยนำหลักธรรมภาวนา ๔ คือ ภายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ทำให้การปฏิบัติงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ[๘] ได้วิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย” ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ การพัฒนาสังคมการเสริมสร้างจริยธรรม การปฏิบัติภาวนา คือ การพัฒนาให้บุคคลและสังคมได้มีการเรียนรู้จากสิ่งที่เรียบง่ายไปสู่การพฤติกรรมที่เหมาะสม มีจิตใจและสติปัญญาในการพัฒนาตนเอง และการจักการ เพื่อคุ้มครองชีวิตที่ดีร่วมกัน สำหรับหลักพุทธธรรมที่พระสงฆ์นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคคลและสังคมนั้นประกอบด้วยหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิต และหลักจริยธรรมเพื่อให้บุคคลและสังคมได้มีการเกื้อกูลต่อกัน โดยใช้วิธีการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาเข้ากับ ภูมิปัญญาสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการประสานเชื่อมโยงผู้คนในสังคมให้มีการสร้างสรรค์และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความสงบสุขของสังคมส่วนการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม เพื่อการเรียนรู้ตามแนวของพระพุทธศาสนานั้น พบว่า เครือข่ายทางสังคมของคณะสงฆ์เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ทั้งภายในองค์กรคณะสงฆ์ และการปฏิสัมพันธ์ภายนอกกับฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม เช่น ภาครัฐ ประชาชน องค์กรธุรกิจ เอกชน ซึ่งได้มีการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ จนกระทั่งสามารถสร้างพลังทางสังคมในการดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคมโดยมีเครือข่ายธรรมะ การทำหน้าที่ตามพระธรรมวินัยเป็นปัจจัยหลักในการเชื่อมโยงกัลยาณมิตร การแก้ไขปัญหาทางสังคม การสร้างพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น

           ๑๐.๒ ข้อเสนอแนะ

           การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดจันทบุรี” ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้

๑๐.๒.๑ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

๑) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติงาน และยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์กรทุกภาคส่วน

๒) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ควรมีการกำหนดโครงสร้างองค์กรให้ชัดเจน เพื่อแบ่งภาระอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ การบังคับบัญชา และการควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

๓) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ ครู นักเรียน เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ เพื่อให้มีทักษะในการทำงาน มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการบริหารงาน สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้

๔) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ต้องแนะนำและส่งเสริมให้ประชาชนได้สร้างเครือข่ายของชุมชน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาภายในชุมชนได้ โดยการส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ชมรม เพื่อการบริหารจัดการและดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านภูมิปัญญาสุขภาวะ

๕) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเกิดกระบวนการเรียนรู้ ความเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความยั่งยืน

             ๑๐.๒.๒ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

๑) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติงาน และยุทธศาสตร์ เพื่อให้การปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้

๒) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ต้องปฏิบัติงานตามโครงสร้างภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชา และการควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

๓) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ต้องนำทักษะ ความรู้ ความสามารถในการบริหารงานเครือข่าย มาปรับใช้ในการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะ

๔) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม ต้องเข้ารวมกับเครือข่ายของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาภายในชุมชน และบริหารจัดการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้าน ภูมิปัญญาสุขภาวะ

๕) เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะและการพัฒนาสังคม จัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน และความเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต

             ๑๐.๒.ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

๑) การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาในส่วนของการพัฒนารูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ในภาคตะวันออก

๒) การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาประสิทธิผลเชิงพุทธบูรณาเพื่อการพัฒนารูปแบบการสร้างเข้มแข็งของเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา ในภาคตะวันออก

๓) การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนเชิงพุทธบูรณาการแบบยั่งยืน เพื่อการพัฒนารูปแบบการสร้างเข้มแข็งของเครือข่ายการเรียนรู้และสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับประเทศ

 

เนื้อหาโดย: Sirawat Kro0404
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Sirawat Kro0404's profile


โพสท์โดย: Sirawat Kro0404
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รีวิวหนังสือ หมอเงินถาม หมอความตอบรู้หรือไม่ แมลงสาบนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิดฮามาสเสียใจหลังผู้นำอิหร่านตายแล้วส่อง 2 ไอเท็มล่าสุดของลิซ่ามิติใหม่!พระนั่งม้า - ขึ้นกระเช้าประน้ำมนต์ โยมวิ่งมินิมาราธอน ร่วมสร้างโบสถ์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"โจวเหวินฟะ" ออกกำลังมากเกินไป..ทำเอาแฟนๆ อดห่วงไม่ได้จังหวัดที่มีปริมาณผลผลิตลำไย มากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย8 ท่าออกกำลังกาย ช่วยหน้าอกกระชับซื้อกิน VS ทําอาหารกินเอง อันไหนประหยัดเงินมากกว่ากัน ?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เงินเดือนพนักงานบิ๊กซี (Big C) ปี 2567 (ตำแหน่งไหนรุ่ง ตำแหน่งไหนร่วง) รวมข้อมูลวงในที่ HR ไม่บอก!เปิดเซเว่นต้องใช้เงินเท่าไหร่? (2024) ฉบับคนอยากรวย! เผยทุกขั้นตอนแบบละเอียด!วิธีทำให้คนติดตามช่อง Tiktok มากขึ้นทำไง?รู้หรือไม่ แมลงสาบนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด
ตั้งกระทู้ใหม่