ที่มาของคำว่า "ฤๅษีแปลงสาร"
ที่มาของคำว่า "ฤๅษีแปลงสาร"
ความตอนหนึ่ง จากเรื่องราวนิทานพื้นบ้านของนางสิบสอง ผู้มีลูกชายเหลือรอดจากการขังทรมาน ต้องการเดินทางไปเอาตาของแม่ และป้าๆ คืน นางยักษ์ ผู้หวังจะฆ่า ได้ให้สารฝากไปให้กับลูกสาร ที่เมืองยักษ์ เมื่อออกเดินทางไป มีความเหน็ดเหนื่อย ได้พบฤๅษีผู้มีเมตา ฤๅษีเกิดความสงสาร พระรถเสนจึงเปิดสารดูก็พบข้อความ พระฤๅษีใช้กลในการเขียนอักษรเปลี่ยนแปลงถ้อยคำของนางยักษ์สันธมาลา ที่มีถึงนางเมรีผู้เป็นธิดา จากที่ให้นางเมรีฆ่าพระรถเสน (โอรสของพระเจ้ารถสิทธ) เป็นให้แต่งงานด้วย สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๕ ได้อธิบายไว้ว่า
ฤๅษีแปลงสาร เป็นชื่อกลอักษรชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงในหนังสือเรื่องจินดามณี ซึ่งได้แจกแจงวิชาการประพันธ์ร้อยกรองออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ทั้งประเภทที่เขียนแบบปรกติ กับประเภทที่แต่งยักเยื้องออกไปให้ผิดธรรมดา หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) อาจารย์ภาษาไทยและกวีที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงเรื่องฤๅษีแปลงสารไว้ว่า “ก็ฤๅษีแปลงสารนั้น คือเรียงอักษรกลับกัน กลับตัวหลังมาไว้หน้า กลับตัวหน้าไปไว้หลัง ดุจโคลงในจินดามะนี มีอยู่ดังนี้”
เดิม ๏ กอัรษรวณษกลันวล้ งลพเลพา
อชื่ฤรีษงลปแรสา บสืว้ไ
ดลัผนยพี้เนยลี่ปเนอลกรกา ยลากบลัก
นสห์ท่เห์ล่เบลัห้ใ นอ่านล้หเนป็เมษกเ
ถอดแล้ว ๏ อักษรวรลักษณล้วน เพลงพาล
ชื่อฤษรีแปลงสาร สืบไว้
ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกลอนการ กลายกลับ
สนเท่ห์เล่ห์ลับให้ อ่านเหล้นเป็นเกษม
นี่จึงเป็นที่มา ของคำว่า ฤๅษีแปลงสาร
ในปัจจุบันไม่พบผู้ใช้การเขียนแล้ว แต่มีการใช้ภาษาพูดแทน เรียกว่าภาษาลู ไว้มาติดตาม ว่าภาษาลูมีความเป็นมาอย่างไร
ห้ามพลาดนะคะ!!