หาดูยาก! วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อ 122 ปีก่อน
วัดเบญฯ เป็นวัดที่เป็นตัวแทนของล้านนาในกรุงเทพฯ
เพราะ ในตอนปลายรัชกาลที่ ๕
มีการ จัดระเบียบปกครองสงฆ์ล้านนา
โดยทรงพระกรุณาโปรดให้
พระธรรมวโรดม
(จ่าย ปุณณทตฺต - สมเด็จพระวันรัต)
เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร
ขึ้นไปจัดการในฐานะเจ้าคณะมณฑล
แล้ว พระเทพมุนี
(ปลด กิตติโสภโณ - สมเด็จพระสังฆราช)
วัดเบญจมบพิตร เป็น เจ้าคณะมณฑลพายัพ
ต่อมา มีการส่งพระภิกษุสงฆ์จากล้านนา
ลงมาเล่าเรียนพระบาลีกัน ที่
วัดเบญจมบพิตร เป็นลำดับ
ฆราวาสก็ฝากบุตรหลานลงมาเล่าเรียน
โดยมาอาศัยอยู่ที่วัดนี้
วัดนี้จึงกลายเป็น ศูนย์กลางของชาวเหนือ
ที่ลงมาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ
สงฆ์ล้านนาอยู่ในความดูแลของ
วัดเบญ มานาน ก่อนจะย้ายไป วัดปากน้ำ
ก่อนสร้างทางรถไฟเสร็จ
ท่าวัดเบญ เหมือน หมอชิตของล้านนา
เพราะ ถ้าขึ้นเรือมาจะมาขึ้นท่าที่วัดเบญ และ
พระเณรล้านนาที่ลงมาเรียนก็อยู่วัดเบญ
ศรัทธาชาวเหน่อก็มาทำบุญวัดเบญ
รวม ถึง ช่วงเวลาประวัติศาสตร์
ที่ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ต้องอธิกรณ์ครั้งที่ 4 ปี 2463
ขณะนั้นอายุ 42 ปี หลังจากที่ถูกควบคุมตัว
ที่วัดศรีดอนไชย (ป่ากล้วย) เชียงใหม่
เป็นเวลา 3 เดือน 8 วัน แล้ว
คณะส่งฆ์เชียงใหม่ได้ส่งครูบาฯ
มาให้คณะสงฆ์ส่วนกลางสอบสวน ครูบาฯ
พำนักที่ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ระหว่าง 20 พค.-21 กค. 63 เป็นเวลา 3 เดือน
พระพุทธรูปสำคัญของล้านนา
ได้ถูกนำไปประดิษฐาน
ณ วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนา รามถึง 44 องค์
ตั้งแต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านทรงพระราชดำริ สถาปนา
“วัดแหลม” หรือ “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม”
และโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์ก่อสร้างทั้งหลายขึ้นใหม่
เมื่อปี พ.ศ.2442
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม"
จึง เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ที่มีความสวยงามเลื่องชื่อเป็นอันดับต้น
ของเมืองไทย เป็นที่รู้จัก
ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า
"The Marble Temple"
ด้วยความงดงามของพระอุโบสถ
พระระเบียง ประดับด้วย
หินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี
รังสรรค์ให้วัดเบญจมบพิตร
กลายเป็นอารามที่มีความวิจิตรงดงาม
ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทย
ปัจจุบัน เป็นแหล่งชุมนุมของพระจากภาคเหนือ
ที่เข้ามาเรียนยัง กรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นที่จัด
กิจกรรมทางวัฒนธรรมของชาวเหนือใน กรุงเทพฯ
ตามโอกาสสำคัญต่างๆ ด้วย
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ภาพเมื่อ122ปีก่อน ในราวๆปี2444
ขณะกำลังก่อสร้างวัด เบญจบพิตรฯ
ช้าง2เชือกกำลังช่วยทำการก่อสร้างวัดเบญจมบพิตรฯ
หรือที่รู้จักกันในนาม วัดหินอ่อน
ที่มาของภาพ จาก
ภาพที่มา: Robert Lenz
ภาพที่มา: Robert Lenz