ออฟฟิศซินโดรม...โรคยอดฮิตของวัยทำงาน
โรคร้ายที่เป็นดั่งเสมือนเพื่อนสนิทของชาวออฟฟิศหรือเหล่ามนุษย์เงินเดือนก็คงจะหนีไม่พ้น “โรคออฟฟิศซินโดรม” อย่างแน่นอน! เนื่องจากเจ้าโรคร้ายโรคนี้ได้แทรกซึมเข้ามากับพฤติกรรมและกิจวัตรประจำวันของชาวออฟฟิศได้อย่างแนบเนียน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมๆ ตลอดทั้งวันการนอนบนที่นอนที่ไม่ได้มาตรฐาน การก้มเล่นโทรศัพท์มือถือนานๆ ฯลฯ
สาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นมีอยู่นับร้อยนับพันสาเหตุ แต่! โดยหลักๆ แล้ว สิ่งที่ทำให้เหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมเลยก็คือ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานๆ แล้วไม่ได้ขยับร่างกายหรืออยู่ในท่าที่เหมาะสม เช่นนั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ในท่าเดิมตลอดทั้งวัน จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ เกิดการอักเสบ รวมไปถึงอุปกรณ์ในที่ทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกาย เช่น โต๊ะคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำไป ทำให้หน้าจอไม่อยู่ในระดับสายตา ทั้งนี้ความเครียดจากการทำงาน ที่นอนไม่ได้มาตรฐาน การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน
6 อาการสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม
1.ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นวงกว้าง แต่ไม่สามารถระบุบริเวณที่ปวดได้อย่างชัดเจน อาทิเช่น บริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลังและสะโพก มักจะมาจากการนั่งในท่าเดิมๆ ตลอดทั้งวัน รวมไปถึงนอนบนที่นอนที่ไม่ได้รองรับสรีระร่างกายได้อย่างตรงจุด
2.มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ มักจะเกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือมากจนเกินไป เช่น การเล่นเกมในโทรศัพท์มือถือ การพิมพ์คอมพิวเตอร์หรือจับเมาส์เป็นเวลานาน
3.ปวดตึงที่ขาหรือมีอาการเหน็บชา มักเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
4.อาการตาแห้ง ตาพร่ามัว มักจะเกิดจากการที่ใช้สายตามากจนเกินไป
5.ปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนี้มักจะมาจากความเครียด การใช้สายตาจ้องจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มากจนเกินไป หรืออาจจะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย
6.ปวดหลังเรื้อรัง รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาด
วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมในปัจจุบัน
สำหรับการรักษาโรคออฟฟิศวินโดรมในปัจจุบันนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 7 วิธีการหลักๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.การทำกายภาพบำบัด
2.การรักษาด้วยยา
3.การฝั่งเข็ม
4.การออกกำลังกาย
5.การนวดแผนไทย
6.การรักษาด้วยคลื่นรักษาแบบรวมพลังงาน Focused shockwave therapy
7.การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)
อ้างอิงจาก: lunio.co.th